บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
คำถามและคำตอบในปาทุกาวรรคที่ ๗ [๒๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียงเท้า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียงเท้า. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรม แก่บุคคลผู้นั่ง บนอาสนะ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งบนอาสนะ. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้นั่งบนอาสนะสูง ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งบน อาสนะสูง. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแก่กายกับจิต มิใช่วาจา. ๑- [๒๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่ง ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่ง. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน อันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย. [๒๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่ บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต. [๒๓๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดิน ในทาง ณ ที่ไหน? @๑ มีลักลั่นอยู่ ที่นี่ น่าจะเป็นวาจากับจิต มิใช่กาย ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินในทาง. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต. [๒๓๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ยืนถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. [๒๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงบนของเขียวสด ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงบน ของเขียวสด. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. [๒๔๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ. เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท จบ. กัตถปัญญัตติวาร มหาวิภังค์ จบ. หัวข้อประจำเรื่อง [๒๔๒] นุ่งห่มเป็นปริมณฑล ปกปิดกาย สำรวมดี มีตาทอดลง เวิกผ้า หัวเราะ ลั่น มีเสียงดัง โคลงกาย ไกวแขน โคลงศีรษะรวม ๓ ค้ำกาย คลุมศีรษะ กระโหย่ง รัดเข่า รับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ แลดูในบาตร แกงพอสมควร รับบิณฑบาตเสมอขอบ ฉันบิณฑบาต โดยเอื้อเฟื้อ แลดูในบาตร ฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง ฉันแกงพอสมควร ขยุ้มแต่ยอด กลบ ขอ เพ่งโพนทะนา ไม่ใหญ่ กลมกล่อม ช่องปาก มือทั้งหมด ไม่พูด ฉันเดาะ ฉันกัด ฉันทำ ให้ตุ่ย สลัดมือ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ฉันแลบลิ้น ฉันเสียงจั๊บๆ ซู้ดๆ เลียมือ ขอดบาตร เลียริมฝีปาก เปื้อนอามิส น้ำมีเมล็ดข้าว พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ทรงแสดงสัทธรรม แก่ บุคคลผู้มีร่มในมือ มีไม้พลองในมือ มีศัสตราวุธในมือ สวมเขียงเท้า สวมรองเท้า ไปในยาน อยู่บนที่นอน นั่งรัดเข่า โพกศีรษะ คลุมศีรษะ ที่แผ่นดิน อาสนะต่ำ ยืนอยู่ เดินไปข้างหลัง เดินไปนอกทาง ไม่ยืนถ่าย ถ่ายบนของเขียวสด และในน้ำ.หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น [๒๔๓] ปริมัณฑลวรรค ๑ อุชชัคฆิกวรรค ๑ ขัมภกตวรรค ๑ ปิณฑปาตวรรค ๑ กพฬวรรค ๑ สุรุสุรุวรรค ๑ ปาทุกาวรรค ๑ เป็นที่ ๗ แล.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๒๓๔๖-๒๕๑๑ หน้าที่ ๘๙-๙๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=2346&Z=2511&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=227&items=17 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=227&items=17&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=227&items=17 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=227&items=17 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=227 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]