ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ นามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะ พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะ เป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจ ด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุง กระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็น ปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขา ถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย เมื่อเธอ ถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ตัณหามี อะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามี สิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอ พึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูป เป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า เขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อ เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็น ปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ [๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวก เทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์ เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็น สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็น สัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความ เป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติ ดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะ ก็คือชาตินั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดย ประการทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ ก็คือภพนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดัง ต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มี แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะ อุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพ ก็คืออุปาทานนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เรากล่าวอธิบายดัง ต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มี แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ ตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน ก็คือตัณหานั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้ ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มี แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนานั่นเอง ฯ [๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัย เวทนาจึงเกิดตัณหา เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดลาภ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ เพราะอาศัยการตกลงใจจึงเกิดการ รักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เพราะอาศัยการพะวง จึงเกิดความยึดถือ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เพราะอาศัยความ ตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การ แก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความ ข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการป้องกันอกุศลธรรม อันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การ วิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้องกัน อกุศลธรรมอัน ชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้ บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิด ขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้ คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การ แก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การกล่าวคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ก็คือการป้องกันนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ ตระหนี่มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตระหนี่ โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏได้ บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ ป้องกัน ก็คือความตระหนี่นั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ ยึดถือมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึดถือโดย ประการทั้งปวง เพราะดับความยึดถือเสียได้ ความตระหนี่จะพึงปรากฏ ได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ ตระหนี่ ก็คือความยึดถือนั้นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการพะวงมิ ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการ ทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ ยึดถือ ก็คือการพะวงนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ รักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความรัก ใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การพะวงจะพึง ปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการพะวง ก็คือความรักใคร่พึงใจนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าว อธิบายดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ ตกลงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตกลงใจ โดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏ ได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรักใคร่ พึงใจ ก็คือความตกลงใจนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง เพราะหมดลาภ ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ ตกลงใจ ก็คือลาภนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการแสวงหา มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดย ประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหาลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ ก็คือ การแสวงหานั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อ ไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏ ได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการ แสวงหาก็คือตัณหานั่นเอง ฯ [๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง ด้วยประการดังนี้แล ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา- *สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา ก็คือผัสสะนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้- ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้ อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ ต่อไปได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ประมาณเท่าไร ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อม บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ฯ ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น กามาวจรนั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่ เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่ เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้มีบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุด มิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมี ความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็น กามาวจรนั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่ เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีอรูป ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ส่วนผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูป ทั้งหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพ ที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน ผู้มีอรูป เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตาย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่า นี้แล ฯ [๖๒] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ มีประมาณเท่าไร อานนท์ ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่ บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีรูปอันหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ หรือเมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มี รูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาจร เมื่อไม่ บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความ เห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือ ไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย ส่วนผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาล บัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย ฯ ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แล ฯ [๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็น อัตตาของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าว อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตา เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้ เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว เท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขม- *สุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ- *คลาย และความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเรา ดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อ ทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะ เล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน รูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ เรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้อง ดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับ ไปแล้ว ฯ ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของ เรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ ดังกล่าวแล้วนี้ ฯ [๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่ เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนา อยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่ สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อานนท์ ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การ กล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ฯ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ การแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสาร ยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มี ทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น นั้นไม่สมควร ฯ [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ- ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพ บางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒ ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี ว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ ฯลฯ
วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควร เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญี- *สัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้น อีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา- *สัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา- *สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑ ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ ๒ ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓ ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔ ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕ ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖ ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗ ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
จบมหานิทานสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงปรารถนาจะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี ท้าวเธอรับสั่งอย่างนี้ว่า ก็เราจักตัดพวก เจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก อย่างนี้ๆ จักให้แคว้นวัชชีพินาศถึงความ วอดวาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ มาตรัสสั่งว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จงถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา ทูล ถามถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความกระปรี้กระเปร่า พระกำลัง การประทับ อยู่สำราญว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ขอถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูล ถามถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความกระปรี้กระเปร่าพระกำลัง การประทับ อยู่สำราญ และจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ปรารถนาจะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี ท้าวเธอ รับสั่งอย่างนี้ว่า ก็เราจักตัดพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ จัก ให้แคว้นวัชชีพินาศถึงความวอดวาย ดังนี้ และพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ ท่านอย่างไร ท่านพึงจำข้อนั้นมาบอกเรา พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำที่ไม่ จริงเลย ฯ วัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ รับพระราชดำรัสของ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร แล้วเทียมยานที่ดีๆ ขึ้น ยานออกจากพระนครราชคฤห์ตรงไปยังภูเขาคิชฌกูฏ จนสุดภูมิประเทศเท่าที่ยาน จะไปได้ จึงลงจากยานเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นวัสสการพราหมณ์อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐนั่ง เรียบร้อยแล้วทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ขอถวายบังคมพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมด้วยเศียร เกล้า ทูลถามถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความกระปรี้กระเปร่า พระกำลัง การประทับอยู่สำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงปรารถนาจะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี ท้าวเธอรับสั่ง อย่างนี้ว่า ก็เราจักตัดพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ จักให้ แคว้นวัชชีพินาศถึงความวอดวาย ฯ [๖๘] ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ ยืนถวายอยู่งานพัดพระผู้มีพระภาค อยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองๆ หรือ ฯ ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักหมั่นประชุมกันเนืองๆ อยู่เพียงใด พึง หวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่เจ้าวัชชีพึงกระทำหรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อมเพรียงกัน เลิกประชุม และจักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่เจ้าวัชชีพึงกระทำอยู่เพียงใด พึงหวัง ได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีไม่ได้บัญญัติสิ่งที่มิได้ บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติอยู่ในวัชชีธรรมของ เก่าตามที่บัญญัติไว้แล้วหรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ จักไม่ถอน สิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในวัชชีธรรมของเก่าตามที่บัญญัติไว้ แล้วอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีสักการเคารพนับถือบูชา ท่านที่เป็นผู้ใหญ่ของพวกเจ้าวัชชี และเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้นหรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักสักการะเคารพนับถือบูชาท่านที่เป็นผู้ใหญ่ ของพวกเจ้าวัชชี และจักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้นอยู่เพียงใด พึงหวังได้ ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจสตรีหรือ กุมารีในสกุลให้อยู่ร่วมด้วยหรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักไม่ฉุดคร่าขืนใจสตรีหรือกุมารีในสกุล ให้ อยู่ร่วมด้วยอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีสักการะเคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ของพวกเจ้าวัชชีทั้งภายในภายนอก และไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลี ที่เคยให้ ที่เคยกระทำ แก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไปหรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ของ พวกเจ้าวัชชีทั้งภายในภายนอก และจักไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลี ที่เคยให้ ที่เคย กระทำ แก่เจดีย์เหล่านั้น เสื่อมทรามไปอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรอานนท์ เธอได้ยินมาอย่างไร พวกเจ้าวัชชีจัดแจงไว้ดีแล้ว ซึ่ง ความอารักขาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า ไฉนหนอ พระอรหันต์ที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้นและที่มาแล้ว พึงอยู่เป็น ผาสุกในแว่นแคว้น ดังนี้หรือ ฯ ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรอานนท์ พวกเจ้าวัชชีจักจัดแจงไว้ดีแล้ว ซึ่งความอารักขา ป้องกัน คุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า ไฉนหนอ พระอรหันต์ ที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้น ดังนี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๖๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ ผู้ใหญ่ในมคธรัฐว่า ดูกรพราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่สารันททเจดีย์เขตเมือง เวสาลีนี้ ณ ที่นั้นเราได้แสดงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ นี้ แก่พวกเจ้าวัชชี