ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๑๒๔๒] สกวาที กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ
ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสน
ใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกาย-
กรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
ของกายกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต
เป็นรูป เป็นกุศล
             [๑๒๔๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรม มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้ง
ขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
ของปัญญานั้น มีอยู่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรม มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๒๔๔] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของธรรมนั้น ไม่มีหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้ง
ขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๒๔๕] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็นกุศล หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๒๔๖] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี-
ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล
หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๒๔๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี-
ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นอัพยา-
กฤตหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๒๔๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มี
อารมณ์ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๒๔๐๔-๑๒๔๗๕ หน้าที่ ๕๑๖-๕๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12404&Z=12475&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1242&items=7&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1242&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1242&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1242&items=7&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1242              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]