บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
อธิกรณ์ [๖๓๒] โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณี วิวาทกับพวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับ พวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉันนะจึงได้เข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ข่าวว่า ภิกษุฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวก ภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทา- *ธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ฯอธิกรณ์ ๔ อย่าง ๑. วิวาทาธิกรณ์ [๖๓๓] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า ๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย ๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้ ๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประ- *พฤติมา ๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ ๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก ๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความ กล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ ฯ๒. อนุวาทาธิกรณ์ [๖๓๔] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจาร- *วิบัติ ทิฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่อง นั้นอันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์ ฯ๓. อาปัตตาธิกรณ์ [๖๓๕] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ ฯ๔. กิจจาธิกรณ์ [๖๓๖] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็น หน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติ- *ทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ ฯอธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ ----------------------------------------------------- มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ [๖๓๗] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่ง กุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ใน พระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความ เคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำ ให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อ กูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความ ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็น รากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็น รากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึง ปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความละ รากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการ เถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ ฯ [๖๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ ท่าน ... ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ ... ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ... ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยาก ภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อม ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้ เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละรากแห่งการเถียงกัน อันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้ง ภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่ง การเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมี ด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป ด้วยอย่างนี้ รากแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ฯอกุศลมูล ๓ [๖๓๙] รากแห่งอกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตโลภวิวาทกัน มีจิตโกรธวิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า ๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย ๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้ ๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประ- *พฤติมา ๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ ๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก ๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ รากแห่งอกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ฯกุศลมูล ๓ [๖๔๐] รากแห่งกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตไม่โลภวิวาทกัน มีจิตไม่โกรธวิวาท กัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า ๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... ๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ รากแห่งกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ฯมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ [๖๔๑] อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็น มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่ง กุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กายก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้ วาจาก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯ [๖๔๒] รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธ ภิกษุที่มัก โกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่เคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชน มาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการ โจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายาม ละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการ โจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อ ความยืดเยื้อแห่งราก แห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการโจท กันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ การยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามก นั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ ฯ [๖๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ... ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ ... ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ... ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยาก ภิกษุ ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความ เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การ โจทกันย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อ ความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายใน และภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามและรากแห่งการโจทกันอันลามก นั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายใน และภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการ โจทกันอันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย- *อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการโจทกัน ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯอกุศลมูล ๓ [๖๔๔] อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์เป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตโลภโจท ย่อมมีจิตโกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯกุศลมูล ๓ [๖๔๕] กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตไม่โลภโจท ย่อมมีจิตไม่ โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯกาย [๖๔๖] อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มีอาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วย กายใด กายนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯวาจา [๖๔๗] อนึ่ง วาจา เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุทั้งหลายย่อมโจท ภิกษุนั้น ด้วยวาจาใด วาจานี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ฯมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ [๖๔๘] อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ:- ๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี ๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิต ก็มี ๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี ๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจา ก็มี ๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกาย ก็มี ๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา และจิต ก็มี สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ ฯมูลแห่งกิจจาธิกรณ์ [๖๔๙] อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์ สงฆ์เป็นมูลอันหนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์ ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๗๗๕-๘๙๔๗ หน้าที่ ๓๗๑-๓๗๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=8775&Z=8947&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=632&items=18 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=632&items=18&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=632&items=18 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=632&items=18 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=632 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]