ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๑] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้อง ก็ดี หญ้าสามัญก็ดี ดินก็ดี ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะ ภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม บทว่า สร้าง คือทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม บทว่า อันหาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครๆ อื่น ที่เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เป็นเจ้าของ บทว่า เฉพาะตนเอง คือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว คำว่า พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้โดยยาว ๑๒ คืบ ด้วยคืบสุคต นั้น คือ วัดนอกฝาผนัง คำว่า โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ นั้น คือ วัดร่วมในฝาผนัง [๕๐๒] คำว่า พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ นั้น มีพระพุทธาธิบายไว้ว่าดังนี้ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตรา- *สงค์เฉวียงเบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่นกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง ท่าน เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะไปตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไปตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่ อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาดสามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถานมีผู้จองไว้หรือไม่ เป็น สถานมีชานเดินได้รอบหรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์
วิธีสมมติ
ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาขอสมมติให้ภิกษุตรวจดูพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ของภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้าง กุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้าง กุฎี สงฆ์สมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ การสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมี ชื่อนี้ อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๖๓๗๖-๑๖๔๑๐ หน้าที่ ๖๓๐-๖๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=16376&Z=16410&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=501&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=501&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=1&item=503&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=1&item=503&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=501              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]