ก็อปริหา- *นิยธรรมทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในพวกเจ้าวัชชี และพวกเจ้าวัชชีจักสนใจในอปริหา- *นิยธรรมทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ ในมคธรัฐได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกเจ้าวัชชีมาประกอบด้วยอปริหา- *นิยธรรม แม้ข้อหนึ่งๆ ก็ยังหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม จะป่วย กล่าวไปไยถึงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ข้อเล่า พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ไม่ควรกระทำการรบกับเจ้าวัชชี นอกจากจะปรองดอง นอกจากจะยุ ให้แตกกันเป็นพวก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีกรณียะมาก จะขอลาไปในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมทราบกาลอัน ควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ ชื่นชม ยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว ฯ [๗๐] ครั้งนั้น เมื่อวัสสการพราหมณ์อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐหลีกไป ไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงไป จงสั่งให้ภิกษุทุกรูปซึ่งอยู่อาศัยพระนครราชคฤห์ ให้มาประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว สั่งให้ภิกษุทุกรูปซึ่งอยู่อาศัย พระนครราชคฤห์ให้ประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐาน- *ศาลา แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นประทับนั่งแล้ว รับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักหมั่นประชุมกันเนืองๆ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อม เพรียงกันเลิกประชุม และจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงกระทำ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุ ผู้เป็นเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักเชื่อฟัง ถ้อยคำของท่านเหล่านั้นอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหาอันจะก่อให้เกิด ภพใหม่ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้ยินดีในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งสติไว้ในภายในว่า ไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังมิได้มา พึงมาเถิดและที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุก ดังนี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด หมู่ภิกษุพึงหวังได้ซึ่ง ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ- *พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่เป็นผู้ชอบการงาน ไม่ยินดีแล้ว ในการงาน ไม่ประกอบตามซึ่งความเป็นผู้ชอบการงาน อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่ง ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่เป็นผู้ชอบการคุย ไม่ยินดีแล้ว ในการคุย ไม่ประกอบตามซึ่งความเป็นผู้ชอบการคุย อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่ง ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดี แล้วในการนอนหลับ ไม่ประกอบตามซึ่งความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่เป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดี แล้วในความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบตามซึ่งความเป็นผู้ชอบความคลุกคลีด้วย หมู่ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ ลุอำนาจแก่ความปรารถนาอันลามก อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้ไม่มีมิตรชั่ว ไม่มีสหายชั่ว ไม่คบคนชั่ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่ถึงความนอนใจในระหว่าง เพราะ การบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเป็นผู้มีศรัทธา... ๒. ...มีใจประกอบด้วยหิริ... ๓. ...มีโอต- *ตัปปะ... ๔. ...เป็นพหูสูตร... ๕. ...ปรารภความเพียร... ๖. ...มีสติตั้งมั่น... ๗. พวกภิกษุจักเป็นผู้มีปัญญา อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเจริญสติสัมโพชฌงค์...., ๒. ...ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์.... ๓. ...วิริยสัมโพชฌงค์... ๔. ...ปีติสัมโพชฌงค์... ๕. ...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... ๖. ...สมาธิสัมโพชฌงค์... ๗. พวกภิกษุจักเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อยู่ เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความ เจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเจริญอนิจจสัญญา... ๒. ...อนัตตสัญญา... ๓. ...อสุภสัญญา... ๔. ...อาทีนวสัญญา... ๕. ...ปหานสัญญา ๖. ...วิราคสัญญา... ๗. พวก ภิกษุจักเจริญนิโรธสัญญา อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่ง ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วย เมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้แบ่งปันลาภอันเป็นธรรม ที่ได้ มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้มาตรว่าอาหารอันนับเนื่องในบาตร คือเฉลี่ยกันบริโภค กับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลทั้งหลาย อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักมีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ในศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้มีทิฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหม- *จรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ในทิฐิอันประเสริฐนำออกไปจากทุกข์ นำผู้ ปฏิบัติตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรมทั้ง ๖ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรมทั้ง ๖ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร- *ราชคฤห์แม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถาอันนี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญา อบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นอาสวะโดยชอบ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๗๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในพระนคร ราชคฤห์ แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังอัมพลัฏฐิกา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงอัมพลัฏฐิกาแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับ ณ พระตำหนักหลวงในอัมพลัฏฐิกาแม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถาอันนี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิ อบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก อาสวะโดยชอบ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในอัม- *พลัฏฐิกา แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังบ้านนาฬันทคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านนาฬันทคาม แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในปาวาทิกอัมพวัน ในบ้านนาฬันทคาม นั้น ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตร นั่งเรียบร้อยแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มี- *พระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะรู้เกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในทางสัมโพธิญาณมิได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้ ฯ พ. ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจาอันยิ่งนี้ เธอถือเอาส่วนเดียว บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะรู้เกินไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระ- *สัมโพธิญาณมิได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้ ดูกรสารีบุตร พระผู้มี- *พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ซึ่งได้มีแล้วในอดีตกาล อันเธอ กำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น มีศีลอย่างนี้แล้ว แม้เพราะ เหตุนี้มีธรรมอย่างนี้แล้ว มีปัญญาอย่างนี้แล้ว มีวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว มีวิมุตติ อย่างนี้แล้ว แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้หรือ ฯ ส. