ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อุปปัตตานุปปัตติวาร
[๑๐๘๗] ในกามธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ในกามธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๒๒ เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้ เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ใน กามธาตุ อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ ในกามธาตุ อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่า นี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ ในกามธาตุ [๑๐๘๘] ในรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ในรูปธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๙ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๔ เหตุ ๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๔ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔ ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ มนายตนะ ธัม- *มายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญ- *ญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๙ ใน รูปธาตุ สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ใน รูปธาตุ อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เหตุ ๘ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ บรรดาเหตุ ๘ ในรูปธาตุนั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ เหล่านี้ เรียกว่า กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ เป็นไฉน คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า อกุศล- *เหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย หรือ ในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในรูปธาตุ อาหาร ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในรูปธาตุ ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้ เรียกว่า จิต ๔ ในรูปธาตุ [๑๐๘๙] ในอรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ในอรูปธาตุ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๑ เหตุ ๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียก ว่า ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ใน อรูปธาตุ อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในอรูปธาตุ [๑๐๙๐] ในโลกุตตระ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ในโลกุตตระ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒ อินทรีย์ ๑๒ เหตุ ๖ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ อายตนะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในโลกุตตระ ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ เหตุ ๖ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ บรรดาเหตุ ๖ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ เหล่า นี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๖ ในโลกุตตระ อาหาร ๓ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในโลกุตตระ ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในโลกุตตระ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๙๗๓-๑๔๑๐๒ หน้าที่ ๖๐๐-๖๐๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13973&Z=14102&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1087&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1087&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=1087&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=1087&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1087              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]