ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้
กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็น
ของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วย
วิมุติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของ
พระอเสขะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึง
ให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ฯ
             [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึง
ให้นิสัยได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย
ศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของ
พระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้
นิสัยได้ ฯ
             [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึง
ให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์
อันเป็นของพระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
นี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ฯ
             [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑ ความตระหนี่
ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
ตระหนี่ ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้
ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม ฯ
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
ตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ที่อยู่ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด
ความตระหนี่สกุล ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ลาภ ๑ เพื่อละ เพื่อ
ตัดขาดความตระหนี่วรรณะ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕
ประการนี้แล ฯ
             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ
ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรบรรลุปฐมฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕
ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่
ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรบรรลุปฐมฌาน ฯ
             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดา
ปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละ
ธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ
             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ
ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคน
อกตัญญูอกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควร
เพื่อบรรลุปฐมฌาน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความ
ตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ฯ
             [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติ-
*ผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความ
ตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละ
ธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ
             [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ลำเอียงเพราะรัก ๑
ลำเอียงเพราะชัง ๑ ลำเอียงเพราะหลง ๑ ลำเอียงเพราะกลัว ๑  ย่อมไม่รู้ภัตที่
ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ
ให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่
ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัต
ที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ฯ
             [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติแล้วก็พึง
ใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่า
เป็นพาล ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้
ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕
ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียง
เพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้
นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
             [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ ... ไม่รู้เสนาสนะที่ได้
ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนะปัญญาปกะ ... ย่อมรู้เสนาสนะที่ได้ปูลาด
แล้วและยังไม่ได้ปูลาด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง ... ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้วและยังไม่ได้
เก็บ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้
เป็นภัณฑาคาริก ... ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร ... ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวร
ปฏิคคาหกะ ... ย่อมรู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นจีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร ... ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวร
ภาชกะ ... ย่อมรู้จีวรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว ... ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและ
ยังไม่ได้แจก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึง
สมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ ... ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย ... ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อยที่
ได้จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ... รู้ของเล็กน้อยที่ได้จ่ายแล้ว
และยังไม่ได้จ่าย ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ผู้แจกผ้าสาฎก ... ย่อมไม่รู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้ว
และยังไม่ได้รับ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ... ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ผู้แจกบาตร ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและไม่ได้รับ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็น
ปัตตคาหาปกะ ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
สมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด ... ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้
ใช้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้
เป็นอารามิกเปสกะ ... ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็นสามเณรเปสกะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ แม้สมมติแล้ว ก็ไม่
พึงใช้ให้ทำการ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ สงฆ์สมมติแล้ว พึงใช้ให้ทำการ ... ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็น
พาล ... พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ... ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้
ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือน
เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑
ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้
สามเณรที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ-
*ฐานไว้ ฯ
             [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑ กล่าวเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้งดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหม-
*จรรย์ ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
             [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ... สิกขมานา ... สามเณร ...
สามเณรี ... อุบาสก ... อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
นรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
สวรรค์เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นฐานะแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
             [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
             [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ ... สาวกนิครนถ์ ... ชฎิล ...
ปริพาชก ... เดียรถีย์พวกมาคัณฑิกะ ... พวกเตทัณฑิกะ ... พวกอารุทธกะ ... พวก
โคตมกะ ... พวกเทวธัมมิกะ ... ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก
เหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์พวกเทวธัมมิกะ
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
             [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕
ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ อาหาเร-
*ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕
ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
             [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
*สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ
นี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
             [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ราคะ ฯ
             [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือสัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑
กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
             [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนดรู้
ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย
เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ
ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป
เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ
จบปัญจกนิบาต ฯ
-----------------------------------------------------
ปฐมปัณณาสก์
อาหุเนยยวรรคที่ ๑
๑. อาหุเนยยสูตรที่ ๑


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๖๔๐๖-๖๖๒๐ หน้าที่ ๒๘๒-๒๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=6406&Z=6620&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=251&items=21&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=251&items=21              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=251&items=21&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=251&items=21&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=251              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :