ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๓. กัปปสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้การเห็นเป็นเหตุปราศจากอหังการมมังการ และมานานุสัย
[๓๑๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่าง ไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล มนัสจึงจะปราศจาก อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่ มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา อย่างนี้แล้ว จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้แล มนัสจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และใน สรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.
จบ สูตรที่ ๑๓.
จบธัมมกถิกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒ ๒. วิชชาสูตร ๘. สังโยชนสูตร ๓. ธัมมกถิกสูตรที่ ๑ ๙. อุปาทานสูตร ๔. ธัมมกถิกสูตรที่ ๒ ๑๐. สีลสูตร ๕. พันธสูตร ๑๑. สุตวาสูตร ๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑ ๑๒. กัปปสูตรที่ ๑ ๑๓. กัปปสูตรที่ ๒.
-----------------------------------------------------
อวิชชาวรรคที่ ๓
๑. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๒๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อม ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูปอันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งสัญญา ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง วิญญาณอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมไม่ รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งวิญญาณอันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๘๐๖-๓๘๔๗ หน้าที่ ๑๖๓-๑๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3806&Z=3847&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=319&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=319&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=319&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=319&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=319              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]