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรสารีบุตร ก็พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ซึ่ง จักมีในอนาคตกาล อันเธอกำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จักเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรม อย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้หรือ ฯ มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรสารีบุตร ก็เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ อันเธอกำหนด ซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้หรือ ฯ มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรสารีบุตร ก็ในเรื่องนี้ เธอไม่มีญาณเพื่อกำหนดรู้ซึ่งในใจพระอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ในบัดนี้ อย่างไรเล่า เธอจึงได้กล่าวอาสภิวาจาอันยิ่งนี้ เธอถือเอาส่วนเดียว บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือ พราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะรู้เกินไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีญาณเพื่อกำหนดรู้ซึ่งใจในพระ- *อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ว่า ข้าพระองค์ รู้แนวธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปัจจันตนครของพระราชามีประตูมั่นคง มีกำแพง และเสาระเนียดมั่นคง มีประตูช่องเดียว คนเฝ้าประตูพระนครนั้น เป็นคนฉลาด เฉียบแหลมมีปัญญา ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ปล่อยคนที่รู้จักให้เข้าไปได้ เขาเดินตรวจ ดูหนทางตามลำดับโดยรอบพระนครนั้น ไม่เห็นที่หัวประจบแห่งกำแพงหรือช่อง- *กำแพง โดยที่สุดแม้เพียงแมวลอดออกได้ เขาพึงมีความรู้สึกว่า สัตว์ที่ตัวโต ทุกชนิดจะเข้าออกนครนี้ ย่อมเข้าออกโดยประตูนี้ แม้ฉันใด แนวแห่งธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์รู้ว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มีแล้วในอดีตกาลทุกพระองค์ ทรงละนิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญ โพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว แม้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตกาลทุกพระองค์ จักทรง ละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มีพระทัย ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มี พระทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในปาวาทิกอัมพวัน ในบ้านนาฬันทา แม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้ สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในบ้าน นาฬันทคาม แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังปาฏลิคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงปาฏลิคามแล้ว พวกอุบาสกชาวปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงปาฏลิคามแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามนั่ง เรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง รับเรือนสำหรับพักของพวกข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พวกอุบาสกชาวปาฏลิคามทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณกลับไปยังเรือน สำหรับพัก ครั้นเข้าไปแล้วปูลาดเรือนสำหรับพักอย่างเรียบร้อยทั่วทุกแห่ง แต่งตั้ง อาสนะ ตั้งหม้อน้ำไว้ ตามประทีปไว้แล้ว จึงกลับเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปูลาดเรือนสำหรับพักอย่างเรียบร้อย ทั่วทุกแห่งแล้ว แต่งตั้งอาสนะไว้ ตั้งหม้อน้ำไว้ ตามประทีปไว้แล้ว ขอพระผู้มี- *พระภาคจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปยังเรือนสำหรับพัก ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ทรงล้าง พระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ประทับนั่งพิงเสากลาง บ่ายพระพักตร์ ไปทางบูรพทิศ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหลัง บ่ายหน้าไปทางบูรพทิศแวดล้อมพระผู้มีพระภาค ส่วนพวกอุบาสกชาวปาฏลิคาม ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหน้า บ่ายหน้าไปทางปัจฉิมทิศ แวดล้อมพระผู้มีพระภาค ฯ [๗๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้วในโลกนี้ ย่อมเข้าถึง ความเสื่อมแห่งโภคะอย่างใหญ่อันมีความประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นโทษข้อที่หนึ่ง แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันชั่วของคนทุศีล มีศีลวิบัติแล้วย่อมกระฉ่อนไป อันนี้เป็นโทษข้อที่สองแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติย- *บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมครั่นคร้าม เก้อเขิน อันนี้เป็นโทษข้อที่สามแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมหลงกระทำกาละ อันนี้เป็นโทษ ข้อที่สี่แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อันนี้เป็นโทษข้อที่ห้าแห่งศีลวิบัติของคน ทุศีล ฯ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้แล ฯ [๘๐] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับ กองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่หนึ่ง แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อม ขจรไป อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สอง แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สาม แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ อันนี้ เป็นอานิสงส์ข้อที่สี่ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ห้า แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล ฯ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการ เหล่านี้แล ฯ [๘๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามให้เห็น- *แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีแล้ว ทรงส่ง ไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ราตรีสว่างแล้ว พวกท่านจงทราบกาลอันควร ในบัดนี้เถิด พวกอุบาสกชาวปาฏลิคามทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่สุญญา- *คารแล้ว ฯ [๘๒] ก็สมัยนั้น สุนีธะ และวัสสการะ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ สร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี ก็สมัยนั้นเทวดาเป็นอันมากนับเป็น พันๆ หวงแหนที่ในปาฏลิคาม เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่หวงแหนที่ในส่วนใด จิตของ พระราชาและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ก็น้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นกลางหวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและพระราชมหาอำมาตย์ ชั้นกลาง ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นต่ำหวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นนับเป็นพันๆ หวงแหนที่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี ตรัส เรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ฯ อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ จะสร้างเมืองปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี ฯ ดูกรอานนท์ สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐจะสร้างเมือง ในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี ก็เปรียบเหมือนท้าวสักกะทรงปรึกษา กับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ในที่นี้ เราได้เห็นเทวดาเป็นอันมากนับเป็นพันๆ หวงแหนที่ในปาฏลิคามด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เทวดาผู้มี ศักดิ์ใหญ่หวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นกลางหวงแหนที่ในส่วนใด จิต ของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ชั้นกลาง ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นต่ำหวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น ดูกรอานนท์ ที่นี้จักเป็นที่อยู่อันประเสริฐ เป็นทางค้าขาย เป็นนครอันเลิศ ชื่อว่า ปาฏลีบุตร เป็นที่แก้ห่อภัณฑะ นคร ปาฏลีบุตรจักมีอันตราย ๓ ประการ คือ ไฟ น้ำ หรือการยุให้แตกพวก ฯ [๘๓] ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรง รับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้น สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ ทราบว่าพระผู้มีพระภาค ทรงรับแล้ว จึงเข้าไปยังที่พักของตนๆ ครั้นแล้วจัดแต่งของเคี้ยวของฉันอัน ประณีตในที่พักของตนๆ แล้วให้ทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่าน พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้วภัตตาหารสำเร็จแล้ว ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังที่พักของสุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ใน มคธรัฐ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ ในมคธรัฐ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำ เพียงพอด้วย ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนๆ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว สุนีธะและวัสสการะถืออาสนะต่ำ นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อสุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ นั่งเฝ้าอยู่อย่าง นี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า [๘๔] บัณฑิตยชาติสำเร็จการอยู่ในประเทศใด ย่อมเชื้อเชิญท่าน ผู้มีศีล ผู้สำรวมแล้วประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศ นั้น ได้อุทิศทักษิณาทานให้แก่เทวดาที่มีอยู่ ณ ที่นั้น เทวดา เหล่านั้นได้รับบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบเขา ได้รับความนับถือ แล้ว ย่อมนับถือตอบเขา แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์เขา เหมือน มารดาอนุเคราะห์บุตรซึ่งเกิดแต่อกฉะนั้น บุรุษผู้อันเทวดาอนุ- *เคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ [๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนากะสุนีธะและวัสสการะ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว ก็สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ ต่างตามเสด็จพระผู้มี- *พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์ด้วยคิดว่า วันนี้พระสมณโคดมจักเสด็จออกทาง ประตูใด ประตูนั้นจักมีนามว่าประตูโคดม จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาทางท่าใด ท่านั้นจักมีนามว่าท่าโคดม ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกทางประตูใด ประตู นั้นได้นามว่าประตูโคดมแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา แล้ว ก็สมัยนั้น แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้ พวกมนุษย์ผู้ประสงค์ จะข้ามฟาก บางพวก เที่ยวหาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์ทรงหายไป ณ ที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏตน ที่ฝั่งโน้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ไว้ หรือคู้แขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรมนุษย์เหล่านั้น ผู้ประสงค์จะข้ามฟาก บางพวกเที่ยวหาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่นอยู่ พระองค์ทรงทราบ เนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า เหล่าชนที่จะข้ามสระ คือ ตัณหาอันเวิ้งว้าง ต้องสร้างสะพาน คือ (อริยมรรค) พ้นเปือกตม ก็และขณะที่ชนกำลังผูกทุ่นอยู่ หมู่ชนผู้มีปัญญา ข้ามได้แล้ว ฯ
จบภาณวารที่หนึ่ง ฯ
[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปโกฏิคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงโกฏิคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามนั้น ณ ที่ นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เป็นไฉน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่รู้แจ้งแทง- *ตลอด ทุกขสมุทัยอริยสัจ ... ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ตัณหาในภพ เราถอนเสีย แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอ จึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ สิ้นกาลนาน เราได้เห็นอริยสัจ ๔ เหล่านั้นแล้ว เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้แล้ว มูลแห่งทุกข์เราตัดได้ขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ฯ [๘๘] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามแม้นั้น ทรง- *กระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่าง นี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิ อบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโกฏิคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไป ยังนาทิกคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนาทิกคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐที่นาทิกคามนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนามว่าสาฬหะ มรณภาพแล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน ภิกษุณีนามว่า นันทา มรณภาพแล้วใน นาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน อุบาสกนามว่า สุทัตตะ ... อุบาสิกา นามว่า สุชาดา ... อุบาสกนามว่า กกุธะ ... อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสก นามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ... อุบาสก นามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ ทำกาละ แล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเขาเป็นไฉน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุนามว่าสาฬหะ กระทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งของตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีนามว่า นันทา เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลก นั้นเป็นธรรมดา อุบาสกนามว่า สุทัตตะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ อุบาสิกานามว่า สุชาดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็น พระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า อุบาสกนามว่า กกุธะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสกนามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ เพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมา จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯ ดูกรอานนท์ พวกอุบาสกในนาทิกคาม อีก ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่ กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๙๖ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๕๑๐ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ ดูกรอานนท์ ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์ เมื่อผู้นั้นๆ ทำกาละแล้ว พวกเธอจักเข้าไปเฝ้าพระตถาคต แล้วทูลถามเนื้อความ นั้น อันนี้เป็นความลำบากแก่พระตถาคต เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมปริยาย ชื่อธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรต- *วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ก็ธรรมปริยายชื่อว่า ธรรมาทาส นั้น เป็นไฉน ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น ยิ่งไปกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะ- *ตน ดังนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี้พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันพระอริยะ ใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ แล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ ดูกรอานนท์ อันนี้แลคือธรรมปริยายชื่อว่าธรรมาทาส สำหรับที่จะให้ อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก สิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมี อันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐในนาทิกคามนั้น ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญา อันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อม หลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๙๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในนาทิกคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยัง เมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเมืองเวสาลีแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในอัมพปาลีวัน เขตเมืองเวสาลีนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการ ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่าย อุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับเธอ ฯ [๙๑] นางอัมพปาลีคณิกา ได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงเมือง- *เวสาลี ประทับอยู่ ณ อัมพวันของเรา เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น นางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้จัดยานที่ดีๆ แล้ว ขึ้นยานออกจากเมืองเวสาลีตรงไปยังอารามของตน จน ตลอดภูมิประเทศเท่าที่ยานจะไปได้ ลงจากยานเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี- *พระภาคทรงยังนางอัมพปาลีคณิกาผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา นางอัมพปาลีคณิกา อันพระผู้มีพระภาคทรง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ลำดับ นั้น นางอัมพปาลีคณิกาทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ฯ [๙๒] พวกเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี ได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จ ถึงเมืองเวสาลี ประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวันเขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวี รับสั่งให้จัดยานที่ดีๆ แล้วเสด็จขึ้นยานออกจากเมืองเวสาลีไปแล้ว ในพวกเจ้า- *ลิจฉวีนั้น บางพวก เขียวล้วน คือมีวรรณะเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว บางพวกเหลืองล้วน คือมีวรรณะเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง บางพวกแดงล้วน คือมีวรรณะแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกขาว- *ล้วน คือมีวรรณะขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว ครั้งนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ให้เพลารถกระทบเพลารถ ล้อรถกระทบล้อรถ แอกกระทบแอก ของพวกเจ้าลิจฉวี หนุ่มๆ พวกเจ้าลิจฉวีได้พูดกะนางอัมพปาลีคณิกาว่า แน่ะนางอัมพปาลี เหตุไร ท่านจึงให้เพลารถกระทบเพลารถ ล้อรถกระทบล้อรถ แอกกระทบแอก ของพวก- *เจ้าลิจฉวีหนุ่มๆ ฯ อ. ข้าแต่ลูกเจ้า จริงอย่างนั้น หม่อมฉันทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ให้ทรงรับภัตในวันพรุ่งนี้ ฯ ล. แน่ะนางอัมพปาลี เจ้าจงให้ภัตนี้โดยราคาแสนหนึ่งเถิด ฯ ข้าแต่ลูกเจ้า ก็พวกท่านจักให้เมืองเวสาลีพร้อมทั้งชนบทแก่หม่อมฉัน แม้อย่างนั้น หม่อมฉันก็จักไม่ให้ภัตอันใหญ่ได้ ฯ ลำดับนั้น พวกเจ้าลิจฉวีปรบนิ้วมือว่า ดูกรท่านทั้งหลาย นางอัมพปาลี ชนะพวกเราแล้วหนอ พวกเราถูกนางอัมพปาลีลวงแล้วหนอ จึงพวกเจ้าลิจฉวีได้ ไปยังอัมพปาลีวันแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นพวกเจ้าลิจฉวีมาแต่ไกล ครั้นแล้ว จึงรับสั่งกะพวกภิกษุว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่ยังไม่เคยเห็นพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ จงดูพวกเจ้าลิจฉวี จงจ้องดูหมู่เจ้าลิจฉวี จงนำเข้าไปเปรียบหมู่เจ้า ลิจฉวี ให้เหมือนกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯ ลำดับนั้น พวกเจ้าลิจฉวีไปด้วยยานจนสุดภูมิประเทศที่ยานจะไปได้ ลงจากยานเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพวกเจ้าลิจฉวีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล พวกเจ้าลิจฉวีอันพระผู้มีพระภาคทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัต ของ พวกข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพวกเจ้าลิจฉวี เราได้ รับภัตของนางอัมพปาลีคณิกาไว้ในวันพรุ่งนี้เสียแล้ว ลำดับนั้น พวกเจ้าลิจฉวี ปรบนิ้วมือว่า นางอัมพปาลีคณิกาชนะพวกเราแล้วหนอ พวกเราถูกนางอัมพปาลี- *คณิกาลวงแล้วหนอ พวกเจ้าลิจฉวีชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุก จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ฯ ครั้งนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต ในอารามของตนคืนยังรุ่ง เสร็จแล้วสั่งให้กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว ฯ ลำดับนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังที่พักชั่วคราวของนางอัมพปาลีคณิกา ประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดถวาย นางอัมพปาลีคณิกา อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน ครั้น พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นางอัมพปาลีคณิกาถือ อาสนะต่ำนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอมอบอารามนี้แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ทรงยังนางอัมพปาลีคณิกาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะหลีก ไปแล้ว ฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อัมพปาลีวัน เขตเมืองเวสาลีนั้น ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอัน สมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อม หลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๙๓] ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน อัมพปาลีวันแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังบ้านเวฬุวคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านเวฬุวคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในบ้านเวฬุวคามนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจำพรรษารอบ เมืองเวสาลี ตามที่เป็นมิตรกัน ตามที่เคยเห็นกัน ตามที่เคยคบกันเถิด ส่วนเรา จะจำพรรษาในบ้านเวฬุวคามนี้แหละ พวกภิกษุทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค แล้ว จำพรรษารอบเมืองเวสาลีตามที่เป็นมิตรกัน ตามที่เคยเห็นกัน ตามที่เคย คบกัน ส่วนพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาในบ้านเวฬุวคามนั้นแหละ ครั้งนั้นเมื่อ พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว ทรงประชวรอย่างหนัก เกิดเวทนาอย่างร้ายแรง ถึงใกล้จะปรินิพพาน ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้น ไม่พรั่นพรึง ทรงพระดำริว่า การที่เราจะไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก ไม่ อำลาภิกษุสงฆ์ปรินิพพานเสียนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย ถ้ากระไร เราพึงใช้ความ เพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่เถิด ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่อาพาธนั้น ทรงดำรง ชีวิตสังขารอยู่แล้ว อาพาธของพระองค์สงบไปแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงหาย ประชวร คือหายจากความเป็นคนไข้ไม่นาน เสด็จออกจากวิหารไปประทับนั่ง บนอาสนะที่ภิกษุจัดถวายไว้ที่เงาวิหาร ฯ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้า ไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่าน พระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นความสำราญของพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์เห็นความอดทน ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็แต่ว่า เพราะการประชวรของพระผู้มีพระภาค กายของ ข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แต่ว่า ข้าพระองค์มามีความเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคจักยังไม่เสด็จ ปรินิพพาน จนกว่าจะได้ทรงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใด อย่างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราได้แสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในมีนอก กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต ผู้ใดจะพึงคิดอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์ จะเชิดชูเราดังนี้ ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่า ภิกษุสงฆ์จักเชิดชูเรา ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในคราวหนึ่ง ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยมาโดย ลำดับแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ เพราะการ ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ แม้ฉันใด กายของตถาคต ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฯ ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าถึงเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เพราะ ไม่ทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของ ตถาคตย่อมผาสุก เพราะฉะนั้น พวกเธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่ มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่เถิด ฯ ดูกรอานนท์ อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มี เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก อย่างนี้แล อานนท์ ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ดูกรอานนท์ ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น ที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่ง อื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุของเราที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาจักปรากฏอยู่ในความเป็น ยอดยิ่ง ฯ
จบคามกัณฑ์ในมหาปรินิพพานสูตร ฯ
จบภาณวารที่สอง ฯ
[๙๔] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองเวสาลี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตแล้ว เวลา ปัจฉาภัตเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ เธอจงถือเอาผ้านิสีทนะไป เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ เพื่อพักผ่อน ตอนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ถือเอาผ้า นิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ครั้นเสด็จเข้าไป แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวาย ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่ง เรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกะท่านว่า ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลี น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ โคตมเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูกร อานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็น ดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคต นั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป แม้เมื่อ พระผู้มีพระภาคทรงกระทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกะท่าน พระอานนท์ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกะท่านพระอานนท์ ฯลฯ ท่านพระอานนท์ก็มิอาจรู้ทัน ... เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า เธอจงไปเถิด อานนท์ เธอรู้กาลอันควรในบัดนี้ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ฯ [๙๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจา