ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
[๗๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงดู คนที่ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.
ว่าด้วยภัย ๒ เกิดจาก อาชญา ๓ อย่าง
[๗๘๙] ชื่อว่าอาชญา ในคำว่า ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ได้แก่อาชญา ๓ อย่าง คือ อาชญาทางกาย ๑ อาชญาทางวาจา ๑ อาชญาทางใจ ๑. กายทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางกาย วจีทุจริต ๔ ชื่อว่าอาชญาทางวาจา มโนทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางใจ. ชื่อว่าภัย คือ ภัย ๒ อย่าง ได้แก่ภัยมีในชาตินี้ ๑ ภัยมีในชาติหน้า ๑. ภัยมีในชาตินี้เป็นไฉน? บุคคลบางคนใน โลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นทุกหลังคาเรือนบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิง อยู่ที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาแห่งชายอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง. พวกราชบุรุษจับคนผู้นั้นได้แล้ว ทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว พระองค์จงลงอาชญาที่ทรงพระ ประสงค์แก่บุรุษนี้เถิด. พระราชาก็ทรงตวาดบริภาษคนผู้นั้น. คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้ เพราะเหตุที่ถูกบริภาษ. ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัย แม้ด้วยการบริภาษ เท่านี้ ย่อมรับสั่งให้จองจำคนนั้นด้วยเครื่องจองจำ คือขื่อคาบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเชือกบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือหวายบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือการควบคุมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเครื่องล้อมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือบ้าน บ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือนครบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือแว่นแคว้นบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือชน บทบ้าง โดยที่สุดทรงบังคับว่า มันจะหนีจากสถานเป็นที่จำนี้ไปไม่ได้. คนนั้นต้องเสวยทุกข์ โทมนัสแม้เพราะเหตุการจองจำนั้น. ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้น เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัย แม้ด้วยการจองจำนั้น ย่อมรับสั่งให้ริบทรัพย์ของคนนั้นร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่ง บ้าง. คนนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งความเสื่อมทรัพย์. ทุกข์โทมนัสนั้น เป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่ อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยการริบทรัพย์เท่านั้น ย่อมรับสั่งให้ทำกรรมกรณ์ ต่างๆ กะคนนั้น คือ ให้เฆี่ยนด้วย แส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ให้ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ให้ตัดใบหูบ้าง ให้ตัดจมูกบ้าง ให้ตัดทั้ง ใบหูทั้งจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์ บ้าง ใส่ไฟลุกโพลงเข้าไปในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัวด้วยผ้าชุบ น้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พันมือด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟให้ลุกเหมือนประทีปบ้าง ถลกหนัง ตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้าลากให้เดินเหยียบหนังนั้นจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงบั้นเอว ทำให้เป็นดั่งนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก ๔ ทิศตั้งไว้เผาไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ ดัง เหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือแต่กระดูกบ้าง แทงหลาวเหล็กที่ช่องหูจนทะลุ ถึงกันเสียบติดดินแล้วจับหมุนไปโดยรอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่ กองเนื้อดังตั่งใบไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินทั้งเป็นจนเหลือแต่กระดูก บ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง. คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัส แม้ เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์. ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา ๔ อย่างเหล่านี้. คนนั้นเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมของ ตน. พวกนายนิรยบาลย่อมให้ทำกรรมกรณ์อันมีเครื่องจำ ๕ กะสัตว์นั้น คือ (ให้สัตว์นั้นนอน หงายแล้ว) เอาหลาวเหล็กแดงตรึงไว้ที่มือขวา ๑ ที่มือซ้าย ๑ ที่เท้าขวา ๑ ที่เท้าซ้าย ๑ ที่ ท่ามกลางอก ๑. สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอด เวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น. ทุกข์และโทมนัสนั้นเป็นภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด เกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พวกนายนิรยบาลให้สัตว์นั้นนอนลง แล้วเอาผึ่กถาก สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอด เวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น. พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบน เอาหัวห้อยลงข้าง ล่างแล้วเอามีดถากเทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถแล้ว ให้วิ่งไปข้างหน้าบ้าง ให้วิ่งกลับมาข้างหลังบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลไล่ต้อนให้สัตว์นั้น ขึ้นบนภูเขา ถ่านเพลิงใหญ่ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขานั้นบ้าง ฯลฯ พวกนายนิรย- *บาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบน เอาหัวห้อยลงข้างล่าง แล้วเหวี่ยงลงไปในหม้อเหล็กอันร้อน ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลง. สัตว์นั้นเดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด เมื่อเดือด พล่านอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน บางครั้งก็เดือด พล่านไปข้างล่าง บางครั้งก็เดือดพล่านไปทางขวาง. สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรง อยู่ในหม้อเหล็กนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น. ทุกข์และโทมนัสเป็น ภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญา ของตน. พวกนายนิรยบาลโยนสัตว์นั้นลงไปในมหานรก
ว่าด้วยมหานรก
ก็แหละมหานรกนั้น มีมุมสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูสี่ช่องซึ่งจำแนกนับ ออกโดยส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ มีแผ่นเหล็กครอบไว้. มหานรก นั้นมีภาคพื้นสำเร็จด้วยเหล็ก มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยไฟร้อน แผ่ไปร้อยโยชน์โดยรอบตั้งอยู่ตลอดกาลทั้งปวง มหานรกอันเป็นที่น่า สยดสยองเผาพลาญสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มีเปลวไฟ แสนยากที่จะเข้า ใกล้ น่าขนลุกขนพอง น่ากลัว ให้เกิดภัย ให้เกิดทุกข์. กองเปลวไฟ ตั้งขึ้นแต่ฝาด้านตะวันออกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไป กระทบฝาด้านตะวันตก. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านตะวันตกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านตะวันออก. กอง เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านเหนือแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่าน ไปกระทบฝาด้านใต้. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้แล้ว แผดเผาเหล่า สัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านเหนือ. กองเปลวไฟที่น่ากลัว ตั้งขึ้นแต่ภาคพื้นข้างล่างแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไป กระทบฝาปิดข้างบน. กองเปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ฝาปิดข้างบนแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบภาคพื้นข้างล่าง. แผ่น เหล็กที่ไฟติดทั่วร้อนอยู่เสมอ มีไฟลุกรุ่งโรจน์ ฉันใด อเวจีนรกข้างล่าง ข้างบน และโดยรอบ ก็ฉันนั้น. สัตว์ทั้งหลายในนรกนั้น มีกรรม หยาบมาก ทำกรรมร้ายแรงมาก มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว ย่อมหมก ไหม้อยู่ แต่ไม่ตาย. ร่างกายของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้น เหมือนไฟ ที่ลุกอยู่ เชิญดูความมั่นคงของกรรม เถ้าและเขม่ามิได้มีเลย. เหล่าสัตว์ วิ่งไปข้างตะวันออกแล้วก็วิ่งย้อนกลับมาข้างตะวันตก วิ่งไปข้างเหนือ แล้วก็วิ่งย้อนกลับมาข้างใต้. วิ่งไปทิศใดๆ ประตูทิศนั้นๆ ก็ปิดเอง สัตว์เหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออกเป็นผู้แสวงหาประตูที่จะออก. สัตว์ เหล่านั้นไม่ได้เพื่อจะออกไปจากนรกนั้น เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย เพราะบาปกรรมที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น ดังนี้. ทุกข์และโทมนัสนั้นเป็นภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร? ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. ทุกข์ที่มี ในนรกก็ดี ทุกข์ที่มีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์ที่มีในเปรตวิสัยก็ดี ทุกข์ที่มีในมนุษย์ก็ดี ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิด เฉพาะ ปรากฏแต่อะไรๆ ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บัง เกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภัยเกิดแต่ อาชญาของตน. [๗๙๐] คำว่า คน ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน คือ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า ที่ทุ่มเถียงกัน ความว่า ท่านทั้งหลายจงดู แลดู เหลียวดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งคนที่ทุ่มเถียงกัน คือ คนที่ทะเลาะกัน คนที่ทำร้ายกัน คนที่ทำร้ายตอบกัน คนที่เคืองกัน คนที่เคืองตอบกัน คนที่ปองร้ายกัน คนที่ ปองร้ายตอบกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน. [๗๙๑] คำว่า เราจักแสดงความสังเวช ความว่า เราจักแสดง ชี้แจงบอก เล่า บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ ซึ่งความสังเวช คือ ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความกลัว ความบีบคั้น ความกระทบ ความเบียดเบียน ความขัดข้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักแสดงความสังเวช. [๗๙๒] คำว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว ความว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว คือ สะดุ้ง ถึงความหวาดเสียวมาแล้วด้วยตนทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตามที่เราได้สังเวช มาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกันเราจักแสดง ความสังเวช ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว. [๗๙๓] ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะเห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน.
ว่าด้วยทุกข์ต่างๆ
[๗๙๔] คำว่า ปชา ในคำว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เป็นชื่อของสัตว์ ซึ่งหมู่ สัตว์ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียงกระสับกระส่ายไปมา ด้วยความ ดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรน เพราะทุจริต ด้วยความดิ้นรนเพราะประโยค ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยราคะของผู้ กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลง ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิ เป็นเครื่องถือมั่น ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึง กำลัง ด้วยลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ทุกข์อันมีในนรก ทุกข์อัน มีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์อันมีในเปรตวิสัย ทุกข์อันมีในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิดในครรภ์ เป็นมูล ทุกข์มีความอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์อันติดตาม สัตว์ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นของสัตว์ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ทุกข์อันเนื่องแต่ทุกขเวทนา ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรค ในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค มองคร่อ โรคลมบ้าหมู่ โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรค อาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็น สมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธ เกิดเพราะฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดเพราะความเพียร เกินกำลัง อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ด้วยความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแก่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่หญิงน้อง หญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะญาติตาย ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่ง โภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ. คำว่า เพราะเห็น คือ เพราะประสบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่. [๗๙๕] คำว่า เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย ความว่า ปลาทั้งหลายอันกา นกตะกรุม นกยาง จิกเฉี่ยวฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อมดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่ในที่มีน้ำน้อย คือ ในที่มีน้ำเล็กน้อย ในที่มีน้ำจะแห้งไป ฉันใด หมู่สัตว์ย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วย ความดิ้นรนเพราะตัณหา ฯลฯ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย. [๗๙๖] คำว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ทำร้ายกัน ทำร้ายตอบกัน เคืองกัน เคืองตอบกัน ปองร้ายกัน ปองร้ายตอบกัน คือ แม้พวกพระราชาก็วิวาท กับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดา ก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้พี่น้องหญิงก็วิวาท กับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหาย ก็วิวาทกับสหาย. สัตว์เหล่านั้นถึงความทะเลาะ ความแก่งแย่ง และความวิวาทกัน ในเพราะการ ทำร้ายกันและกันนั้น ย่อมประทุษร้ายกันแลกันด้วยมือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาตราบ้าง. สัตว์เหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ย่อมถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะความประทุษ ร้ายกันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน. [๗๙๗] คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นความว่า ภัย คือ ความเบียดเบียน ความกระทบกระทั่ง อุบาทว์ อุปสรรค เข้ามาถึงเราเพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้วเพราะเห็น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะเห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน. [๗๙๘] โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศ ทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ.
ว่าด้วยโลก
[๗๙๙] คำว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร ความว่า โลกนรก โลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งโลก พรหม ทั้งโลกเทวดา นี้ชื่อว่าโลก. โลกนรก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็น สภาพเที่ยง โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความเป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความเป็นธรรมไม่มี ความแปรปรวน. โลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นสภาพเที่ยง โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความเป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความ เป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน. ต้นอ้อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นละหุ่งไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นมะเดื่อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นทองหลางไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร ฉันใด ต่อมฟองน้ำไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด พยับแดด ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นกล้วยไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด กลไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด โลกนรก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลก ไม่เป็น แก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง ... หรือโดยความเป็น ธรรมไม่มีความแปรปรวน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร.
ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง
[๘๐๐] คำว่าสังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง ความว่า สังขารทั้งหลาย ในทิศตะวันออก แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นสภาพ ไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอันชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกอง ทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง. สังขารทั้งหลายในทิศ ตะวันออก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศ เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในสิบทิศ แม้สังขารเหล่านั้น หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นของไม่เที่ยง จึงเป็นสภาพอันชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง. สมจริงตาม ภาษิตนี้ว่า ก็วิมานนี้ สว่างรุ่งเรืองอยู่ในทิศอุดรแม้โดยแท้ แต่บัณฑิตเห็นความชั่ว (โทษ) ในรูปแล้ว หวั่นไหวทุกเมื่อ เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีปัญญาดีย่อม ไม่ยินดีในรูป โลกอันมัจจุกำจัด อันชราห้อมล้อม ถูกลูกศร คือ ตัณหา แทงติดอยู่ลุกเป็นควันเพราะความปรารถนาทุกเมื่อ โลกทั้งปวงอันไฟ ติดทั่ว โลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกสว่าง โลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกรุ่งโรจน์ โลกทั้งปวงหวั่นไหว. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง. [๘๐๑] คำว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ความว่า เมื่อเราปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งความเจริญ คือ ที่ป้องกัน ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง ที่ดำเนิน ที่ก้าวหน้า เพื่อตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน. [๘๐๒] คำว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ ความว่า เราไม่ได้เห็น ซึ่งฐานะอะไร อันไม่ถูกครอบงำ คือ ได้เห็นฐานะทั้งปวงถูกครอบงำทั้งนั้น ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งปวงถูกชราครอบงำ ความเป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ ความสรรเสริญทั้งปวง ถูกความนินทาครอบงำ สุขทั้งปวงถูกทุกข์ครอบงำ. สมจริงดังภาษิตว่า ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศ ทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ. [๘๐๓] เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี อนึ่ง เรา ได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ในสัตว์ทั้งหลายนั้น. [๘๐๔] คำว่า ที่สิ้นสุด ในคำว่า ที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น ความว่า ชรายังความเป็น หนุ่มสาวทั้งปวงให้สิ้นสุดไป พยาธิยังความเป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงให้สิ้นสุดไป มรณะยังชีวิต ทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความเสื่อมลาภยังลาภทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความนินทายังความสรรเสริญ ทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ทุกข์ยังสุขทั้งปวงให้สิ้นสุดไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุด. คำว่า ที่สกัดกั้น ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว ถูกชราสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลาย ผู้ปรารถนาความไม่มีโรค ถูกพยาธิสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาชีวิต ถูกมรณะสกัด กั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาลาภ ถูกความเสื่อมลาภสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนายศ ถูกความเสื่อมยศสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสรรเสริญ ถูกความนินทาสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสุข ถูกความทุกข์สกัดกั้นไว้ คือ ปิดไว้ มากระทบ มากระทบ เฉพาะ ทำลาย ทำลายเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น. [๘๐๕] คำว่า เพราะได้เห็น ในคำว่า เพราะได้เห็น ... เราจึงได้มีความไม่ยินดี ความว่า เพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น. คำว่า เราจึงได้มีความไม่ยินดี ความว่า ความไม่ยินดี ความ ไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความระอา ความเบื่อ ได้มีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ ได้เห็น ... เราจึงได้มีความไม่ยินดี. [๘๐๖] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร ... ใน สัตว์ทั้งหลายนั้น เป็น บทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อถ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่าในนั้น เพ่งความว่า ในสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าลูกศร ได้แก่ลูกศร ๗ ประการ คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือความสงสัย. คำว่า เราได้เห็นแล้ว ความว่า ได้ประสบ ได้พบ ได้เห็น แทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง เราได้เห็น ลูกศร ... ในสัตว์ทั้งหลายนั้น. [๘๐๗] คำว่า อันเห็นได้ยาก ในคำว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ความว่า เห็นได้ยาก ดูได้ยาก พบได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก แทงตลอดได้ยาก จิต ได้แก่จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณ- ขันธ์นั้น เรียกว่า หทัย ในคำว่า อันอาศัยหทัย. คำว่า อันอาศัยหทัย คือ อันอาศัยหทัย อาศัย จิต ร่วมอาศัยจิต ไปร่วม เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุตด้วยจิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี อนึ่ง เราได้ เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ในสัตว์ทั้งหลายนั้น. [๘๐๘] สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง เพราะถอน ลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม.
ว่าด้วยลูกศร ๗ ประการ
[๘๐๙] ชื่อว่าลูกศร ในคำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ ทั้งปวง ได้แก่ลูกศร ๗ ประการ คือลูกศรราคะ ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก ลูกศรความสงสัย. ลูกศรราคะเป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี ความชอบใจ ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความที่จิตกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรราคะ. ลูกศรโทสะเป็นไฉน? ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นได้ประพฤติความพินาศแก่เรา แล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นย่อมประพฤติความพินาศแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นจักประพฤติความพินาศแก่เรา ฯลฯ ความเป็นคนดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่ม ชื่นแห่งจิต นี้ชื่อว่าลูกศรโทสะ. ลูกศรโมหะเป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับ ทุกข์ ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้น ความไม่รู้ส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง ปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้ชอบ ความไม่แทงตลอด ความ ไม่ถือเหตุด้วยดี ความไม่หยั่งรู้เหตุ ความไม่เพ่งพินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความไม่ผ่องแผ้ว ความเป็นคนโง่ ความหลง ความหลงทั่ว ความหลงพร้อม อวิชชา อวิชชาโอฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาลังคี (ลิ่มคืออวิชชา) โมหะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่าลูกศรโมหะ. ลูกศรมานะเป็นไฉน? ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใฝ่สูงดุจธง นี้ชื่อว่าลูกศรมานะ. ลูกศรทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี วัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความ ดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริง อันใดเห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณ เท่าใด นี้ชื่อว่าลูกศรทิฏฐิ. ลูกศรความโศกเป็นไฉน? ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก ความโศกในภายใน ความตรอมเตรียมในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความแห้งผากในภายใน ความตรอมเตรียม แห่งจิต ความโทมนัสแห่งบุคคลที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่ง โภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีล กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่าง หนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง นี้ชื่อว่าลูกศรความโศก. ลูกศรความสงสัยเป็นไฉน? ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกขสมุทัย ความ สงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น ความ สงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรม ทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ความสงสัย กิริยาที่ สงสาร ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล ความเป็นสองทาง ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอน ความไม่ตกลงใจ ความไม่อาจตัดสิน ความไม่กำหนดถือเอาได้ ความที่จิต หวั่นไหวอยู่ ความติดขัดในใจ นี้ชื่อว่าลูกศรความสงสัย.
ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศร
[๘๑๐] คำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง ความว่า สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติดเสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์ บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดัก แย่งชิงที่ทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไปถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไป แม้อย่างนี้. อนึ่ง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทรด้วยเรือ ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานเบียดเบียน ถูกความหิวกระหาย เบียดเบียน ไปคุณพรัฐ ไปตักโกลรัฐ ไปตักกสิลรัฐ ไปกาลมุขรัฐ ไปมรณปารรัฐ ไปเวสุงครัฐ ไปเวราปถรัฐ ไปชวรัฐ ไปตัมพสิงครัฐ ไปวังกรัฐ ไปเอฬวัทธนรัฐ ไปสุวรรณกูฏรัฐ ไป สุวรรณภูมิรัฐ ไปตัมพปัณณิรัฐ ไปสุปปารรัฐ ไปภรุกรัฐ ไปสุรัทธรัฐ ไปอังคเณกรัฐ ไป คังคณรัฐ ไปปรมคังคณรัฐ ไปโยนรัฐ ไปปินกรัฐ ไปอัลลสัณฑรัฐ ไปมรุกันตารรัฐ เดินทาง ที่ต้องไปด้วยเข่า เดินทางที่ต้องไปด้วยแพะ เดินทางที่ต้องไปด้วยแกะ เดินทางที่ต้องโหนไปด้วย เชือกและหลัก เดินทางที่ต้องโดดลงด้วยร่มหนังแล้วจึงเดินไปได้ เดินทางที่ต้องไปด้วยพะอง ไม้ไผ่ เดินทางตามทางนก เดินทางตามทางหนู เดินทางตามซอกภูเขา เดินทางตามลำธารที่ต้อง ไต่ไปตามเส้นหวาย. เมื่อแสวงหาไม่ได้ ก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความไม่ได้เป็นมูล. เมื่อแสวงหา ได้ ครั้นได้แล้วก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความรักษาเป็นมูล ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พระราชาจึงจะไม่ริบทรัพย์ของเราไป พวกโจรจะไม่ลักไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดไป พวก ทายาทอัปรีย์ไม่เอาไปได้. เมื่อเขารักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ ทรัพย์เหล่านั้นย่อมวิบัติไป. เขาก็ เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีการพลัดพรากทรัพย์เป็นมูล. สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่านวงเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้. สัตว์อันลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง. สัตว์อันลูกศรมานะปักติดแล้วคือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้. สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมเป็นคนเปลือยกาย ไร้มรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่ หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขาเชื้อเชิญ เขา ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่ รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของ คน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูด นม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่ง สุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่ม สุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว บ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบ บ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็น ผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. สัตว์อันลูกศรทิฏฐิ ปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไปถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้. อนึ่ง สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือย เป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มี กำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่า เป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพ บ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนปีกนก เค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวด บ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะ (การนั่ง) บ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรใน การกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบน แผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมัก หมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบการขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้าม น้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ ประกอบความขวนขวายในการให้กายเดือดร้อน เร่าร้อนหลายอย่างเช่นนี้. สัตว์อันลูกศรทิฏฐิ ปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้. สัตว์อันลูกศรความโศกปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คา อยู่แล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิง คนหนึ่งมารดาตายไป. หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนน โน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม? ท่าน ทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้ นี่แหละ หญิงคนหนึ่งบิดาตาย ... พี่ชายน้องชายตายไป ... พี่หญิงน้อง หญิงตายไป ... บุตร ตายไป ... ธิดาตายไป ... สามีตายไป หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะสามีตาย จากถนนนี้ เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉัน บ้างไหม? ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉันบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนคร สาวัตถีนี้นี่แหละ บุรุษคนหนึ่งมารดาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็น มารดาฉันบ้างไหม? ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ บุรุษคนหนึ่งบิดาตายไป ... พี่ชายน้องชายตายไป ... พี่หญิงน้อง หญิงตายไป ... บุตรตายไป ... ธิดาตายไป ... ภรรยาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า จิตฟุ้งซ่านเพราะ ภรรยาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม? ท่านทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ เรื่อง เคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งไปสู่สกุลแห่งญาติ พวกญาติของหญิง นั้น ปรารถนาจะพรากสามีเสียแล้วยกหญิงนั้นให้แก่บุรุษอื่น. หญิงนั้นไม่พอใจบุรุษอื่นนั้น. ครั้งนั้นแหละ หญิงนั้นได้บอกกะสามีว่า ข้าแต่ท่านลูกเจ้า ญาติเหล่านี้ประสงค์จะพรากท่าน แล้วยกฉันให้บุรุษอื่น เราทั้ง ๒ จักพากันตาย. ในทันใดนั้น บุรุษก็ฟันหญิงนั้นขาดเป็น ๒ ท่อน แล้วก็ฆ่าตนเองพร้อมด้วยหวังว่า เราทั้ง ๒ จักมี (พบกัน) ในโลกหน้า. สัตว์อันลูกศรความ โศกปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้. สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงเป็นสองทางว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นแล้วหรือหนอ ๑- หรือเราไม่ได้เป็นแล้ว เราได้เป็นอะไรแล้วหรือหนอ เราได้เป็นแล้วอย่างไรหนอ เราได้เป็นอะไร @ ความสงสัย ๑๖ อย่าง คือ อดีตกาล ๕ อนาคตกาล ๕ ปัจจุบันกาล ๖ เรียกว่าโสฬสกังขา ฯ มาแล้วจึงเป็นอะไรต่อมาหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นหรือหนอ หรือเราจักไม่เป็น เราจัก เป็นอะไรหรือหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ เราจักเป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไรต่อไปอีกหนอ. ในปัจจุบันกาลบัดนี้ ก็มีความสงสัยอยู่ ณ ภายในว่า เราย่อมเป็นหรือหนอ หรือเราย่อมไม่เป็น เราย่อมเป็นอะไรหรือหนอ เราย่อมเป็นอย่างไรหนอ เราเป็นสัตว์มาแต่ไหนหนอ เราจักเป็นสัตว์ ไปเกิดที่ไหนหนอ. สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้. สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งให้ลูก ศรเหล่านั้นเกิด เมื่อปรุงแต่งให้ลูกศรเหล่านั้นเกิด ก็แล่นไปสู่ทิศตะวันออก แล่นไปสู่ทิศ ตะวันตก แล่นไปสู่ทิศเหนือ แล่นไปสู่ทิศใต้ ด้วยสามารถแห่งการปรุงแต่งให้ลูกศรเกิด. สัตว์เป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรเหล่านั้นไม่ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรไม่ได้ จึง แล่นไปในคติ แล่นไปในนรก แล่นไปในดิรัจฉานกำเนิด แล่นไปในเปรตวิสัย แล่นไปใน มนุษยโลก แล่นไปในเทวโลก ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปจากคตินี้สู่คติโน้น จากอุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น จากสงสารนี้สู่ สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป สู่ทิศทั้งปวง. [๘๑๑] คำว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม ความ ว่า สัตว์ถอน ถอด ชัก ดึง ฉุด กระชากออก ละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง ความไม่มี ซึ่งลูกศรราคะ ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความ โศก ลูกศรความสงสัยนั้นได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศตะวันออก ไม่แล่นไปสู่ทิศตะวันตก ไม่แล่นไปสู่ทิศเหนือ ไม่แล่นไปสู่ทิศใต้. สัตว์เป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรได้แล้วจึงไม่แล่นไปในคติ ไม่แล่นไปในนรก ไม่แล่นไปใน ดิรัจฉานกำเนิด ไม่แล่นไปในเปรตวิสัย ไม่แล่นไปในมนุษยโลก ไม่แล่นไปในเทวโลก ไม่ แล่นไป แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไป จากคตินี้สู่คติโน้น จากอุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่ สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป. คำว่า ย่อมไม่ล่มจม ความว่า ไม่ล่มจม ไม่จมพร้อม ไม่ล่มลง ไม่จมลง ไม่ตกลงไป ในกาม โอฆะ ในภวโอฆะ ในทิฏฐิโอฆะ ในอวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศร นั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง เพราะถอน ลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม. [๘๑๒] ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกาม ทั้งหลายโดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.
ว่าด้วยการศึกษาเพื่อได้กามคุณ
[๘๑๓] ชื่อว่าการศึกษา ในคำว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณ เป็นที่พัวพันโลก ได้แก่การศึกษาเรื่องช้าง การศึกษาเรื่องม้า การศึกษาเรื่องรถ การศึกษา เรื่องธนู ความเป็นหมอทางเสกเป่า ความเป็นหมอทางผ่าตัด ความเป็นหมอทางยา ความ เป็นหมอทางภูตผี ความเป็นหมอทางกุมาร. คำว่า ย่อมกล่าวถึง ความว่า กล่าวถึง พูดถึง เล่าถึง แสดงถึง แถลงถึง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกล่าวถึง คือ ย่อมเรียน เล่าเรียน ทรงจำ เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนด เพื่อได้เฉพาะซึ่งกามคุณเป็นที่พัวพัน. เบญจกามคุณ คือ ๑- รูป ที่รู้แจ้งด้วยจักขุ ที่น่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่ อันประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. เหตุไร เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณเป็นที่ พัวพัน. เทวดาและมนุษย์ ย่อมปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจกามคุณโดยมาก เหตุนั้น เบญจกามคุณจึงเรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก. [๘๑๔] คำว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือกามคุณเหล่านั้น ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น คือ พึงเป็นผู้ไม่น้อม ไม่โน้ม ไม่เอนโอน ไม่น้อมใจไปในการศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้น ไม่พึงเป็นผู้มีการ @(๑) นี่บาลีคงตกหายไป จึงมีแต่รูปคงจะมีเสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะด้วย ศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวาย ในการศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้น. [๘๑๕] คำว่า รู้ชัด ในคำว่า รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ความว่า แทง ตลอดแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า โดยประการทั้งปวง คือ ทั้งปวง โดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า โดยประการ ทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด โดยอุทานว่า กาม กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลส กาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ชัดกาม ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง. [๘๑๖] ชื่อว่า ศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาความดับของตน ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. คำว่า ความ ดับของตน ความว่า พึงศึกษาแม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความเข้าไปสงบวิเศษ เพื่อความดับ เพื่อความสละ คืน เพื่อความระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ของตน. เมื่อ นึกถึงสิกขา ๓ เหล่านี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงศึกษาความดับของตน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณ เป็นที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกาม ทั้งหลายโดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน. [๘๑๗] บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามก และความ หวงแหน. [๘๑๘] คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยสัจจวาจา ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ. คำว่า ไม่คะนอง ความว่า ความคะนองมี ๓ อย่าง คือ ความคะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความคะนองทางจิต. ความคะนอง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง.
ว่าด้วยความเป็นผู้มีมายา
[๘๑๙] ความประพฤติลวงเรียกว่ามายา ในคำว่า ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมตั้งความปรารถนาลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่าใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้ แล้วก็ กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้วก็บากบั่นด้วย กาย (เพื่อจะปกปิดความประพฤติชั่วของตน). ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่อง ปกปิด กิริยาที่ซ่อนความจริง กิริยาที่บังเกิดความผิด กิริยาที่ซ่อนความผิด กิริยาที่พรางความ ชั่ว กิริยาที่ปิดบังความชั่ว กิริยาที่ซ่อนความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่ คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่ามายา. มายานี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่มีมายา. ชื่อว่าคำ ส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากคำส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด ฯลฯ บุคคลมุ่งให้เขาแตกกันย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้. คำส่อเสียดนี้ อัน บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคล นั้น เรียกว่าผู้ปราศจากคำส่อเสียด คือ มีคำส่อเสียดปราศจากไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด. [๘๒๐] ข้อว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและความหวงแหน ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ไม่มีความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความ โกรธย่อมเกิดด้วยเหตุ ๑๐ อย่าง ฯลฯ ความโกรธนั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น เรียกว่าผู้ไม่มีความโกรธ. เพราะมุนี นั้นละความโกรธ กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งความโกรธแล้ว จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความโกรธ. ชื่อว่าความโลภ คือ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความตระหนี่ ๕ อย่าง เรียกว่าความหวงแหน ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความถือเอาไว้ เรียกว่าความตระหนี่. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. คำว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและความหวงแหน ความว่า มุนีได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งความโลภอันลามกและ ความหวงแหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและ ความหวงแหน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามก และความหวงแหน. [๘๒๑] นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วย ความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
[๘๒๒] ชื่อว่าความหลับ ในคำว่า พึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ คือ ความที่กายเป็นไข้ ความที่กายไม่ควรแก่การงาน อาการที่หยุด อาการที่พัก อาการที่พักผ่อน ณ ภายใน ความง่วง ความหลับ กิริยาที่โงกง่วง กิริยาที่หลับ ความเป็นผู้หลับ. ชื่อว่าความ เกียจคร้าน คือ ความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นผู้มีใจคร้าน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจ คร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ชื่อว่าความย่อท้อ คือ ความที่จิตเป็นไข้ ความที่จิตไม่ควรแก่ การงาน กิริยาที่หดหู่ กิริยาที่ย่นย่อ ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความที่จิตย่อท้อ ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ความที่จิตหดหู่. คำว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ความว่า นรชนพึงปราบปราม ครอบงำ กดขี่ กำจัด ย่ำยี ซึ่งความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ. [๘๒๓] ความประมาท ในคำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความกล่าวถึง ความ ปล่อย หรือความเพิ่มเติมซึ่งความปล่อยซึ่งจิตในเบญจกามคุณเพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโน ทุจริต หรือการไม่ทำความเอื้อเฟื้อ การไม่ทำความติดต่อ การทำความหยุดเนืองๆ ความประพฤติ ย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่หมั่นประกอบ ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้เรียกว่าความประมาท. คำว่า ไม่พึง อยู่ด้วยความประมาท ความว่า ไม่พึงร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความประมาท พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความประมาท พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท. [๘๒๔] ชื่อว่า ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น มีอธิบายว่า บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัว ดังว่าธงไชย ความประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ เรียกว่า ความดูหมิ่น. คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความดูหมิ่น พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น.
ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน
[๘๒๕] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักบิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่างใด อย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่ บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่ บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไป ในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจ น้อมไปในนิพพาน. อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อม จิตเข้าไปในอมตธาตะว่าธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่อง ร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อม ไปในนิพพาน. สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ แต่ บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มี ภพต่อไป โดยส่วนเดียว. บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุ แห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป แต่บัณฑิตเหล่านั้น ย่อม เจริญฌาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดย ส่วนเดียว. บัณฑิตเหล่านั้น มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน ย่อมให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพาน เป็นเบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเล ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วย ความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปใน นิพพาน. [๘๒๖] นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป พึงกำหนดรู้ มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน.
ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ ๓
[๘๒๗] มุสาวาท เรียกว่าความพูดเท็จ ในคำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ. บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุม อยู่ในประชุมชน อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลาง ข้าราชการ หรืออยู่ในราชสกุล เขาถูกนำไปถามเป็นพยานว่า บุรุผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า เห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุ ผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ. อีกอย่าง หนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อาการ ๔ อาการ ๕ อาการ ๖ อาการ ๗ อาการ ๘ ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ นี้. คำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ความว่า ไม่พึงดำเนิน ไม่พึงประกอบ ไม่พึงนำเข้าไปด้วยความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความ พูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงออกจากความ พูดเท็จ. [๘๒๘] ชื่อว่ารูป ในคำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป คือ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔. คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป ความว่า ไม่ควรทำความเสน่หา ไม่ควรทำความพอใจ ไม่ควรทำความรัก ไม่ควรทำความกำหนัดในรูป คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป.
ว่าด้วยมานะลักษณะต่างๆ
[๘๒๙] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ มานะอย่างหนึ่งได้แก่ความฟูขึ้น แห่งจิต. มานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในความยกตน ๑ มานะในความข่มผู้อื่น ๑ มานะ ๓ อย่าง ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑ มานะว่าเราเสมอเขา ๑ มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑. มานะ ๔ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑ ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑. มานะ ๕ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. มานะ ๖ อย่าง ได้แก่บุคคล ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ ให้มานะ เกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ ให้มานะเกิด เพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑. มานะ ๗ อย่าง ได้แก่ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวต่ำ ๑ ความ ถือตัวสูง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑. มานะ ๘ อย่าง ได้แก่บุคคลให้ความ ถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะ ยศ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิด เพราะทุกข์. มานะ ๙ อย่าง ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว. มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่าธงไชย มานะอันประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่ดังว่า ธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มานะ. คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา ญาตปริญญาเป็นไฉน? นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิตเป็นมานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯลฯ นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิด เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา. ตีรณปริญญา เป็นไฉน? นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? นรชน พิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมานะ นี้ชื่อว่าปหาน- *ปริญญา. คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำหนดรู้มานะ. [๘๓๐] ความประพฤติผลุนผลัน ในคำว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน เป็น ไฉน? ความประพฤติด้วยราคะแห่งคนผู้กำหนัด ความประพฤติด้วยโทสะแห่งคนผู้ขัดเคือง ความประพฤติด้วยโมหะแห่งคนผู้หลง ความประพฤติด้วยมานะแห่งคนที่มานะผูกพัน ความ ประพฤติด้วยทิฏฐิแห่งคนผู้ถือมั่น ความประพฤติด้วยอุทธัจจะแห่งคนผู้ถึงความฟุ้งซ่าน ความ ประพฤติด้วยวิจิกิจฉาแห่งคนผู้ถึงความไม่ตกลง ความประพฤติด้วยอนุสัยแห่งคนผู้ถึงโดยเรี่ยว- *แรง ชื่อว่าความประพฤติผลุนผลัน (แต่ละอย่าง) นี้ชื่อว่า ความประพฤติผลุนผลัน. คำว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน ความว่า นรชนพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความประพฤติผลุนผลัน พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึง- *ประพฤติ เที่ยวไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป พึงกำหนดรู้ มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน. [๘๓๑] ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่ เมื่อสังขาร เสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. [๘๓๒] คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงแล้ว เรียกว่า สังขารเก่า. บุคคลไม่ควรยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ ซึ่งสังขาร ทั้งหลายที่ล่วงแล้วด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความชอบใจ ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า. [๘๓๓] คำว่า ไม่พึงทำความชอบใจสังขารใหม่ ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญา เป็นปัจจุบัน เรียกว่า สังขารใหม่. ไม่ควรทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ในสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่. [๘๓๔] คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ความว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอกคร่ำครวญ ไม่พึงถึงความหลงใหล คือ เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอกคร่ำครวญ ไม่พึงถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก.
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
[๘๓๕] ตัณหา เรียกว่ากิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ในคำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่อง เกี่ยวข้อง ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. เหตุไรตัณหาจึงเรียกว่ากิเลส เครื่องเกี่ยวข้อง. บุคคลย่อมเกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เหตุนั้น ตัณหา นั้นจึงเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ความว่า บุคคลพึงไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เป็น ผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องตัณหา พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่ เมื่อสังขาร เสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. [๘๓๖] เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าวความว่องไว (อาชวะ) ว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด เปือกตม คือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก.
ว่าด้วยเรียกตัณหาว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่
[๘๓๗] ตัณหา เรียกว่าความกำหนัด ในคำว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็น ห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหา เรียกว่าห้วงน้ำ ใหญ่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าว ความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่. [๘๓๘] ตัณหา เรียกว่าความว่องไว ในคำว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาเรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความ ว่องไวว่า เป็นความปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวความว่องไวว่าเป็นความปรารถนา. [๘๓๙] ตัณหา เรียกว่าอารมณ์ ในคำว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาเรียกว่า ความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความ กำหนด
ว่าด้วยเปรียบกามเหมือนเปือกตม
[๘๔๐] คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ความว่า เปือกตมคือกาม หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความกังวลคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ก้าวล่วง ได้โดยยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นยาก ล่วงเลยได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด เปือนตมคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก. [๘๔๑] ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก ผู้นั้นสลัด สิ่งทั้งปวงแล้ว ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ. [๘๔๒] คำว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ ความว่า ไม่ก้าวล่วงจากสัจจวาจา ไม่ ก้าวล่วงจากสัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงจากอริยมรรคมีองค์ ๘. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ๑- ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ.
