บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
๒. อุมมาทันตีชาดก เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา [๒๐] ดูกรนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใครหนอล้อมด้วยกำแพงสีเหลือง ใคร หนอปรากฏอยู่ในที่ไกล เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาส และ เหมือนเปลวไฟบนยอดภูเขา ฉะนั้น ดูกรนายสุนันทสารถี หญิงคนนี้ เป็นธิดาของใครหนอ เป็นลูกสะใภ้หรือเป็นภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวง แหนหรือผัวของนางมีหรือไม่ เราถามแล้วขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว. [๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็ข้าพระองค์ย่อมรู้จักหญิงนั้นพร้อม ทั้งมารดา บิดา และสามีของนาง ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็น ผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของพระองค์ทั้งกลางคืนกลางวัน สามีของนาง เป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางและมั่งคั่ง ทั้งเป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ ข้าแต่พระราชา หญิงนั้นเป็นภรรยาของอภิปารกเสนาบดี มีชื่อว่าอุมมา- ทันตี พระเจ้าข้า. [๒๒] ดูกรท่านผู้เจริญๆ ชื่อที่มารดาและบิดาตั้งให้หญิงนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดี จริงอย่างนั้นเมื่อนางมองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหลคล้ายคนบ้า. [๒๓] ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชะม้ายคล้ายเนื้อทราย ร่างกายมีสีเหมือน ดอกปุณฑริกนั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่าพระจันทร์ขึ้นสองดวง คราวใด นางมี หน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้าประโลมอยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชะม้อย ชะม้ายชำเลืองดูเรา ดังจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนาง กินนรเกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น ก็คราวนั้นนางผู้พริ้งเพรา มีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้านุ่งผ้าห่มท่อนเดียวชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อ ทรายมองดูนายพราน ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีเล็บแดง มีขนงาม มี แขนนุ่มนิ่มลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือกลมเกลี้ยง มีกระบวนชดช้อย งามตั้งแต่ศีรษะจักได้ยั่วยวนเรา เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติรีวัจฉะ ผู้มีทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลมจักกอดรัดเราด้วยแขนทั้ง สองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทรายรวบรัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดังฟองน้ำ มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่งดังดอกปุณฑริก จักจรดปากด้วยปาก กะเรา เหมือนดังนักเลงสุราจรดจอกสุราให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น ใน กาลใด เราได้เห็นนางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่ ในกาล นั้น เราไม่รู้สึกอะไรๆ แก่จิตของตนเลย เราได้เห็นนางอุมมาทันตีผู้ สวมสอดกุณฑลมณีแล้ว นอนไม่หลับทั้งกลางวันและกลางคืน เหมือน แพ้ข้าศึกมาตั้งพันครั้ง ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา ขอให้เรา พึงได้พรนั้นเถิด อภิปารกเสนาบดีพึงรื่นรมย์อยู่กับนางอุมมาทันตีคืน หนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้นพระเจ้าสีวิราชพึงได้รื่นรมย์บ้าง. [๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี เมื่อข้าพระองค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่ เทวดามาบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัยของพระราชาใฝ่ฝันใน นางอุมมาทันตี ข้าพระองค์ขอถวายนางแด่พระองค์ ขอพระองค์จงให้ นางบำเรอเถิด ฯ [๒๕] ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็นเทวดา อนึ่ง คนพึงรู้ความชั่วของ เรานี้ และเมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยาที่รักแล้วไม่เห็นนาง ความ แค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน. [๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ประชาชนแม้ทั้งสิ้นนอกจากข้าพระ บาทและพระองค์ ไม่พึงรู้กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาทยอมถวายนาง อุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหฤทัย ปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย. [๒๗] มนุษย์ใดผู้กระทำกรรมอันลามก มนุษย์นั้นย่อมสำคัญว่าคนอื่นไม่รู้การ กระทำนี้ เพราะว่านรชนเหล่าใดประกอบแล้วบนพื้นปฐพี นรชน เหล่านั้นย่อมเห็นการกระทำนี้ คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลกพึงเชื่อ ท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา เมื่อท่านให้นางอุมมา- ทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้าย แรงจะพึงมีแก่ท่าน. [๒๘] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดย แท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความ เจริญจงมีแด่พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตีเถิด เหมือน ดังราชสีห์เข้าสู่ถ้ำสิลา ฉะนั้น. [๒๙] นักปราชญ์ทั้งหลายถูกความทุกข์ของตนบีบคั้นแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่มี