ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
มาคันทิยสูตรที่ ๙
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า [๔๑๖] ความพอใจในเมถุนธรรม ไม่ได้มีแก่เราเพราะได้เห็นนาง ตัณหานางอรดีและนางราคาเลย ความพอใจในเมถุนธรรม อย่างไรจักมีเพราะได้เห็นสรีระแห่งธิดาของท่านอันเต็มไปด้วย มูตรและคูถเล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระแห่งธิดาของ ท่านนั้นแม้ด้วยเท้า ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางแก้วเช่นนี้ ที่พระราชาผู้เป็น จอมนระเป็นอันมากทรงปรารถนากันแล้วไซร้ พระองค์ตรัส ทิฐิ ศีล พรต ชีวิต และการเข้าถึงภพของพระองค์เช่นไร หนอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ กิจที่เราวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฐิ ๖๒ แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวทิฐินี้ว่า ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเปล่า ดังนี้ ย่อม ไม่มีแก่เราและเราเห็นโทษในทิฐิทั้งหลายอยู่ ไม่ได้ยึดถือ ทิฐิอะไรๆ เมื่อค้นคว้าสัจจะทั้งหลาย ก็ได้เห็นนิพพาน กล่าวคือความสงบ ณ ภายใน ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ทิฐิเหล่าใด ที่สัตว์ทั้งหลายได้วินิจฉัยกำหนดไว้แล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์ไม่ได้ยึดถือทิฐิเหล่านั้นเลย ตรัส เนื้อความนี้ได้ว่า ความสงบ ณ ภายใน เนื้อความนั้นอัน นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ขอพระองค์จงตรัส บอกแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ เราไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น การฟัง การรู้ ทั้ง ด้วยศีลและพรต เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์เว้นจากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ก็บุคคลสละธรรม เป็นไปในฝ่ายดำมีทิฐิเป็นต้นเหล่านี้แล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยธรรมอะไรแล้วไม่พึงปรารถนาภพ ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ได้ยินว่า ถ้าพระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น การ ฟัง การรู้ ทั้งศีลและพรต พระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์ เว้นจากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ข้าพระองค์ย่อมสำคัญธรรมเป็นที่งงงวย ทีเดียวด้วยว่า ชน บางพวกยังเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ ก็ท่านอาศัยการเห็นถามอยู่บ่อยๆ ได้ถึงความหลงใหลไปใน ทิฐิที่ท่านยึดมั่นแล้ว และท่านก็ไม่ได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อย แต่ความสงบ ณ ภายในที่เรากล่าวแล้วนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงตั้งอยู่โดยความเป็นผู้หลง ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ หรือด้วยทิฐิว่า เราเป็นผู้เสมอเขาวิเศษกว่าเขา หรือเลวกว่า เขา ผู้นั้นพึงวิวาท เพราะมานะหรือทิฐินั้น ผู้ใดไม่หวั่นไหว ในการถือตัวว่า เสมอเขา วิเศษกว่าเขาดังนี้เป็นต้น ผู้นั้น ย่อมไม่มีการวิวาท บุคคลผู้มีมานะและทิฐิอันละได้แล้วนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ จะพึงกล่าวอะไรว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง หรือจะพึงวิวาทเพราะมานะหรือทิฐิอะไรว่า ของเราจริง ของ ท่านเท็จ อนึ่ง ความสำคัญว่าเสมอเขาหรือว่าไม่เสมอเขา ย่อมไม่มีในผู้ใด ผู้นั้นจะพึงโต้ตอบวาทะกับใครๆ มุนีละอาลัย ได้แล้ว ไม่ระลึกถึงอารมณ์เครื่องกำหนดหมาย ไม่กระทำ ความสนิทสนมในชาวบ้าน เป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย ไม่ ทำอัตภาพให้เกิดต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกับคน บุคคลผู้ประเสริฐ สงัดแล้วจากธรรมมีทิฐิเป็นต้นเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงถือเอาธรรมมีทิฐิเป็นต้นเหล่านั้นขึ้น กล่าว มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ติดอยู่ในกาม และในโลก เหมือนดอกปทุม มีก้านเป็นหนาม เกิดในน้ำ โคลนตม ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม ฉะนั้น บุคคลผู้ ถึงเวทคือมรรค ๔ เป็นผู้ไม่ดำเนินไปด้วยทิฐิ บุคคลนั้นไม่ กลับมาสู่มานะด้วยการทราบ อันต่างด้วยอารมณ์ มีรูปที่ได้ ทราบแล้วเป็นต้น บุคคลนั้นไม่เป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยตัณหา มานะ และทิฐินั้น บุคคลนั้น แม้กรรมและสุตะพึงนำไป ไม่ได้ บุคคลนั้นอันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมนำเข้าไปไม่ได้แล้ว ในนิเวศน์ คือ ตัณหาและทิฐิ กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว ความหลงทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใดยึด ถือกามสัญญาและทิฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกัน เที่ยวไปอยู่ในโลก ฯ
จบมาคันทิยสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๒๒๒-๑๐๒๘๙ หน้าที่ ๔๔๓-๔๔๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10222&Z=10289&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=416&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=416&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=416&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=416&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=416              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]