ว่าด้วยอมตนิพพานเรียกว่าบก
[๘๔๓] อมตนิพพาน เรียกว่าบก ในคำว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก ได้แก่ความ สงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับ ตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด. คำว่า พราหมณ์ ๒- ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก ความว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง อยู่บนบก คือตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่พึ่ง ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่ป้องกัน ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่พักพิง ตั้งอยู่ในธรรมเป็นสรณะ ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีภัย ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีความเคลื่อน ตั้งอยู่ในอมตะ ตั้งอยู่ในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก. [๘๔๔] คำว่า ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง. ฉันทราคะ ในอายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอัน ผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ @๑. ดูข้อ ๖๙๗. ๒. ดูข้อ ๖๘๑. ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว. ตัณหาก็ดี ทิฏฐิก็ดี มานะก็ดี เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดราก ขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่า อันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว. ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพอันผู้นั้น ละแล้ว ตัดราดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงเสียแล้ว. [๘๔๕] คำว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น เราย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่ง ทั้งปวงแล้ว ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ. [๘๔๖] ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ผู้นั้นอยู่ในโลกโดย ชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครในโลกนี้. [๘๔๗] คำว่า มีความรู้ ในคำว่า ผู้นั้นแลมีความรู้เป็นเวทคู ความว่า มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า เป็นเวทคู ความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า เวท ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง ล่วง เวทนาทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู. [๘๔๘] คำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้แล้ว คือ ทราบพิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย ความว่า ความอาศัย ๒ ประการ คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ผู้นั้นละความอาศัยด้วย ตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่เยื่อใย ไม่น้อม ใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตอันทำให้ปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย. [๘๔๙] คำว่า ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ความว่า ฉันทราคะในอายตนะภายในและภาย นอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเที่ยวไป อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ. ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพอันผู้นั้นละแล้ว ตัด รากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป อยู่ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นอยู่ในโลก โดยชอบ.
ว่าด้วยตัณหาเรียกว่าความใฝ่ฝัน
[๘๕๐] คำว่า ย่อมไม่ฝันต่อใครๆ ในโลกนี้ ความว่า ตัณหาเรียกว่า ความใฝ่ฝัน ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาอันเป็นความใฝ่ฝันนั้น อันผู้ใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นย่อมไม่ ใฝ่ฝันต่อใครๆ เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ ในโลกนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ผู้นั้นอยู่ในโลกโดย ชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ ในโลกนี้. [๘๕๑] ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้อง ที่ล่วงได้โดยยากในโลก ผู้ นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว มิได้มีเครื่องผูก.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๘๕๒] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้ โดยยากในโลก ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม โดยอุทานว่ากาม. ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ชื่อว่าเครื่องข้อง ได้แก่เครื่องข้อง ๗ ประการ คือ เครื่องข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. คำว่า ในโลก คือ ใน อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ที่ล่วงได้โดยยาก ความว่า ผู้ใดได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้วซึ่งกามและเครื่องข้องที่ล่วง ได้โดยยาก ล่วงไปได้ยาก ข้ามขึ้นได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก เป็นไปล่วงได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใด ข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก. [๘๕๓] คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศก ถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ว่า ย่อมไม่เศร้าโศก. คำว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ไม่เพ่งถึง ไม่มุ่งถึง ไม่หมายถึง ไม่มุ่งหมายถึง. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่ อุบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง.
ว่าด้วยตัณหาเรียกว่ากระแส
[๘๕๔] คำว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ความว่า ตัณหาเรียกว่า กระแส ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหากระแสนั้น เป็น กิเลสชาติอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ ผู้นั้นเรียกว่าเป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว. คำว่า ไม่มีเครื่องผูก ความว่า เครื่องผูก ๗ ประการ คือ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. เครื่องผูกเหล่านี้ อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า ไม่มีเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก ผู้นั้น ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มี เครื่องผูก. [๘๕๕] กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขาร ในกาลก่อน ท่านจงให้ เหือดหายไปเสีย กิเลสชาติเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง สังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่าม กลาง ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป. [๘๕๖] คำว่า กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้ เหือดหายไปเสีย ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารทั้งหลายเป็นส่วน อดีต ท่านจงยังกิเลสเหล่านั้นให้เหือดไป เหือดหายไป เหือดแห้งไป คือ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลสชาติที่พึงเกิด ขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย. อีกอย่างหนึ่ง อภิสังขาร คือกรรมเป็นส่วนอดีตเหล่าใด ที่ยังมิได้ให้ผล ท่านจงยังอภิสังขารคือกรรมเหล่านั้นให้เหือดไป เหือดหายไป เหือดแห้งไป คือ จงทำให้สิ้นพืช ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขาร ในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไป.
ว่าด้วยอนาคตเรียกว่าภายหลัง
[๘๕๗] คำว่า กิเลสชาติเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า อนาคตเรียกว่าภายหลัง. กิเลสชาติเครื่องกังวลเหล่าใด คือ กิเลส ชาติเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภ สังขารทั้งหลายในอนาคต กิเลสชาติเครื่องกังวลเหล่านี้ อย่าได้มีแก่ท่าน คือ ท่านอย่าทำให้ ปรากฏ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดเฉพาะ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสชาติเครื่องกังวลที่พึง เกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน. [๘๕๘] คำว่า ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า ท่ามกลาง. ท่านจักไม่ถือเอา ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึด ถือ ไม่ยินดี ไม่พูดถึง ไม่ติดใจ คือ จักละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภาย หลัง ซึ่งความยินดี ความพูดถึงความติดใจ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ซึ่งสังขาร ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง. [๘๕๙] คำว่า ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป ความว่า ท่านจักเป็นผู้สงบ เข้า ไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับ ประพฤติ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจักเป็นผู้เข้า ไปสงบประพฤติไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้ เหือดหายไปเสีย กิเลสชาติเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง สังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่าม กลาง ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป. [๘๖๐] ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดยประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่ เสื่อมในโลก.
ว่าด้วยนามและรูป
[๘๖๑] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่า ความถือว่า ของเราในนามรูป ย่อมไม่มี แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า ทั้งปวงนั้น เป็นเครื่องกล่าวรวบหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม. มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป. คำว่า แก่ผู้ใด คือ แก่พระอรหันต- *ขีณาสพ. ชื่อว่าความถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเรา ด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดย ประการทั้งปวง ความว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด โดยประการทั้งปวง คือ อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการ ทั้งปวง.
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
[๘๖๒] คำว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ความว่า ย่อมไม่ เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือ เมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้วก็ย่อมไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่ เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ฯลฯ ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่า ของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันทุกขเวทนาซึ่งไม่สำราญกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึง เข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้อันโรคตา กระทบ ครอบงำ ฯลฯ เป็นผู้อันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปนั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ผู้ใด ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า นามรูป ของเราได้มีแล้วหนอ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ นามรูปของเราพึงมีหนอ เราย่อมไม่ได้นามรูป นั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่ มีอยู่.
