ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
อนาปัตติวาร
[๔๑๘] ภิกษุกล่าวว่า ขอท่านจงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ ดังนี้ เป็นต้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๔๑๙] เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร เรื่องหญิงมีบุตรถี่ เรื่องเป็นที่รัก เรื่องมี- *โชคดี เรื่องจะถวายอะไรดี เรื่องจะอุปัฏฐากด้วยอะไรดี เรื่องไฉนจึงจะได้ไปสุคติ ฯ
วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร
[๔๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงหมันคนหนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะมีบุตร? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องหญิงมีบุตรถี่
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งมีบุตรถี่ ได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉัน จึงจะไม่มีบุตร? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องเป็นที่รัก
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะเป็น ที่รักของสามี? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องมีโชคดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะมี โชคดี. ภิกษุตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะถวายอะไรดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ดิฉันจะถวายอะไรแก่ พระคุณเจ้าดี? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะอุปัฏฐากด้วยอะไรดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ดิฉันจะอุปัฏฐากพระ คุณเจ้าด้วยอะไรดี? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงอุปัฏฐากด้วยทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องไฉนจึงจะไปสุคติ
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะได้ ไปสุคติ? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุทายี
[๔๒๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนคร สาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ที่ตนเห็นว่ามีเด็กชายหนุ่มน้อยยังไม่มีภรรยาหรือเด็กหญิงสาว น้อยยังไม่มีสามี ย่อมพรรณนาคุณสมบัติของเด็กหญิงสาวน้อยในสำนักมารดาบิดาของเด็ก- *ชายหนุ่มน้อยว่า เด็กหญิงสาวน้อยของสกุลโน้น มีรูปงาม น่าดู น่าชม คมคาย มีแววฉลาด มี ไหวพริบดี ขยัน ไม่เกียจคร้าน เด็กหญิงสาวน้อยนั้นสมควรแก่เด็กชายหนุ่มน้อยนี้ มารดาบิดา ของเด็กชายหนุ่มน้อยกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพวกข้าพเจ้าว่า เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้ากรุณาพูดทาบทามให้ พวกข้าพเจ้าจะสู่ขอ เด็กหญิงสาวน้อยนั้นมาให้แก่เด็กชายหนุ่มน้อยนี้ และพรรณนาคุณสมบัติของเด็กชายหนุ่มน้อย ในสำนักมารดาบิดาของเด็กหญิงสาวน้อยว่า เด็กชายหนุ่มน้อยของสกุลโน้น มีรูปงาม น่าดู น่าชม คมคาย มีแววฉลาด มีไหวพริบดี ขยัน ไม่เกียจคร้าน เด็กชายหนุ่มน้อยนั้นสมควร แก่เด็กหญิงสาวน้อยนี้ มารดาบิดาของเด็กหญิงสาวน้อยก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า คนเหล่านั้น ไม่รู้จักพวกข้าพเจ้าว่า เป็นใครหรือเป็นพรรคพวกของใคร ฝ่ายหญิงจะพูดขึ้น ดูๆ ก็ยากอยู่ ท่าน เจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้ากรุณาช่วยพูดให้เขามาสู่ขอ พวกข้าพเจ้าจะยอมยกเด็กหญิงสาวน้อยนี้แก่ เด็กชายหนุ่มน้อยนั้น โดยอุบายนี้แล ท่านพระอุทายีให้มารดาบิดาของเจ้าหนุ่มเจ้าสาวทำอาวาท- *มงคลบ้าง วิวาหมงคลบ้าง พูดให้สู่ขอกันบ้าง [๔๒๒] สมัยต่อมา ธิดาของสตรีหม้ายคนหนึ่ง มีรูปงาม น่าดู น่าชม พวกสาวกของ อาชีวกชาวบ้านอื่น มาพูดกะสตรีหม้ายนั้นดังนี้ว่า ข้าแต่แม่ ขอแม่จงกรุณายกเด็กหญิงสาวน้อย นี้ให้แก่เด็กชายหนุ่มน้อยของพวกข้าเจ้าเถิด