ผลเป็นสุข แม้จะเป็นผู้หลงมัวเมาด้วยความสุข ก็ย่อมไม่ประพฤติบาป กรรม. [๓๐] ก็พระองค์เป็นทั้งพระมารดาพระบิดา เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นเจ้านาย เป็น ผู้พอกเลี้ยง และเป็นเทวดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตร และภรรยาเป็นทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความ สุขเถิด. [๓๑] ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำ แล้วก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาว เพราะกรรมนั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้นด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม. [๓๒] ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทานที่เป็นของผู้อื่นอันเจ้าของมอบให้ แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้รับด้วย เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้อย ได้ชื่อว่าทำ กรรมอันมีผลเป็นสุขในเพราะทานนั้นแท้จริง. [๓๓] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตี ไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่ เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน. [๓๔] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาท โดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์ อยู่กับนางเต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย. [๓๕] ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วยทุกข์ของตน หรือก่อความสุขของตนด้วย ความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานี้ก็ เหมือนของผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม ฯ [๓๖] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่านหรือว่านางอุมมาทันตี ไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็น นางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน [๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์ย่อมทรงทราบว่า นางอุมมาทันตี นี้เป็นที่รักของข้าพระบาท ข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รัก ของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รักแก่พระองค์ ด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก. [๓๘] เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้ เราไม่อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรม ได้เลย. [๓๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ ไม่ต้องพระประสงค์นางอุมมาทันตี ผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาท จะสละนางในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงรับสั่งให้นำนางผู้พ้นจาก ข้าพระบาทแล้วมาจากที่นั้นเถิด พระเจ้าข้า. [๔๐] ดูกรอภิปารกเสนาบดีผู้กระทำประโยชน์ ถ้าท่านจะสละนางอุมมาทันตี ผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความค่อนว่า อย่างใหญ่หลวงจะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม้การใส่ร้ายในพระนครก็จะพึง มีแก่ท่าน. [๔๑] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอดกลั้นความค่อนว่าคำนินทา คำ สรรเสริญ และคำติเตียนทั้งหมด ความค่อนว่าเป็นต้นนั้นจงตกอยู่แก่ข้า พระบาท ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตาม ความสำราญเถิด ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา ความสรรเสริญ ความ ติเตียน และแม้การบูชา สิริและปัญญาย่อมปราศไปจากผู้นั้น เหมือน ดังน้ำฝนปราศไปจากดอน ฉะนั้น ข้าพระบาทจักยอมรับความทุกข์ความ สุข สิ่งที่ล่วงธรรมดาและความคับแค้นใจทั้งหมดเพราะเหตุแห่งการสละ นี้ด้วยอก เหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคงและคนสะดุ้ง ฉะนั้น. [๔๒] เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความคับแค้นใจและความทุกข์ของชน เหล่าอื่น เราแม้ผู้เดียวจักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่ยังประโยชน์หน่อย หนึ่งให้เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป. [๔๓] ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้เข้าถึงสวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรง ทำอันตรายแก่ข้าพระบาทเสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใสขอถวายนาง อุมมาทันตีแด่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทานทรัพย์สำหรับบูชายัญ แก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น. [๔๔] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตี และท่านเป็นสหายของเรา เทวดาและพรหมทั้งหมดเห็นความชั่วอันเป็น ไปในภายหน้า พึงติเตียนได้ [๔๕] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหมด ไม่พึงคัดค้าน กรรมอันเป็นธรรมนั้นเลย ข้าพระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จงทรง สลัดเสีย. [๔๖] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและ ท่านเป็นสหายของเรา ธรรมของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะละ ได้ เหมือนเขตแดนของสมุทรฉะนั้น. [๔๗] ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของคำนับของข้าพระองค์ เป็นผู้หวัง ประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษา ความปรารถนาไว้ ยัญที่บูชาในพระองค์ย่อมมีผลมาก ขอพระองค์ทรง