บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๘๓๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่เอาใจใส่ ทำอาการ ดุจไม่ยากฉัน ...พระบัญญัติ ๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยไม่รังเกียจ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดย รังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒ [๘๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่ นั้นๆ เมื่อเขาเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หารู้สึกตัวไม่ ...พระบัญญัติ ๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงแลดูในบาตร ฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉัน บิณฑบาตพลางแลดูไปในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓ [๘๓๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ...พระบัญญัติ ๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะ ลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ตักให้ภิกษุอื่น เว้าแหว่ง ๑ ตักเกลี่ย ลงในภาชนะอื่นแหว่ง ๑ ตักสูปะแหว่งเว้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔ [๘๓๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ฉันแต่กับอย่างเดียว มาก ...พระบัญญัติ ๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.สิกขาบทวิภังค์ ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วยถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ. อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่สูปะอย่าง เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันกับข้าวอย่างอื่นๆ ๑ ฉันของญาติ ๑ ฉันของคนปวารณา ๑ ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕ [๘๓๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ...พระบัญญัติ ๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุไม่พึงขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ กวาดตะล่อมข้าวที่เหลือเล็กน้อยรวมเป็น คำแล้วเปิบฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖ [๘๓๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์อาศัยความอยากได้มาก กลบแกงบ้าง กับข้าวบ้าง ด้วยข้าวสุก ...พระบัญญัติ ๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วย- *ข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว ด้วยข้าวสุกเพราะอยากจะได้มาก ภิกษุ ใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ เจ้าของกลบถวาย ๑ ไม่ได้มุ่งอยากได้มาก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน [๘๓๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉัน ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า กับข้าวหรือข้าวสุกที่ดี ใครจะ ไม่พอใจ ของที่มีรสอร่อยใครจะไม่ชอบใจ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค.ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอขอ กับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ขอ กับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อ- *ประโยชน์แก่ตน ฉัน. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน จบ. เรื่องพระอาพาธ [๘๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุผู้พยาบาลได้ถามภิกษุทั้งหลาย ผู้อาพาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ ภิกษุอาพาธทั้งหลายตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกผมขอสูปะบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้ พวกผมมีความผาสุก เพราะเหตุนั้น แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว จึงไม่ขอ เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอได้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉันได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.เรื่องพระอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุไม่อาพาธ ไม่พึงขอสูปะ หรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ ประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘ [๘๓๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตร ของภิกษุเหล่าอื่น ...พระบัญญัติ ๑๘๓. ๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา แลดูบาตรของ ผู้อื่น.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุพวกอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ แลดูด้วยคิดว่าจักเติมของฉันให้ หรือจักสั่งให้เขา เติมถวาย ๑ มิได้มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙ [๘๓๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่ ...พระบัญญัติ ๑๘๔. ๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าว ให้ใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ. ----------------------------------------------------- สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ [๘๔๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันข้าวทำคำข้าวยาว ...พระบัญญัติ ๑๘๕. ๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. วรรคที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- วรรคที่ ๕ กพฬวรรค กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๕๘๘-๑๕๗๖๐ หน้าที่ ๖๗๘-๖๘๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15588&Z=15760&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=830&items=11&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=830&items=11 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=830&items=11&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=830&items=11&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=830 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]