[๕๓๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยนิสสย-
*ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสย-
*ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย
@๑. ตามนัยแห่งข้อ ๕๒๔ ซึ่งว่าด้วยสหชาตปัจจัย
[๕๓๖] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยนิสสย-
*ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสย-
*ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ
จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย
นิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย
นิสสยปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป
โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยนิสสยปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดย
นิสสยปัจจัย
มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัย
แก่มหาภูตรูป ๑ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยนิสสยปัจจัย
มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป โดย
นิสสยปัจจัย
พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยนิสสยปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่
มหาภูตรูป ๒ โดยนิสสยปัจจัย
มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป โดยนิสสยปัจจัย
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยนิสสยปัจจัย โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ
ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยนิสสยปัจจัย
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดย
นิสสยปัจจัย
[๕๓๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยนิสสยปัจจัย
[๕๓๙] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย
คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยนิสสยปัจจัย
[๕๔๐] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสย-
*ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓
และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย
[๕๔๑] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย
นิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
*รูป โดยนิสสยปัจจัย
[๕๔๒] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสย-
*ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย
ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย
[๕๔๓] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย
นิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
*รูป โดยนิสสยปัจจัย
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๑๐๒-๖๑๖๗ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=6102&Z=6167&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=531&items=13
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=531&items=13&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=40&item=531&items=13
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=40&item=531&items=13
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=531
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐
http://84000.org/tipitaka/read/?index_40
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com