ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี-
*พระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีก
ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.
             [๘๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้น
ในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจงสำรวมในปาฏิโมกข-
*สังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา
บททั้งหลาย.
             [๘๒๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จักถึงพร้อมด้วย
มารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น
เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อใด เธอจักอาศัย
ศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญใน
กุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม.
             [๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียว
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด
แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖
ทุจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต-สุจริต

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๙๔๗-๔๙๗๑ หน้าที่ ๒๐๕-๒๐๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4947&Z=4971&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=827&items=4&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=827&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=827&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=827&items=4&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=827              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]