สตรีหม้ายนั้นตอบดังนี้ว่า คุณขา ดิฉันไม่ทราบว่า พวกคุณเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวก ของใคร อนึ่งเล่า เด็กหญิงสาวน้อยนี้ ก็เป็นธิดาคนเดียวของดิฉัน และจะต้องไปอยู่บ้านอื่น ดิฉันจะยกให้ไม่ได้ คนทั้งหลายซักถามสาวกของอาชีวกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายมาธุระอะไร พวกสาวกของอาชีวกชี้แจงว่า พวกข้าพเจ้ามาขอธิดาของหญิงหม้ายชื่อโน้น ในตำบล บ้านนี้ให้เด็กชายหนุ่มน้อยของพวกข้าพเจ้า นางตอบอย่างนี้ว่า คุณขา ดิฉันไม่ทราบว่า พวกคุณ เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่งเล่า เด็กหญิงสาวน้อยนี้ก็เป็นธิดาคนเดียวของดิฉัน และจะต้องไปอยู่บ้านอื่น ดิฉันจะยกให้ไม่ได้ คนพวกนั้นแนะนำว่า พวกคุณไปขอธิดาต่อหญิงหม้ายนั้นทำไม ไปพูดกะท่านพระอุทายี มิดีหรือ ท่านพระอุทายีจักช่วยพูดให้เขายกให้เอง จึงพวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พวกข้าพเจ้าขอธิดาหญิงหม้ายชื่อโน้น ในบ้านนี้ให้แก่เด็กชายหนุ่มน้อยของพวก ข้าพเจ้า นางตอบอย่างนี้ว่า คุณขา ดิฉัน ไม่ทราบว่า พวกคุณเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวก ของใคร อนึ่งเล่า เด็กหญิงสาวน้อยนี้ก็เป็นธิดาคนเดียวของดิฉัน และจะต้องไปอยู่บ้านอื่น ดิฉันจะยกให้ไม่ได้ ข้าแต่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าได้โปรดช่วยพูดให้หญิงหม้ายนั้น ยอมยกธิดา ให้แก่เด็กชาย หนุ่มน้อยของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปหาสตรีหม้ายนั้น ครั้นแล้วได้ถามสตรีหม้ายนั้นว่า ทำไม เธอจึงไม่ยอมยกธิดาให้แก่คนเหล่านั้นเล่า สตรีหม้ายนั้นตอบว่า เพราะดิฉันไม่ทราบว่าคนเหล่านี้เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่งเล่า เด็กสาวน้อยนี้ก็เป็นธิดาคนเดียวของดิฉัน และจะต้องไปอยู่บ้านอื่น ดิฉันจึงไม่ ยอมยกให้ เจ้าค่ะ อุ. จงให้แก่คนเหล่านี้เถิด คนเหล่านี้ฉันรู้จัก ส. ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันยอมยกให้เจ้าค่ะ จึงสตรีหม้ายนั้นได้ยกธิดาให้แก่สาวกของอาชีวกเหล่านั้น ครั้นพวกสาวกของอาชีวก เหล่านั้นนำเด็กหญิงสาวน้อยนั้นไปแล้ว ได้เลี้ยงดูอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นก็ เลี้ยงดูอย่างทาสี
สาวน้อยร้องทุกข์
[๔๒๓] ต่อมา สาวน้อยนั้นส่งทูตไปในสำนักมารดาว่า ดิฉันตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้รับ ความสุข พวกสาวกของอาชีวกได้เลี้ยงดูดิฉันอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นมาก็ เลี้ยงดูอย่างทาสี ขอให้คุณแม่ดิฉันมารับดิฉันไป พอทราบข่าว สตรีหม้ายนั้นจึงเข้าไปหาพวกสาวกของอาชีวก ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายโปรดอย่าเลี้ยงดูสาวน้อยนี้อย่างทาสี โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิดเจ้าค่ะ สาวกของอาชีวกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่ได้รับรอง และตกลงไว้กับท่าน พวกเรารับรอง และตกลงไว้กับสมณะต่างหาก ท่านจงไป เราไม่รู้จักท่าน ครั้นสตรีหม้ายนั้นถูกพวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นรุกรานแล้ว ได้กลับมายังพระนคร สาวัตถีตามเดิม แม้ครั้งที่สอง สาวน้อยนั้นก็ได้ส่งทูตไปในสำนักมารดาว่า ดิฉันตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้ รับความสุข พวกสาวกของอาชีวกได้เลี้ยงดูดิฉันอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นมา ก็เลี้ยงดูอย่างทาสี ขอให้คุณแม่ดิฉันมารับดิฉันไป จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระ- *คุณเจ้า ข่าวว่า ลูกสาวของดิฉัน ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้รับความสุข พวกสาวกของอาชีวกได้ เลี้ยงดูนางอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นมาก็เลี้ยงดูอย่างทาสี พระคุณเจ้าควรพูดขอร้อง ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าได้เลี้ยงดูสาวน้อยนี้อย่างทาสี โปรดเลี้ยงดู อย่างสะใภ้เถิด ดั่งนั้น ท่านพระอุทายีจึงเข้าไปหาสาวกของอาชีวกเหล่านั้น ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าได้เลี้ยงดูสาวน้อยนี้อย่างทาสี โปรดเลี้ยงดูอย่าง สะใภ้เถิด พวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้รับรอง และตกลงไว้กับท่าน เรารับรองและตกลงไว้กับหญิงหม้ายต่างหาก สมณะต้องเป็นผู้ไม่ขวนขวาย สมณะต้องเป็นสมณะ ที่ดี เชิญท่านไปเถิด เราไม่รู้จักท่าน ครั้นท่านพระอุทายีถูกพวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นรุกรานแล้ว ได้กลับมายังพระนคร สาวัตถีตามเดิม แม้ครั้งที่สาม สาวน้อยนั้นก็ได้ส่งทูตไปในสำนักมารดาว่า ดิฉันตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้ รับความสุข พวกสาวกของอาชีวกได้เลี้ยงดูดิฉันอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นมาก็ เลี้ยงดูอย่างทาสี ขอให้คุณแม่ดิฉันมารับดิฉันไป แม้สตรีหม้ายนั้น ก็ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีเป็นครั้งที่สอง แล้วได้เรียนท่านพระอุทายี ดังนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ข่าวว่า ลูกสาวของดิฉันตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้รับความสุข พวกสาวก ของอาชีวกได้เลี้ยงดูนางอย่างสะใภ้ชั่วเดือนเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้นมาก็เลี้ยงดูอย่างทาสี พระคุณ- *เจ้าควรพูดขอร้องว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าได้เลี้ยงดูสาวน้อยนี้อย่างทาสี โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิด ท่านพระอุทายีกล่าวว่า ฉันถูกพวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นรุกรานมาครั้งหนึ่งแล้ว เชิญ เธอไปเถิด ฉันไม่ไปละ ฯ
นินทาและสรรเสริญพระอุทายี
[๔๒๔] ครั้งนั้น สตรีหม้ายจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ลูกสาวของเรา ตกทุกข์- *ได้ยาก ไม่ได้รับความสุข เพราะแม่ผัวชั่ว พ่อผัวชั่ว และสามีชั่วฉันใด ขอให้ท่าน พระอุทายีจงตกทุกข์ได้ยาก อย่าได้รับความสุขฉันนั้นเถิด แม้สาวน้อยนั้นก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า เราตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้รับความสุข เพราะแม่ผัวชั่ว พ่อผัวชั่ว และสามีชั่วฉันใด ขอให้ท่านพระอุทายีจงตกทุกข์ได้ยาก อย่าได้รับความสุข ฉันนั้นเถิด แม้สตรีเหล่าอื่น บรรดา ที่ไม่พอใจด้วยแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ต่างก็กล่าวแช่งชักอย่างนี้ว่า เราตกทุกข์ได้ยาก ไม่ได้ รับความสุข เพราะแม่ผัวชั่ว พ่อผัวชั่ว และสามีชั่ว ฉันใด ขอให้ท่านพระอุทายีจงตกทุกข์ ได้ยาก อย่าได้รับความสุข ฉันนั้นเถิด ส่วนสตรีบรรดาที่ยินดีด้วยแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ต่างก็อำนวยพรอย่างนี้ว่า เราสบาย สมบูรณ์ พูนสุข เพราะแม่ผัวดี พ่อผัวดี และสามีดี ฉันใด ขอให้ท่านพระอุทายี จงสบาย สมบูรณ์ พูนสุข ฉันนั้นเถิด ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๔๕๐๒-๑๔๖๖๑ หน้าที่ ๕๕๗-๕๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=14502&Z=14661&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=418&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=418&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=1&item=420&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=1&item=420&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=418              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]