บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
รูปังมัคโคติกถา [๑๓๗๙] ส. สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. รูปนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความ ทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ รูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค [๑๓๘๐] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาวาจานั้นไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของสัมมาวาจานั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาวาจาเป็นมรรค [๑๓๘๑] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะเป็นมรรค [๑๓๘๒] ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้น มีอยู่หรือ ป. ถูกแล้ว ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ [๑๓๘๓] ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๔] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๕] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรครูปังมัคโคติกถา จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๓๗๐๕-๑๓๗๙๕ หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13705&Z=13795&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1379&items=8 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1379&items=8&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1379&items=8 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1379&items=8 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1379 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]