ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๔๔๓] 	สัตบุรุษทั้งหลายแม้ไม่หุงกินเอง ได้โภชนะมาแล้ว ย่อมปรารถนาจะให้
                          ท่านหุงโภชนะ ไว้มิใช่หรือ ไม่พึงให้โภชนะนั้น ไม่สมควรแก่ท่าน.
             [๑๔๔๔] 	บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่างคือ ความตระหนี่ ๑ ความประมาท
                          ๑ บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทานแท้.
             [๑๔๔๕] 	คนผู้ตระหนี่กลัวยากจน ย่อมไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวจน
                          นั่นแลจะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าว
                          อยากน้ำ ความกลัวนั้นแหละ จะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้
                          และโลกหน้า.
             [๑๔๔๖] 	เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดตระหนี่เสียแล้ว พึงให้
                          ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า.
             [๑๔๔๗] 	ทานผู้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำความตระหนี่ก่อน แล้วจึงให้ได้
                          อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำทานตามที่สัตบุรุษทำแล้ว ธรรมของ
                          สัตบุรุษอันคนอื่นรู้ได้ยาก.
             [๑๔๔๘] 	เพราะเหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษ กับอสัตบุรุษจึงต่างกัน
                          อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.
             [๑๔๔๙] 	บัณฑิตพวกหนึ่ง ย่อมให้ไทยธรรมแม้มีส่วนเล็กน้อยได้ สัตว์พวกหนึ่ง
                          แม้มีไทยธรรมมาก ก็ให้ไม่ได้ ทักขิณาทานที่บุคคลให้จากของเล็กน้อย
                          ก็นับว่าเสมอด้วยการให้จำนวนพัน.
             [๑๔๕๐] 	แม้ผู้ใดเที่ยวไปขออาหารมา ผู้นั้นชื่อว่า ประพฤติธรรม อนึ่ง บุคคล
                          ผู้เลี้ยงบุตรและภรรยาของตน เมื่อไทยธรรมมีน้อยก็เฉลี่ย ให้แก่สมณะ
                          และพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่า ประพฤติธรรม ยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์
                          มาบูชาแก่คนผู้ควรบูชาจำนวนพัน ยัญของคนเช่นนั้น ย่อมไม่ถึงแม้
                          เสี้ยวแห่งผลทาน ของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบให้อยู่.
             [๑๔๕๑] 	เพราะเหตุไร ยัญนี้ก็ไพบูลย์ มีค่ามาก จึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานของ
                          บุคคลที่ให้โดยชอบธรรมเล่า ไฉนยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชา แก่
                          แก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันๆ จึงไม่เท่าแม้ส่วนเสี้ยวแห่งผลทาน ของ
                          คนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรม ให้เกิดโดยชอบให้อยู่?
             [๑๔๕๒] 	เพราะว่า คนบางพวกตั้งอยู่ในกายกรรมเป็นต้น อันไม่เสมอกัน
                          ทำสัตว์ให้ลำบากบ้าง ฆ่าให้ตายบ้าง ทำให้เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้ทาน
                          ทักขิณาทานนั้น มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา พร้อมทั้งอาชญา จึงไม่เท่าถึง
                          ส่วนเสี้ยวแห่งผลทานที่บุคคลให้แล้วโดยชอบธรรม เพราะอย่างนี้
                          ยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชายัญ แก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันๆ จึงไม่
                          เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผลทาน ของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบ
                          ให้อยู่.
จบ พิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒.
๑๓. จักกวากชาดก
ว่าด้วยนกจักรพราก

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๘๔๗-๕๘๘๓ หน้าที่ ๒๖๗-๒๖๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5847&Z=5883&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1443&items=10&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1443&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1443&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1443&items=10&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1443              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]