เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์
[๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่นจันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี
ชาวเมืองราชคฤห์ จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้
แก่นจันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเราจักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็นทาน หลัง
จากนั้น ท่านราชคหเศรษฐีให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทน์นั้น แล้วใส่สาแหรก
แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อๆ กันขึ้นไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์
ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้แล้วไปเถิด ฯ
[๓๐] ขณะนั้น ปูรณะกัสสปเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า
ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่
อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์และ
มีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด
ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะ
ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตร ได้เข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐี
แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่าน
จงให้บาตรแก่อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระ
อรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด ฯ
เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
[๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะ ครองอันตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง
ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์
แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑลภาร
ทวาชะ ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ
จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน แม้ท่านพระโมคคัลลานะก็กล่าวกะท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้น
ของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียนไป
รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ ฯ
[๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ในเรือน
ของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า
ภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น ท่านราชคหเศรษฐีรับบาตร
จากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยวมีค่ามาก ถวายท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับบาตรนั้นไปสู่พระอาราม
ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของราชคหเศรษฐี
ไปแล้ว และชาวบ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียวกราว ติดตามพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะไปข้างหลังๆ พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้ว
ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงอึกทึกเกรียวกราว เรื่องอะไรกัน
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตร
ของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลง จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมา
ข้างหลังๆ อย่างอึกทึกเกรียวกราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้
คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน
เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์
เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิ-
*ปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร
ไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่
พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยา
หยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๕๖-๓๑๒ หน้าที่ ๑๑-๑๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=256&Z=312&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=6
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=29
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[29-33] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=29&items=5
The Pali Tipitaka in Roman :-
[29-33] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=29&items=5
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗
http://84000.org/tipitaka/read/?index_7
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.8
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com