นี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับ แนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยัง บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดง ธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็น พหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมได้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอ พระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุณีผู้สาวิกาของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว ... แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่ บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอ พระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของ เรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว ... แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอ พระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกา ของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกาผู้เป็น สาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม- *ธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้ เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอ พระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้ จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่ง พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคนี้สมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดาและ มนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ฯ เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรมารผู้ มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงมีพระสติสัมปชัญญะทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระผู้มี- *พระภาคทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ และขนพองสยองเกล้า น่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า [๙๖] มุนีปลงเสียได้แล้วซึ่งกรรมที่ชั่งได้ และกรรมที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุสมภพ เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และได้ยินดีในภายใน มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลสที่เกิดในตนเสีย เหมือนนักรบ ทำลายเกราะฉะนั้น ฯ [๙๗] ครั้งนั้น พระอานนท์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ เหตุไม่เคยมีมามีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงๆ ความ ขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยสำหรับให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น เข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมีมามีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงๆ ความ ขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย สำหรับให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ [๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพระอานนท์ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการเหล่านี้แล เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ๘ ประการเป็นไฉน ฯ ดูกรอานนท์ มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัดอยู่ย่อมยังน้ำให้ไหว น้ำไหวแล้ว ย่อมยัง แผ่นดินให้ไหว อันนี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญใน ทางจิต หรือว่าเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญาเพียง เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญาอย่างแรงกล้า เขาย่อมยังแผ่นดินนี้ให้สะเทือนสะท้าน หวั่นไหวได้ อันนี้เป็นปัจจัยข้อที่สอง เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สาม เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจาก พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตให้อนุตรธรรมจักรเป็นไป เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก เพื่อให้ แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุ สังขาร เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็น ปัจจัยข้อที่เจ็ด เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- *นิพพานธาตุ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็น- *ปัจจัยข้อที่แปด เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ ดูกรอานนท์ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เหล่านี้แล เพื่อให้ แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ [๙๙] ดูกรอานนท์ บริษัท ๘ พวกเหล่านี้แล ๘ พวกเป็นไฉน คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท ฯ ดูกรอานนท์ เรายังจำได้ว่า เราเข้าไปยังขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเรา เคยนั่งเคยปราศรัย เคยเข้าสนทนาในขัตติยบริษัทนั้น วรรณะของพวกนั้นเป็น เช่นใด ของเราก็เป็นเช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นใด ของเราก็เป็นเช่นนั้น เรายังพวกนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา เมื่อเราพูดอยู่ก็ไม่มีใครรู้ว่า ผู้นี้คือใครหนอพูดอยู่ จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ครั้นเรายังพวกนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา แล้วหายไป เมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ผู้นี้คือใครหนอ หายไปแล้ว จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ดูกรอานนท์ เรายังจำได้ว่า เราเข้าไปยังพราหมณบริษัท หลายร้อยครั้ง ... คฤหบดีบริษัทหลายร้อยครั้ง ... สมณบริษัทหลายร้อยครั้ง ... จาตุมหาราชิกบริษัทหลายร้อยครั้ง ... ดาวดึงสบริษัทหลายร้อยครั้ง ... มารบริษัท หลายร้อยครั้ง ... พรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง ... ทั้งเราเคยนั่ง เคยปราศรัย เคยเข้าสนทนาในพรหมบริษัทนั้น วรรณะของพวกนั้นเป็นเช่นใด ของเราก็เป็น เช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นไร ของเราก็เป็นเช่นนั้น เรายังพวกนั้นให้ เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา เมื่อเราพูดอยู่ก็ไม่มี ใครรู้ว่า ผู้นี้คือใครหนอพูดอยู่ จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ครั้นเรายังพวกนั้นให้ เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ใช้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป เมื่อเรา หายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ผู้นี้คือใครหนอ หายไปแล้ว จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ดูกรอานนท์ บริษัท ๘ เหล่านี้แล ฯ [๑๐๐] ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ๘ ประการ เป็นไฉน คือ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะ เขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มี วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้น เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะ เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ สำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด ฯ ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ฯ [๑๐๑] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ๘ ประการ เป็น- *ไฉน คือ ภิกษุเห็นรูป อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ ข้อที่สอง ฯ ภิกษุน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง อากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ ข้อที่หก ฯ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด ฯ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง ภิกษุ เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ฯ [๑๐๒] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้ อชปาลนิโครธแทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นมาร ผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมาร ผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่ แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดามนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้เอง มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์ ครั้นเข้ามาหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปครั้นยืนเรียบร้อย แล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกา ของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยัง ไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กัน โดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เรา จักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มี- พระภาคสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานใน บัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของ พระผู้มีพระภาค ฯ ดูกรอานนท์ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้ ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขารแล้ว ที่ปาวาลเจดีย์ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรง ดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็น อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เวลานี้อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้มิใช่เวลาที่จะวิงวอนตถาคต แม้ครั้งที่สอง ... แม้ ครั้งที่สาม ... ท่านพระอานนท์ ก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรอานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ ฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเชื่อ ไฉนเธอจึงแค่นได้ตถาคตถึงสามครั้งเล่า ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาได้รับมา เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรม แล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้ เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ฯ ดูกรอานนท์ เธอเชื่อหรือ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ ฯ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว เพราะว่า เมื่อตถาคตทำนิมิตอันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจา เธอ เสียสองครั้งเท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว ฯ [๑๐๓] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร- *ราชคฤห์ ณ ที่นั้น เราเรียกเธอมาบอกว่า ดูกรอานนท์ พระนครราชคฤห์ น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏ น่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือ เกินกว่ากัป ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดี แล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป เมื่อ ตถาคตทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอน ตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้ง เท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้ จึงเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว ฯ [๑๐๔] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมนิโครธ เขตพระนคร- *ราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่เหวเป็นที่ทิ้งโจร เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่ถ้ำ สัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่ กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่เงื้อมชื่อสัปปโสณฑิก ณ สีตวัน เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ นั้น ... เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่ ชีวกัมพวัน เขตพระนครราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน เขตพระนคร ราชคฤห์นั้น ณ ที่นั้น เราเรียกเธอมาบอกว่า ดูกรอานนท์ พระนครราชคฤห์ น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมณ์ โคตมนิโครธ เหวที่ทิ้งโจร ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ เงื้อมชื่อว่า สัปปโสณฑิกสีตวัน ตโปทาราม เวฬุวันกลันทกวิวาปสถาน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำ ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป เมื่อตถาคตทำนิมิตอันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มี- *พระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอ วิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสีย สองครั้งเท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้ เป็นความผิดพลาดของเธอ ผู้เดียว ฯ [๑๐๕] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ เขตเมืองเวสาลี นี้เอง ณ ที่นั้น เราเรียกเธอมาบอกว่า ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป เมื่อตถาคตกระทำนิมิต อันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้งเท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้ เป็นความผิดพลาดของเธอ ผู้เดียว ฯ [๑๐๖] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ เขตเมืองเวสาลี นี้เอง ... เราอยู่ที่สัตตัมพเจดีย์ เขตเมืองเวสาลีนี้เอง ... เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์ เขตเมืองเวสาลีนี้เอง ... เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตเมืองเวสาลีนี้เอง ... วันนี้ เมื่อกี้นี้เอง เราบอกเธอที่ปาวาลเจดีย์ว่า ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทน เจดีย์ โคตมกเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันททเจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป เมื่อตถาคตกระทำนิมิต อันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้งเท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้ เป็นความผิดพลาดของเธอ ผู้เดียว ฯ ดูกรอานนท์ เราได้บอกเธอไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่ง แล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้น อย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้ ก็สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว วางแล้ว อายุสังขารตถาคตปลงแล้ว วาจาที่ตถาคตกล่าวไว้โดยเด็ดขาดว่า ความ ปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จัก ปรินิพพาน อันตถาคตจะกลับคืนยังสิ่งนั้น เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักเข้าไปยังกูฏาคารสาลาป่ามหาวัน ท่าน พระอานนท์รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยท่านพระอานนท์เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารสาลาป่ามหาวัน ครั้นแล้ว รับสั่ง กะท่านพระอานนท์ว่า ไปเถิดอานนท์ เธอจงให้ภิกษุทุกรูปเท่าที่อาศัยเมืองเวสาลี อยู่ มาประชุมที่อุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี- *พระภาคแล้ว จึงให้ภิกษุทุกรูปเท่าที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่ มาประชุมที่อุปัฏฐานศาลา แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์ยืน เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ฯ [๑๐๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรม เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงซ่องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี โดยประการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ธรรมที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่าง หม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ฯ พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละ พวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้ มีความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใด จักเป็นผู้ ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ ฯ
จบภาณวารที่สาม ฯ
[๑๐๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมือง เวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเมืองเวสาลี เป็นนาคาวโลก แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักไปยังบ้าน ภัณฑคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ๔ ประการเป็นไฉน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไป สิ้นกาลนาน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ ... ปัญญาอันเป็นอริยะ ... วิมุตติอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะสมาธิอันเป็น อริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุตติอันเป็นอริยะแล้ว ตัณหาในภพเราถอนเสียแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๑๑๐] ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดา ผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว ฯ [๑๑๑] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญา อันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ [๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน ภัณฑคามแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์ เรา จักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕-๒๙๗๑ หน้าที่ ๖๐-๑๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=1455&Z=2971&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=10&item=57&items=56              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=10&item=57&items=56&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=10&item=57&items=56              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=10&item=57&items=56              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]