บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ปัญหาวาร [๗๓๗] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย ปฏิสนธิ.พึงกระทำมูล เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. [๗๓๘] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณาซึ่งกุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน กิเลสที่ละแล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่ม แล้ว ฯลฯ กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้ในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. กามาวจรธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นกามาวจรธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดยอารัมมณปัจจัย บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภฌานนั้น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค ผล ฯลฯ พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะ พิจารณาวิญญาณัญจายตนะ พิจารณาอากิญจัญญา- *ยตนะ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณา อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ฯลฯ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น. [๗๓๙] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรม ทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น พระเสขบุคคลทั้งหลายกระทำโคตรภูให้หนักแน่นแล้วพิจารณา กระทำโคตรภูนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรมให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นกามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ผล ฯลฯ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน โดยอธิปติปัจจัย บุคคลกระทำอากาสานัญจายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา วิญญาณัญ- *จายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทิพพจักขุ ทิพพโสตธาตุ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่กามาวจรธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรม ที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. [๗๔๐] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นกามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดย อนันตรปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ แห่งจตุตถฌาน ฯลฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ แห่งทิพพจักขุ ฯลฯ แห่งทิพพโสตธาตุ แห่ง อิทธิวิธญาณ แห่งเจโตปริยญาณ แห่งบุพเพนิวาสานุสสติญาณ แห่งยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอนันตรปัจจัย โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติโดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิต ที่เป็นกามาวจรธรรม ภวังค์ที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นกามาวจรธรรม โดยอนันตรปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๗ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๗ นัย. [๗๔๑] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรม แล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน วิปัสสนา ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรมแล้ว ยังฌานที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ เสนาสนะ แล้วยังฌานที่ไม่ใช่กามาวจร- *ธรรมให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ แห่งจตุตถฌาน ฯลฯ แห่ง อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ แห่งปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมแห่งจตุตถมรรค ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม แล้วยังฌานที่ไม่ใช่กามาวจรธรรมให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา แล้วยังฌานที่ไม่ใช่กามาวจร- *ธรรมให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ เนวสัญญานาสัญญานายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม แล้วให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา แล้วให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นกามาวจรธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้ว พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา แก่ธรรมปฏิสัมภิทา แก่นิรุตติปฏิสัมภิทา แก่ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แก่ฐานาฐานโกสละของพระอริยะทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย. [๗๔๒] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกามาวจรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๓ นัย. [๗๔๓] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ฯลฯ. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ นัย. [๗๔๔] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ฯลฯ. ในปฏิสนธิขณะหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ กามาวจรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ปฏิสนธิ. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่ เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. [๗๔๕] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ ด้วยทิพพจักษุ ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต เหมือนกับวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร. กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ปฏิสนธิ. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม และกวฬิงการาหาร เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ปฏิสนธิ. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย. [๗๔๖] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๔ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มีวาระ ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๗ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๓ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๔ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๔ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย มี " ๗ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มี " ๗. [๗๔๗] กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริย ปัจจัย. กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยก่กามาวจรธรรม โดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย. กามาวจรธรรม และธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. [๗๔๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๕. [๗๔๙] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔. ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔. [๗๕๐] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔พึงกระทำอนุโลมมาติกา. ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มี " ๗.กามาวจรทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๒๔๓๐-๑๒๗๓๒ หน้าที่ ๔๘๖-๔๙๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=12430&Z=12732&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=43&item=737&items=14 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=43&item=737&items=14&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=43&item=737&items=14 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=43&item=737&items=14 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=737 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43 https://84000.org/tipitaka/english/?index_43
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]