ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๒
วิภังคปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์
[๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูป ภายใน รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีต รูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์ [๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอดีต รูปอนาคต เป็นไฉน รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอนาคต รูปปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่ เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปปัจจุบัน [๔] รูปภายใน เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน รูปภายนอก เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่ารูปหยาบ รูปละเอียด เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่ารูปละเอียด [๖] รูปทราม เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่า ตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปทราม รูปประณีต เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่า ปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ เรียกว่ารูปประณีต หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๗] รูปไกล เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ใน ที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล รูปใกล้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียง ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้ หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑-๖๖ หน้าที่ ๑-๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=1&Z=66&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=1&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=1&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]