บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
กุสลกถา [๑๗๘๘] สกวาที นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง นิพพานธาตุนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง นิพพานนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้ง ใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล [๑๗๘๙] ส. อโลภะ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งอโลภะนั้น มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้ง ใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้น มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้ง ใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๙๐] ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อโลภะ เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้ง ใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งปัญญานั้น ไม่มี หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๙๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้อง กล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศลกุสลกถา จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๘๙๒๘-๑๘๙๗๒ หน้าที่ ๗๘๘-๗๘๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=18928&Z=18972&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1788&items=4 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1788&items=4&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1788&items=4 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1788&items=4 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1788 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]