ว่าด้วยความเสื่อมมีแก่ผู้ยึดถือ
[๘๖๓] คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก ความว่า ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมมีแก่ผู้ใด ความเสื่อมย่อมมีแก่ผู้นั้น. สมจริงตามภาษิตว่า ท่านเสื่อมแล้วจากรถ ม้า แก้วมณี และกุณฑล เสื่อมแล้วจากบุตร และภรรยา ทั้งจากโภคสมบัติทั้งปวง ที่ไม่ได้เสพ เหตุไร ท่านจึงไม่ เดือดร้อนในเวลาเศร้าโศก. โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละสัตว์ไปก่อน บ้าง สัตว์ย่อมละโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ผู้ใคร่กามมีโภคสมบัติ ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีอะไรเป็นของของตน เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศก ในเวลาเศร้าโศก. ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้วก็ลับไป โลกธรรมทั้ง ๘ เรารู้แล้ว เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศก ในเวลาเศร้าโศก. ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจ ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความเสื่อมก็ ไม่มีแก่ผู้นั้น. สมจริงตามภาษิตว่า. ดูกรสมณะ ท่านย่อมยินดีหรือ ดูกรท่านผู้มีอายุ เราได้ อะไรเล่าจึงจะยินดี ดูกรสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมเศร้าโศกหรือ ดูกรท่านผู้มีอายุ สิ่งอะไรๆ เล่าเสื่อมไปแล้วเราจึงจะเศร้าโศก ดูกรสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่เศร้าโศก หรือ เป็นอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. และสมจริงตามภาษิตว่า เป็นเวลานานหนอ เราจึงได้เห็นภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ ดับรอบแล้ว ไม่มียินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามตัณหาเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อม ในโลก. [๘๖๔] ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่าสิ่งนี้ ย่อมไม่มีแก่เรา. [๘๖๕] คำว่า แก่ผู้ใด ในคำว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า แก่พระอรหันตขีณาสพ. ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงสังขารอะไรๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่ผู้ใด คือ อันผู้ใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวล เข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วย สามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอน อัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราช ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้. แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้ง หลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี เพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความ ดำริอย่างนี้หรือว่า คนย่อมนำไปเผาเสีย ซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย. ความดำรินั้นไม่ มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วย ตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน ฉันนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ ของท่านทั้งหลาย ... วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. และสมจริงตามภาษิตว่า ดูกรคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมล้วนและความ สืบต่อแห่งสังขารล้วน ตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็น ขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ. นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ลามกว่า ดูกรมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์ ร่างกายนี้เป็นกอง แห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะเรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขาร ล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมีเพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อ ขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์อย่างเดียว ย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้น แหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอด ถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้น ค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุนั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวล อะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
ว่าด้วยโลกสูญ
ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลก สูญ โลกสูญ ดังนี้. ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ. พระผู้มี พระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึง กล่าวว่าโลกสูญ. ดูกรอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุ สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปก็สูญ ... จักษุวิญญาณ ... จักษุสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญ หู ... เสียง ... จมูก ... กลิ่น ... ลิ้น ... รส ... กาย ... โผฏฐัพพะ ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... โมโนสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ เพราะโลก สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. [๘๖๖] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา ได้ แก่ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ผู้ นั้นละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว เมื่อไม่ได้ ไม่พบ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะซึ่งความถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือ ว่าของเรา. [๘๖๗] คำว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ความว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง และไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุของเราแปรปรวนไปแล้ว หูของเราแปรปรวนไปแล้ว ฯลฯ สาโลหิตของเราแปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อม ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่ง นี้ย่อมไม่มีแก่เรา. [๘๖๘] บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะ ทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.
ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา
[๘๖๙] ความริษยา ในคำว่า เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจเป็นไฉนๆ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมริษยา ชิงชัง ผูกความริษยา ในลาภ สักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้และการบูชาของบุคคลอื่น ความเป็นผู้ริษยา การทำความเป็นผู้ริษยา ความ ริษยา กิริยาที่ริษยา ความเป็นผู้ริษยา ความชิงชัง กิริยาที่ชิงชัง ความเป็นผู้ชิงชัง นี้เรียกว่า ความริษยา. ความริษยานั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ริษยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ริษยา. คำว่า ไม่ตามติดใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความตามติดใจ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ตามติดใจ. ผู้นั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลง ไม่หมกมุ่นในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นผู้ปราศจากความติดใจ หายจากความติดใจ สละความติดใจ สำรอกความติดใจ ปล่อย ความติดใจ ละความติดใจ สละคืนความติดใจแล้ว ปราศจากความกำหนัด หายจากความ กำหนัด สละความกำหนัด สำรอกความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สละคืน ความกำหนัดแล้ว หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุขมีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ.
ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว
[๘๗๐] คำว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความหวั่นไหว ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาอันเป็นความ หวั่นไหวนั้น อันผู้ใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว. บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหว เสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในความสรรญเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ใน ทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า อายตนะทั้งปวง. เมื่อใด ฉันทราคะ ในอายตนะภายในและภายนอก อันบุคคลละ ตัดรากเสียแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ผู้นั้นเรียกว่าเป็นผู้เสมอ คงที่ วางตนเป็นกลาง เพิกเฉย ในอายตนะทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เป็น ผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง. [๘๗๑] คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น ความว่า เราถูกถาม สอบถาม ขอให้บอก อัญเชิญให้บอก ขอให้ประสาท ถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ ๔ นี้ คือ บอก ชี้แจง ฯลฯ ประกาศว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราถูกถามถึงบุคคล ผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะ ทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น. [๘๗๒] อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง. [๘๗๓] ตัณหา เรียกว่าความหวั่นไหว ในคำว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า ผู้ไม่หวั่นไหว. บุคคลชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อม ไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ใน ความเสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า รู้แจ้งอยู่ ความว่า รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่. [๘๗๔] คำว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี ความว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร (นิสังขิติ). ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี. [๘๗๕] คำว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ความว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญา- *ภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร (วิยารัมภะ). ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิต ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร. [๘๗๖] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะผู้นั้นเป็นผู้ละราคะอันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความไม่มีภัย ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุกสถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง. [๘๗๗] มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก คนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้).
ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
[๘๗๘] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก คนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่อง ข้อง และตัณหาเพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า. [๘๗๙] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบปราศจากความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นสภาพ สงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ. คำว่า ปราศจากความ ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความตระหนี่ หายจาก ความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่ พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่. [๘๘๐] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในความว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด พระผู้มีพระภาค ตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ มั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ. คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่ บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพราะเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก คนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้).
จบ อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๙๐๙๔-๑๐๑๓๖ หน้าที่ ๓๘๒-๔๒๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=9094&Z=10136&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=788&items=93              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=788&items=93&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=788&items=93              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=788&items=93              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]