รับนางอุมมาทันตีตามความปรารถนาของข้าพระองค์เถิด. [๔๘] ดูกรอภิปรารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระทำประโยชน์ ท่านได้ ประพฤติแล้วซึ่งธรรมทั้งปวงแก่เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่นใคร เล่าหนอจักเป็นผู้กระทำความสวัสดีในเวลาอรุณขึ้น ในชีวโลกนี้. [๔๙] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้เยี่ยม พระองค์ทรงดำเนินโดยธรรม ทรง รู้แจ้งธรรม มีพระปัญญาดี ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้วจงทรง พระชนม์ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอพระองค์โปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด. [๕๐] ดูกรอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำของเราเถิด เราจักแสดงธรรมที่ สัตบุรุษซ่องเสพแก่ท่าน พระราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มี ความรู้รอบจึงจะดีงาม ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การไม่ กระทำบาปเป็นสุข มนุษย์ทั้งหลายพึงอยู่เป็นสุข ในแว่นแคว้นของพระ ราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้งอยู่ในธรรม เหมือนเรือนของตนอันมีร่ม เงาเย็นฉะนั้น เราย่อมไม่ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณาอันเป็น กรรมไม่ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใดทรงทราบแล้วไม่ทรงทำเอง เรา ชอบใจกรรมของพระราชาเหล่านั้น ขอท่านจงฟังอุปมาของเราต่อไปนี้ ถ้า เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำฝูงว่ายไปคด โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไป คด ในเมื่อโคนำฝูงว่ายคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่อง ว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมจะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชน นอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม เมื่อฝูงโคว่ายข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไป ตรง ในเมื่อโคนำฝูงว่ายไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึง ประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงตั้งอยู่ใน ธรรม ดูกรอภิปารกเสนาบดี เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความเป็นเทวดา และเพื่อครอบครองแผ่นดินทั้งหมดนี้ โดยอธรรม รัตนะอย่างใดอย่าง หนึ่งคือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เทศ มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ ประพฤติผิดธรรมเพราะความปรารถนารัตนะเหล่านั้น บุคคลไม่พึงประ พฤติผิดธรรมเพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เป็นต้นว่า ม้า หญิง แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่ เราเป็นผู้องอาจ เกิดใน ท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย ฉะนั้น เราจะไม่ประพฤติผิดธรรมเพราะ เหตุแห่งสมบัตินั้น เราจะเป็นผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้เฟื่องฟูปกครอง แว่นแคว้น จักเป็นผู้เคารพธรรม ของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่ง ธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตน [๕๑] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติธรรมอันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็นนิจแน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยืน นาน เพราะพระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น พระองค์ไม่ทรงประมาท ธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรมนั้นของพระองค์ กษัตริย์ผู้เป็น อิสระทรงประมาทธรรมแล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ ข้าแต่พระมหากษัตริย์ ขัตติยราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและพระชนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์จงทรง ประพฤติธรรมในพระราชบุตรและพระมเหสี ครั้นทรงประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในมิตร และอำมาตย์ ... ในราชพาหนะและทะแกล้วทหาร ... ในบ้านและนิคม ... ในแว่นแคว้นและชนบท ... ในสมณะและพราหมณ์ ... ในเนื้อและนก ทั้งหลาย ... ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมเถิด เพราะว่าธรรม ที่ประพฤติแล้วย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลก นี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง ประพฤติธรรมเถิด ด้วยว่าพระอินทร์ เทวดา พร้อมทั้งพรหม เป็นผู้ ถึงทิพยสถานเพราะธรรมที่ประพฤติแล้ว ข้าแต่พระราชา พระองค์อย่า ทรงประมาทธรรมเลย.จบ อุมมาทันตีชาดกที่ ๒ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๑๔๑-๓๒๐ หน้าที่ ๖-๑๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=141&Z=320&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=28&item=20&items=32 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=28&item=20&items=32&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=28&item=20&items=32 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=28&item=20&items=32 ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=20 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_28 https://84000.org/tipitaka/english/?index_28
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]