บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
พระพุทธานุญาตเตวาจิกาปวารณา สัญจรภัยในปวารณา [๒๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุกพล่าน ในวันปวารณา. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๓ หน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณา ๒ หน. คนชาวดงได้มาพลุกพล่านมากขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๒ หน จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ปวารณาหนเดียว. ชนชาวดงได้มาพลุกพล่านหนักขึ้นอีก. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณาหนเดียว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณามีพรรษาเท่ากัน.ราตรีจวนสว่าง ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ชาวบ้านมัวให้ทานอยู่จนราตรี จวนสว่าง จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า คนเหล่านี้มัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จัก ปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่างเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติ อย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา ชาวบ้านในตำบลนี้มัวให้ทานอยู่ จนราตรี จวนสว่าง หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ชาวบ้านพากันให้ทานอยู่จน ราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จะปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่าง เสียก่อน ดังนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ชาวบ้านมัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษาเท่ากัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุทั้งหลายกล่าวธรรมกัน .... ภิกษุที่เชี่ยวชาญในพระสูตร สังคายนาพระสูตรกัน .... พระวินัยธรตัดสินพระวินัยกัน .... พระธรรมกถึกสนทนาธรรมกัน .... ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง. หากภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จัก ปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ดังนี้. ภิกษุผู้ฉลาด สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายมัวทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษาเท่ากัน.ฝนกำลังตั้งเค้า ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ถึงวันปวารณาภิกษุสงฆ์มาประชุม กันมาก. สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนกำลังตั้งเค้ามาใหญ่ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ ปรึกษากันว่า ภิกษุสงฆ์นี้มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลัง ตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติสถานไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มา ประชุมกันมาก. สถานที่ประชุมคับแคบคุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าภิกษุ ทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณา ทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกหนักเสียก่อน. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสงฆ์นี้ประชุมกันมาก สถานที่ประชุม คับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จัก ไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษาเท่ากัน.อันตราย ๑๐ ประการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งในตำบลนี้ ถึงวันปวารณา มีอันตราย เกิดขึ้น คือ ๑. พระราชาเสด็จมา .... ๒. โจรปล้น .... ๓. ไฟไหม้ .... ๔. น้ำหลากมา .... ๕. คนมามาก .... ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ .... ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา .... ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา .... ๙. ภิกษุจะถึงเสียชีวิต .... ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์เกิดขึ้น. ในข้อนั้น หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เหตุฉุกเฉินนี้แหละ คือ อันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิดเสียก่อน. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุฉุกเฉินนี้คืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์ จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิด เสียก่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษา เท่ากัน.เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๗๐๖๓-๗๑๓๐ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=7063&Z=7130&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=244&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=244&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=4&item=244&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=4&item=244&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=244 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]