ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อัฏฐกวัคคิกะ
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้นสัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน. [๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุ- *กาม ๑ กิเลสกาม ๑. วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็น ปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม. กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม. สมจริงดังคำว่า ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มีความว่า เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อปรารถนากามอยู่. [๓] คำว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์. คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม. คำว่า ย่อมสำเร็จ มีความว่า ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดยชอบ ได้ ได้เฉพาะ ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น. [๔] คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย ส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าว ไม่เป็นสองส่วน เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวไม่รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า แน่นอนนี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕. คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ. ใจนี้สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความอิ่มนี้. คำว่า ย่อมเป็น ผู้อิ่มใจ คือเป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน. [๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า คำว่า ได้ คือ ได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ ตามปรารถนา ยินดี ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้กามตาม ปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน. [๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้น เสื่อมไป สัตว์นั้น ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทง เข้าแล้ว. [๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า คำว่า เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์. คำว่า ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไปด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง ยานแพะบ้าง ยานแกะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่. [๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ ได้แก่ ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อน ในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือกาม ความยึดถือ ในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ความพอใจในกามนั้น เกิดแล้ว เกิดพร้อม เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแก่สัตว์นั้น. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว. [๙] คำว่า ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไปบ้าง สัตว์นั้น เสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง. กามเหล่านั้นเสื่อมไปอย่างไร? เมื่อสัตว์นั้น ดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะเหล่านั้น ถูก พระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่เป็นที่ ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภคทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสียไปบ้าง คนผลาญสกุล ผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นย่อมเกิดในสกุลบ้าง ความเป็นของ ไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปอย่างนี้. สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลายอย่างไร? โภคะเหล่านั้น ยังตั้งอยู่นั้นแหละ สัตว์ นั้นย่อมเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีรกาย กับทั้งข้าวของ เพราะ ความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง ครั้นให้ทาน และใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้า ถึงสถาน คือ สวรรค์. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไป. [๑๐] คำว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว มี ความว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเหล็กแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยกระดูกแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศร ที่ทำด้วยไม้แทงเข้าแล้วบ้าง ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ ฉันใด ความโศกรำพัน เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะวัตถุกามทั้งหลาย แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทงเข้าแล้ว ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นย่อม กระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดขึ้น ถ้ากามเหล่านั้น เสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว. [๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ
[๑๒] คำว่า ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ ประกอบอย่างใด ผู้ชนิดอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็น กษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร์ เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น มนุษย์. กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ย่อมเว้นขาดกาม คือ ย่อมเว้นขาดกาม โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้อย่าง ๑ โดยการตัดขาดอย่าง ๑. ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครง กระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดย การข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา ย่อมเว้น ขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าเป็น ของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่าเป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลาย เปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกาม โดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่าเป็นของให้กิ่ง หักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและ มีด เพราะอรรถว่าเป็นของฟัน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบ ด้วยหอกหลาว เพราะอรรถว่าเป็นของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อม เว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญ ธัมมานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ ... แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ... แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ ... แม้ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... แม้ผู้เจริญ มรณานุสสติ ... แม้ผู้เจริญกายคตาสติ ... แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ... แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... แม้ผู้ เจริญทุติยฌาน ... แม้ผู้เจริญตติยฌาน ... แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน ... แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตน สมาบัติ ... แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... แม้ผู้ เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. ย่อมเว้นขาดกามโดย การข่มไว้อย่างนี้. ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างไร? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้น ขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วน หยาบโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดย การตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด. ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม เว้นขาดกามทั้งหลาย. [๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า งูเรียกว่าสัปปะ. เพราะ อรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่าเสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่า ขนดไป งูจึงเรียกว่าภุชคะ. เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่าอุรคะ. เพราะอรรถว่ามีหัวตก ไป งูจึงเรียกปันนคะ เพราะอรรถว่านอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่าสิริสปะ. เพราะอรรถว่านอนในรู งูจึงเรียกว่าวิลาสยะ. เพราะอรรถว่านอนในถ้ำ งูจึงเรียกว่าคุหาสยะ. เพราะอรรถว่ามีเขี้ยวเป็น อาวุธ งูจึงเรียกว่าทาฒาวุธ. เพราะอรรถว่ามีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่าโฆรวิสะ. เพราะอรรถว่ามี ลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทุชิวหา. เพราะอรรถว่าลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทิรสัญญู. บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก เลี้ยว อ้อมหนี หัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีกเลี่ยง อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า. [๑๔] คำว่า ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มี ความว่า คำว่า ผู้นั้น คือ ผู้เว้นขาดกามทั้งหลาย. ตัณหาเรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่ง ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความ ให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความเป็นดังว่าข่าย ความเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไป ในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็น เพื่อน ความตั้งมั่น เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังใน ลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์ ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- *ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนา วัตถุต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า วิสัตติกา. คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. [อันซ่านไป ในอารมณ์ต่างๆ] เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าแผ่ไป ตัณหา จึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าแล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าครอบงำ ตัณหา จึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าสะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่ามีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะ อรรถว่ามีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าเปรียบด้วยเครื่องบริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ ที่อยู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน แล่นไป ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนา สติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ เป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลายที่เป็น ข้าศึกต่อสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นนิมิตแห่งสติ. เป็น ผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้สงบ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็น ผู้ระงับ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ. ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ พุทธานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะธรรมานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสังฆานุสสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะสีลานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะจาคานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ เทวตานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอานาปานัสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะมรณานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะกายคตาสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอุปสมานุสสติ. ความระลึก ความ ระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความ ไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมนี้ เรียก ว่า สติ. บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบ ด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ. คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลก เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้. [๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนใด ย่อมปรารถนาไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก. [๑๖] คำว่า ไร่นา ที่ดิน เงิน มีความว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวจ้าว ไร่ถั่ว เขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่ หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่นา ที่ดิน เงิน.
ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก
[๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า โคทั้งหลายเรียกว่า โค. ปสุสัตว์ เป็นต้นเรียกว่า ม้า. คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาสที่ซื้อ มาด้วยทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึงความเป็นทาส ๑. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวกเป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วย ทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้าเป็นทาสเองบ้าง คนบางพวกเป็นทาส เพราะตกเป็นเชลยบ้าง. คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑ กรรมกร ๑ พวกอยู่อาศัย ๑ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน. [๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี. คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็นญาติ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้อง โดยการเรียนศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑. คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก. กามมากเหล่านี้ ได้แก่ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก. [๑๙] คำว่า นรชนใด ย่อมปรารถนา มีความว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมใด คือ เป็น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์ คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ย่อม ปรารถนา คือ ย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกาม ทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใด ย่อมปรารถนา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนใด ย่อมปรารถนา ไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก. [๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยี นรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือน น้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น. [๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น มีความว่า คำว่า ไม่ มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือ ทุรพล มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก มีอัธยาศัยเลว เล็กน้อย กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำ นรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก มีอัธยาศัยเลว เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอัน ไม่มีกำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
[๒๒] คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑. อันตรายที่ปรากฏเป็นไฉน? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำ กรรมชั่ว และโรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทาง ศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้ เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค- *ขี้กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกิน กำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ. อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความ โกรธ ผูกโกรธไว้ ลบลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขาร คือ อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด. ที่ชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะว่าอรรถเป็น ที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร? จึงชื่อว่า อันตราย อันตรายเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะ อรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร? จึงชื่อว่าอันตราย อันตรายเหล่านั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็น ไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน โภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ใน อันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญพละ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนืองๆ ในอัน เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่ง กุศลธรรมเหล่านี้. เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างไร? จึงชื่อว่าอันตราย อกุศล ธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบ เหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่ อาศัยต้นไม้ ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อม เป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้ จึง ชื่อว่าอันตราย. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สัญโญชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส ที่ฟุ้งซ่าน อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่ สัญโญชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพพะด้วยกาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศล ธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล. เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็น มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรู ในภายใน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายในโมหะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตร ในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า- โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะ ยังจิตให้ให้กำเริบ โลภะ เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชน ย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความโลภ ครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ โทสะ ยังสิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะ ยังจิตให้กำเริบ โทสะ เป็นภัยเกิดขึ้นใน ภายใน พาลชน ย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้ โกรธแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความโกรธครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะ เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชน ย่อมไม่ รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ. เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่า อันตราย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการแล เมื่อเกิด ขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในกายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อม เกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในภายใน แห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น. เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่า อันตราย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่าอันตราย คำว่า เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตรายเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่าอันตราย ย่อม ย่ำยีนรชนนั้น. [๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป มีความว่า เพราะ อันตรายนั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์ ... พยาธิทุกข์ ... มรณทุกข์ ... ทุกข์ คือ ความโศก ร่ำไร ลำบากกาย ทุกข์ใจ ความแค้นใจ ... ทุกข์ คือ ความเกิดในนรก ... ทุกข์ คือ ความเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ... ทุกข์ คือ ความเกิดในวิสัยเปรต ... ทุกข์ คือ ความเกิดในมนุษย์ ... ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์ มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ที่เกิด แล้ว ... ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว ... ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ... ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ... ทุกข์เกิดแต่ทุกขเวทนา ... ทุกข์เกิดแต่สังขาร ... ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ... โรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทาง กาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคขี้กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกิน กำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวด อุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์ เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายและ น้องชายทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวและน้องสาว ทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะ ความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์ เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่ง ทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ ย่อมติดตามนรชนนั้นไป. [๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น มีความว่า น้ำไหลซึมเข้าสู่เรือ ที่แตกแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป ไหลเข้าไปแต่ที่นั้นๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป ตาม เข้าไป ไหลเข้าไป ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้างๆ บ้าง ฉันใด เพราะอันตราย นั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อม ย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือน น้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น.
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
[๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น. [๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ มีความว่า คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทาน นั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่ สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอด กาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็นนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง ตลอด กาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในการก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น. ตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง. คำว่า มีสติ (๑)- ได้แก่เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อ เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ก็ชื่อว่าเป็นผู้มี สติ เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดย เหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ฯลฯ บุคคลเป็น ผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคล นั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ. [๒๗] คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการ ข่มไว้อย่าง ๑ โดยการตัดขาดอย่าง ๑. พึงละเว้นขาดกาม โดยการข่มไว้อย่างไร? สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย พึง เว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของ สาธารณ์แก่ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วย คบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ฯลฯ แม้เจริญเนวสัญญานา- *สัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้ ฯลฯ พึง เว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ ๒- เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย. [๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่า คำว่า เหล่า นั้น คือ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึง ความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีใน ภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ @(๑) ต่อไปนี้จงดูในข้อ ๑๔. @๒. (ล) จงดูละเอียดในข้อ ๑๒. ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้. [๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น มีความว่า บุคคลวิด สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรืออันทำให้หนัก บรรทุกหนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วยเรือที่เบา โดย เร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลังซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจ- *กุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันนั้น. อมตนิพพาน เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไป จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง. คำว่า ถึงฝั่ง คือ ผู้ใด ใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดย่อมไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใด ถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง. สมเด็จจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบก ชื่อว่า เป็นพราหมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้น ถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการ ทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยการบรรลุ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวง ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวง ด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ ถึงฝั่งแห่งนิโรธ ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยการบรรลุ พระอรหันต์นั้น ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุติ พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วนสุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่ง แล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่ตาย แล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์ อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทง- *ตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอันละแล้ว มีนิโรธ อันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้ กำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควรละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้ แจ้งอันทำให้แจ้งแล้ว พระอรหันต์นั้น มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว มีกรรมเป็นคูอัน กำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสัญโญชน์เป็นบานประตู เป็น ผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยค กิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ห้าอันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์หก มีสติเป็นธรรมเอกเป็น เครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่องอาศัยสี่ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว มีการแสวง หาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุปรมัตถะ พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ- *ทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วจึงตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว จึง ตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วจึงตั้งอยู่ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้ว ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรง อยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะ อันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่ ในสรีระที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด. สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า:- พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นทีหลัง มิได้ มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้น พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้.
จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑.
-----------------------------------------------------
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒
ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
[๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็ หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย. [๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้วมีความว่า ตรัสคำว่า เป็นผู้ข้องไว้ก่อน. ก็แต่ว่าถ้ำควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ. คำว่า กายก็ดี ถ้ำ ก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของกาย. คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพัน อยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่ง ตอกติดไว้ที่ฝา หรือที่ไม้ข้อ ฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความ ปรารถนาในรูป ความเข้าไปถือ ความเข้าไปยึดในรูป อันเป็นความตั้งมั่น ความถือมั่น และ ความนอนตามแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเพราะนั้น. จึงเรียก ว่า สัตว์. คำว่า สัตว์เป็นชื่อของผู้เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ. คำว่า ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสเป็นอันมาก ปิดบังไว้ แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความ ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริตทั้งปวง อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือดร้อนทั้งปวง อัน อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บ้งไว้ คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว. [๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า คำว่า นรชน เมื่อตั้งอยู่ ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความ สามารถความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความหลง เป็นผู้ผูกพัน ย่อม ตั้งอยู่ด้วยสามารถความถือตัว เป็นผู้ยึดถือ ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความสงสัย เป็น ถึงความมั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุ เพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่ พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ... ธรรมที่พึงรู้แจ้ง ด้วยมนะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือธรรมนั้นตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ... หรือวิญญาณที่ เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการ อย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในกวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขาร ทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในผัสสาหาร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในมโนสัญญาเจตนาหาร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณก็ ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้. คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ ๔ คือ รูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ที่หลงเพราะเหตุไร กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. เพราะเหตุว่า เทวดา และมนุษย์โดยมาก ย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม เป็นผู้หลงเสมอ ในกามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. คำว่า หยั่งลงในที่หลง คือ หยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ก็หยั่งลงใน ที่หลง.
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่ง อยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก. จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิต สงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและ ทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิต สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน สัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ เป็นต้นนั้น เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค- *สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก. อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก. ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่ บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส มากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๓๔] คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่ายมีความว่า (๑)- กาม ได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจเครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ @(๑) ต่อไปนี้จงดูข้อ ๒. กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่ เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะ อรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม. กิเลสกามเป็นไฉน? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสนหา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม. สมจริงดังคำว่า ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิด เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละ ได้โดยง่าย มีความว่า ก็กามทั้งหลายในโลกเป็นของอันนรชนละได้โดยยาก สละได้โดยยาก สลัดได้โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ก้าว ล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอัน นรชนละได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อ ตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะ กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย. [๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ซึ่ง กามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยัง บุคคลอื่นให้หลุดพ้น. [๓๖] คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มีความ ว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ความกำหนัด (๑)- ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความ ปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความ ที่จิตเป็นดังว่าข่าย ความที่จิตเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความที่จิตเป็น ดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็นเพื่อน ความตั้งไว้ เครื่องนำ ไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความ ผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความ หวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความ หวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิด ธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความ ปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาใน นิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ @(๑) ต่อไปนี้จงดูข้อ ๑๔ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่างๆ รากเหง้า แห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำ ตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความ ปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่ สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑. ความแช่มชื่น ในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๔ อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง จักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึง พร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ติดพัน ในสุขเวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันในความไม่มีโรค ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรรเสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่นติดพันในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพันคือ เกี่ยวพัน ผูกพัน ข้อง เกี่ยว หมกมุ่น ในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อม แห่งโสต ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความถึงพร้อมแห่งกาย ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุ แห่งความปรารถนา. [๓๗] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์ เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น. ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยากอย่างไร? คือ สุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่ง กาย ความถึงพร้อมแห่งใจ อันสัตว์พ้นได้ยาก คือหลุดพ้นได้ยาก เปลื้องได้ยาก ปล่อยได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ ยาก. ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อย่างไร? คือ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้พ้นได้ยาก หลุดพ้นได้ยาก ถอนขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้อง ได้ยาก พรากออกได้ยาก ฉุดออกได้ยาก จากสุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่ง ชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจาก ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้. คำว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า สัตว์เหล่านั้นจมอยู่ด้วยตน ย่อม ไม่อาจจะฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ให้ขึ้นได้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ บุคคลนั้น หนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว จักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรจุนทะ บุคคลนั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลสด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่นให้ฝึกฝน ให้อบรม ให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้. สัตว์เหล่านั้นไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่มีใครๆ อื่นที่จะยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึงพ้นได้ไซร้ สัตว์เหล่านั้นก็ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ อนุโลมปฏิบัติ อปัจจนิกปฏิบัติ อนวัตถปฏิบัติ ธัมมานุธัมมาปฏิบัติโดยตนเอง ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น เรี่ยวแรงของ บุรุษ กำลังของบุรุษ ความเพียรของบุรุษ ความบากบั่นบุรุษ ของตนเอง จึงจะพึงพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโธตกมาณพ เราไม่อาจยังใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกให้หลุดพ้น ได้ แต่ท่านรู้เฉพาะอยู่ซึ่งธรรมอันประเสริฐ พึงข้ามห้วงทุกข์นี้ได้ ด้วยประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจักเศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้. สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น นิพพานก็ตั้งอยู่ หนทางไปนิพพานก็ตั้ง อยู่ เราผู้ชักชวนก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นดังนั้น สาวกทั้งหลายของเรา ผู้อันเราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกก็บรรลุถึงนิพพานอันแน่นอนโดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทาง พระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้ หลุดพ้น. [๓๘] คำว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง มีความว่า อนาคตเรียกว่า ข้างหลัง อดีตเรียกว่าข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง อนาคตใกล้อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี เรียกว่าข้างหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี เรียกว่าข้างหน้า. บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหน้า อย่างไร? คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้. บุคคลชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณเป็นของพัวพันด้วย ฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มี จักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลิน อารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่าย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วย ประการอย่างนี้. วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีโสต ดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาลเราได้มีชิวหา ดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มี ใจดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ เพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้. อีก อย่างหนึ่ง บุคคลย่อมยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจด้วยการหัวเราะ การเจรจา การเล่น กับ มาตุคามในกาลก่อน. บุคคลจึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการ อย่างนี้. บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหลังอย่างไร? คือ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้. บุคคลชื่อว่าทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะ เหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีโสตดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ ... มี กลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความ มุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยัง ไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทวราช หรือจักเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ เพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง. [๓๙] คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน มีความว่า คำว่า ซึ่ง กามเหล่านี้ คืออยากได้ ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน เพ้อฝัน ถึงกามคุณ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน. คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามที่มีในก่อน มีความว่า ปรารถนาอยู่ บ่นเพ้ออยู่ รำพันอยู่ ซึ่ง กามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งถามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยัง บุคคลอื่นให้หลุดพ้น. [๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้นปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๔๑] คำว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย มีความว่า กาม ได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ปรารถนา หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาในกามทั้งหลาย. คำว่า ขวนขวาย มีความว่า แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ คนผู้ทำความทะเลาะ ชื่อว่า ขวนขวายในความทะเลาะ คนทำการงาน ชื่อว่า ขวนขวายในการงาน คนผู้เที่ยวไปอยู่ในโคจร ชื่อว่าขวนขวายในโคจร คนผู้เจริญฌาน ชื่อว่าขวนขวายในฌาน ฉันใด แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นเที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวาย ในกาม ฉันนั้น. คำว่า หลงใหล มีความว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง หลงใหล หลงพร้อมอยู่ในกามคุณ ๕ เป็นผู้หลง หลงใหล หลงพร้อม อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย. [๔๒] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า คำว่า ตกต่ำ คือแม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ผู้ไปต่ำ คือสัตว์ที่ไปสู่นรก ไปสู่ดิรัจฉาน- *กำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.
