ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๘๕๔] 	บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนา
                          อย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
             [๑๘๕๕] 	บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้
                          รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
             [๑๘๕๖] 	บุรุษพึงพยายามไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า
                          ปรารถนาอย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
             [๑๘๕๗] 	บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับ
                          ความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
             [๑๘๕๘] 	นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์ ก็ไม่ควรตัดความหวังในอันจะ
                          มาสู่ความสุข เพราะว่าผัสสะอันไม่เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่
                          ฝันถึงเลยก็ต้องเข้าถึงความตาย.
             [๑๘๕๙] 	สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ย่อมมีได้บ้าง สิ่งที่คิดไว้ย่อมพินาศไปบ้าง โภคะ
                          ทั้งหลายของสตรี หรือบุรุษ จะสำเร็จได้ด้วยความคิดนึกไม่มีเลย.
             [๑๘๖๐] 	เมื่อก่อนพระองค์เสด็จติดตามละมั่งตัวใดไปตกเหวที่ซอกเขา พระองค์
                          ทรงพระชนม์สืบมาได้ ด้วยความบากบั่นของละมั่งตัวนั้น ผู้มีจิตไม่
                          ท้อแท้.
             [๑๘๖๑] 	ละมั่งตัวใดพยายามเอาก้อนหินถมเหว ช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึกยาก
                          ที่จะขึ้น ปลดเปลื้องพระองค์ ผู้เข้าถึงกองทุกข์เสียจากปากมฤตยู
                          พระองค์กำลังตรัสถึงละมั่งตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้.
             [๑๘๖๒] 	ดูกรพราหมณ์ เมื่อคราวนั้น ท่านได้อยู่ในที่นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครได้
                          บอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่องได้ทั้ง
                          ปวงละสิหนอ ความรู้ของท่านมีกำลัง เห็นปรุโปร่งหรืออย่างไร?
             [๑๘๖๓] 	ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เมื่อคราวนั้น ข้าพระองค์หาได้อยู่
                          ในที่นั้นไม่ และใครก็มิได้บอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์เลย แต่ว่านัก
                          ปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่พระองค์ทรงภาษิตแล้ว
                          มาใคร่ครวญดู.
             [๑๘๖๔] 	ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาอันประเสริฐ พระองค์ทรงสอดลูกศรอันมี
                          ปีก อันจะกำจัดความแกล้วกล้าของปรปักษ์ได้เข้าในแล่งแล้ว จะทรง
                          ลังเลอะไรอยู่อีกเล่า ลูกศรที่ทรงยิงไปแล้วต้องฆ่าละมั่งได้ทันที ละมั่งนี้
                          คงเป็นพระกระยาหารของพระราชาได้โดยแท้.
             [๑๘๖๕] 	ดูกรพราหมณ์ แม้เราจะรู้แจ้งชัดความข้อนี้ว่า เนื้อเป็นอาหารของ
                          กษัตริย์ ก็แต่ว่า เราจะบูชาคุณที่ละมั่งนี้ได้ทำไว้แก่เรา ในครั้งก่อน
                          เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ฆ่าละมั่งนี้.
             [๑๘๖๖] 	ข้าแต่พระมหาราชาผู้เป็นใหญ่แห่งทิศ นั่นมิใช่เนื้อ นั่นคือท้าวสักกะ
                          ผู้เป็นใหญ่กว่าอสูร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ พระองค์จงทรงฆ่า
                          ท้าวสักกะเทวราชนั้นเสีย แล้วจะได้เป็นใหญ่ในหมู่อมรเทพ.
             [๑๘๖๗] 	ข้าแต่พระราชาผู้องอาจ ประเสริฐกว่านรชน ถ้าว่าพระองค์ยังทรงลังเล
                          ที่จะฆ่าละมั่งผู้เป็นพระสหาย พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส และ
                          พระราชชายา จักต้องไปยังเวตรณีนรกของพญายม.
             [๑๘๖๘] 	เรา ชาวชนบททั้งหมด ลูก เมียและหมู่สหาย จะพากันไปยังเวตรณีนรก
                          ของพญายมนั้นก็ตาม ถึงกระนั้น เราจะไม่ฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตเรา เป็น
                          อันขาด.
             [๑๘๖๙] 	ดูกรมหาพราหมณ์ ละมั่งตัวนี้ ทำคุณแก่เราเมื่อคราวถึงความยาก ตัว
                          คนเดียวในป่าเปลี่ยวแสนร้าย เราระลึกได้อยู่ถึงบุรพกิจเช่นนั้น ที่
                          ละมั่งตัวนี้กระทำแก่เรา รู้คุณอยู่จะพึงฆ่าอย่างไรได้เล่า.
             [๑๘๗๐] 	ขอพระองค์ผู้ทรงโปรดปรานมิตรยิ่งนัก จงทรงพระชนม์ชีพอยู่ยืนนาน
                          เถิด พระองค์จงทรงปกครองราชสมบัติในคุณธรรมเถิด จงทรงมีหมู่
                          นารีบำรุงบำเรอ จงทรงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น เหมือนท้าว
                          วาสวะบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ ฉะนั้น.
             [๑๘๗๑] 	ขอพระองค์ไม่ทรงพระพิโรธ จงมีพระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ทรง
                          กระทำสมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้งปวง ให้เป็นแขกควรต้อนรับ
                          ครั้นทรงบำเพ็ญทาน และเสวยบ้างตามอานุภาพแล้ว ชาวโลกไม่
                          ติเตียนพระองค์ได้ จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด.
จบ สรภชาดกที่ ๑๐.
-----------------------------------------------------
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพชาดก ๒. ผันทนชาดก ๓. ชวนหังสชาดก ๔. จุลลนารทกัสสปชาดก ๕. ทูตชาดก ๖. กาลิงคโพธิชาดก ๗. อกิตติชาดก ๘. ตักการิยชาดก ๙. รุรุมิคชาดก ๑๐. สรภชาดก.
จบ เตรสนิบาตชาดก
-----------------------------------------------------
ปกิณณกนิบาตชาดก
๑. สาลิเกทารชาดก
ว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๗๑๕๙-๗๒๒๔ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=7159&Z=7224&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1854&items=18&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1854&items=18              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1854&items=18&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1854&items=18&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1854              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]