ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
กามกถา
[๑๒๑๔] สกวาที อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะนั้นมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม ส. ความกำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอ ใจเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความดำริเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความ กำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีเกี่ยว ด้วยอายตนะ ๕ นั้น ปีติเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น โสมนัสเกี่ยวด้วยอาย- ตนะ ๕ นั้น ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ? @๑. สํ. สฬา. ข้อ ๔๑๓ หน้า ๒๗๘ ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม [๑๒๑๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน? รูปที่เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่ เป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ยั่วกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ก็อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม น่ะสิ [๑๒๑๖] ส. อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน? รูปอันเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะ อันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร จำเริญใจ น่ารัก ยั่วกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๕ อย่างนี้มิใช่กาม (แต่) ทั้ง ๕ อย่างนี้ เรียกในวินัยของพระอริยะว่า กามคุณ ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริเป็นกามของบุรุษ สิ่งที่สวยงามใน โลกไม่ใช่กาม ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ เป็นกามของบุรุษ สิ่งที่สวยงามย่อมตั้งอยู่ในโลกอย่างนี้แล แต่ว่านักปราชญ์ ย่อม กำจัดความพอใจในสิ่งที่สวยงามนี้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ? @๑. อํ. ฉกฺก ข้อ ๓๓๔ หน้า ๔๕๙ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม
กามกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๒๐๔๑-๑๒๐๘๓ หน้าที่ ๕๐๑-๕๐๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12041&Z=12083&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1214&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1214&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1214&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1214&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1214              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]