ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
             [๑๑๖๕] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงระงับ
กรรม?
             พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไร
บ้าง? คือ:-
                          ๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ยังให้อุปสมบท
                          ๒. ให้นิสัย
                          ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
                          ๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี
                          ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี
             ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.
             ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไร
บ้าง? คือ:-
                          ๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
                          ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
                          ๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น
                          ๔. ติกรรม
                          ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
             ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๐.

ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. พูดติพระพุทธเจ้า ๒. พูดติพระธรรม ๓. พูดติพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นพาล ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีในข้อวัตร ๕. ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.
คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๑๑๖๖] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พ. ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ อะไรบ้าง ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ ๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ ๒. พึงเป็นผู้รู้จักอาสนะ รู้จักการนั่ง ๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะอันควร ๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่างๆ ไม่พึงพูดติรัจฉานกถา ๕. พึงกล่าวธรรมด้วยตนเอง หรือเชิญผู้อื่นกล่าว ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๑.

ดูกรอุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ ถ้าในกรรมนั้นภิกษุไม่ชอบใจ จะ พึงทำความเห็นแย้งก็ได้ แล้วควบคุมสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเธอคิดว่า เราอย่า มีความเป็นต่างๆ จากสงฆ์เลย. ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์เถิด.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๑๑๖๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชน หมู่มาก? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. พูดซัดผู้อื่น ๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่พูดซัดผู้อื่น ๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๒.

ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชน หมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม ๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของ ชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม ๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๓.

๑. พูดข่มขู่ ๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น ๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่พูดข่มขู่ ๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น ๓. โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของ ชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๑๑๖๘] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล? พ. ดูกรอุบาลี ในการเรียนวินัยมีอานิสงส์ ๕ นี้. อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง คือ:- ๑. กองศีลเป็นอันตนคุ้มครองรักษาไว้ด้วยดี ๒. เป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ๓. เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๔. ข่มขี่ข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม ๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ดูกรอุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๔.

หัวข้อประจำวรรค
[๑๑๖๙] ต้องอาบัติ ๑ เพราะอาบัติใด ๑ พูดติเตียน ๑ อลัชชี ๑ สงคราม ๑ มี ความคิดมืดมน ๑ อวดอ้าง ๑ ข่มขู่ ๑ เรียนวินัย ๑.
โวหารวรรคที่ ๓
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๖๖๕-๑๐๗๙๓ หน้าที่ ๔๐๙-๔๑๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10665&Z=10793&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1165&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1165&items=5&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1165&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1165&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1165              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]