บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๖๖๙] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ไม่ใกล้ เป็นไฉน ฯ อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอัน บุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนด ธรรม นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอัน บุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณ ใครอื่นย่อมไม่สามารถจะครอบงำอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้ และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใครๆ ครอบงำไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึง เป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ไม่ชิดกับ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ พระอรหันต์ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มี ปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับ ปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ พระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญา ของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามี ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับ พระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสน ไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อม ทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ ใกล้ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป ทรงมีพระญาณ หาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษ ทรงนำ ไปเนืองๆ ทรงบัญญัติ ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรงให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่ เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรง ทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมา ในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เมื่อทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณ ทรงมีธรรม ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว ทรงนำอรรถออก ทรงประทาน อมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้อง แล้วด้วยปัญญามิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการ ทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควรรู้ อย่างใดอย่างหนึ่ง และประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ภพนี้ ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์เปิด เผย ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือปรมัตถประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภาย ในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปตลอดกายกรรม วจี กรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เนยยบทมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมีเท่าใดเนยยบทก็มี เท่านั้น พระญาณมีเนยยบทเป็นที่สุดรอบ เนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดรอบ พระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบท เนยยบทก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผะอบสองชั้นสนิทกันดี ผะอบชั้นล่าง ไม่เกินผะอบชั้นบน ผะอบชั้นบนก็ไม่เกินผะอบชั้นล่าง ผะอบทั้งสองชั้นนั้นต่าง ก็ตั้งอยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความทรงคำนึง เนื่องด้วยทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรง พระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธ- *ญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย ความ ประพฤติ อธิมุติ ของสรรพสัตว์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา- *จักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มี อาการดี มีอาการทราม พระองค์พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็น ภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ เปรียบเหมือนปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ ย่อมว่ายวนอยู่ภายในมหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุด ตลอดจนนกครุฑตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใด ดูกรสารีบุตร แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้น เหมือนกัน พุทธญาณแผ่ไป แล่นไปสู่ปัญหาของเทวดาและมนุษย์แล้วตั้งอยู่ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำ ลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหา พระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคตรัส บอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่า นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็น อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๘๕๕-๙๙๒๗ หน้าที่ ๔๐๘-๔๑๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=9855&Z=9927&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=669&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=669&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=669&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=669&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=669 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]