บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
๙. วิสาลักขิวิมาน ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวิสาลักขิวิมาน สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสถามนางสุนันทาเทพธิดาว่า [๓๗] ดูกรแม่เทพธิดาผู้มีนัยน์ตางาม เธอชื่อไร ได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงได้มีหมู่ นางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารเดินวนเวียนอยู่รอบๆ ในสวนจิตรลดาอันน่า รื่นรมย์ ในคราวที่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ล้วนแต่ขึ้นม้า ขึ้นรถ ตบแต่งร่างกายวิจิตรงดงาม เข้าไปยังสวนนั้นแล้ว จึงมาในที่นี้ แต่เมื่อ เธอพอมาถึงในที่นี้ กำลังเที่ยวชมสวน รัศมีก็สว่างไสวไปทั่วจิตรลดาวัน โอภาสของสวนมิได้ปรากฏ รัศมีของท่านมาข่มเสีย ดูกรแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางสุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่เก่าก่อน รูป อันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพของหม่อมฉัน ย่อมมีได้ด้วยกรรม อันใด ขอพระองค์จงทรงสดับกรรมนั้น หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่า สุนันทาอยู่ในพระนครราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และ ศีล ยินดีในการจำแนกทานทุกเมื่อ คือหม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีป ในภิกษุ ทั้งหลายผู้เที่ยงตรง ทั้งได้รักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอด ปฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมอยู่ในศีลเป็นนิตย์ หม่อมฉันยินดีแล้วใน สิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจากปาณาติบาต จากความเป็นขโมย จากการประพฤตินอกใจ ระมัดระวังจากการพูดเท็จ และเว้นไกล จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้เรืองยศ บิดาของหม่อม ฉันใช้ให้หม่อมฉันนำดอกไม้มาทุกๆ วัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูป อันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคทุกๆ วัน ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีใจผ่องใส ได้ถือเอาพวงมาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้ ไปบูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือของตน ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมเทพ รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพเช่นนี้ เกิดมีแก่ หม่อมฉันเพราะกรรมนั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วย พวงมาลัย และที่หม่อมฉันได้รักษาศีล จะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้ ยังกลับ ให้หม่อมฉันพึงได้สกทาคามี ตามความปรารถนาของหม่อมฉันอีกด้วย.จบ วิสาลักขิวิมานที่ ๙ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑๓๓๔-๑๓๖๖ หน้าที่ ๕๓-๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=1334&Z=1366&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=37&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=37&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=37&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=37&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=37 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]