ว่าด้วยตระหนี่ ๕ ประการ
ผู้มีความตระหนี่ อย่างไร? ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ ตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตรหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. นี้ ชื่อว่า ความตระหนี่. ชนผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ไม่รู้จักถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ประมาทอยู่แล้ว ผู้มีความตระหนี่อย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ. สัตว์ที่ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ทั้งหลาย ไม่เชื่อถือ ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้คำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น สัตว์ที่ไม่เชื่อคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. คำว่า สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ ติดแน่น เข้าถึง ติดพัน ติดใจ ข้อง เกี่ยว เกาะเกี่ยว ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ คำส่อเสียด คำหยาบ คำพ้อเจ้อ ความเพ่งเล็ง ความปองร้าย ความเห็นผิด สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ ความคิดอ่าน ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ. [๔๓] คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ มีความว่า คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว คือ เข้าถึงทุกข์ ถึงทุกข์ ประสบทุกข์ ประจวบทุกข์ ถึงมาร ประสบมาร ประจวบมาร ถึงมรณะ ประสบมรณะ ประจวบมรณะเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว. คำว่า ย่อมรำพันอยู่ คือ ย่อมร่ำไรถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพึงอยู่.
ความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ
[๔๔] คำว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ มีความว่า สัตว์ เหล่านั้น แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดไม่แน่ใจ ย่อมพูดถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหลอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจาก ภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ (๑)- คือ จักเป็นสัตว์เกิดในนรก จักเป็นสัตว์เกิดในดิรัจฉาน กำเนิด จักเป็นสัตว์เกิดในเปรตวิสัย จักเป็นมนุษย์ จักเป็นเทวดา จักเป็นสัตว์มีรูป จักเป็น สัตว์ไม่มีรูป จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราทั้งหลายจักมีในอนาคตหรือหนอ หรือจักไม่มีในอนาคต เราทั้งหลาย จักเป็นอะไรหนอแลในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอย่างไรหนอแลในอนาคต เราทั้งหลาย @๑. ต่อไปนี้คือความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ-. เป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรอีกในอนาคตกาล ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า (สัตว์เหล่านั้น ย่อมรำพันว่า) เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ. เพราะฉะนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ. [๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ พึงรู้กรรมอัน ไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติ กรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ทั้ง หลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.
ว่าด้วยสิกขา ๓
[๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็น โทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑. อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความ สำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีล- *สิกขา. อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา. อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ นั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา. สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วย ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบสมาทานประพฤติ. คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความ ควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้ แหละ. [๔๗] คำว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มี ความว่า คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีเหลือ คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวกรรมทั้งสิ้น. คำว่า พึงรู้ว่า เป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา พึงรู้ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลก ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ. [๔๘] คำว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น มี ความว่า สัตว์ผู้เกิดมา ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติโดยชอบ ไม่พึงสมาทานประพฤติ ซึ่งกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุ แห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น.
ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
[๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของน้อย มีความว่า ชีวิต ได้แก่ อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความ เป็นไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์. ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อย เพราะตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยเป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่ เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่. ชีวิตจักเป็นอยู่ ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว. ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วยจิต ดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด- หมื่นสี่พันกัป เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลก นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกันดับไปแล้ว มิ ได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับและขันธ์ เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้ง หลาย ที่ดับไปในปัจจุบันกับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มีในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดแล้วด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์ โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ ทั้งหลาย แปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระ อันไม่ขาดสายเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ตั้งอยู่บนปลาย เหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้รวมกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้า แลบในอากาศ ฉะนั้น. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้. ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลม หายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่อง ด้วยไออุ่น ชีวิตเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ. กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่ง ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็น เหตุเดิม แห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดน เกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลม หายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดีก็มีกำลังทราม ธรรมเหล่านี้มี กำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะ ความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมใดให้ธรรม เหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่งมิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์ เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุ ปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่ เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าเป็นของน้อยเพราะมีกิจ น้อยอย่างนี้. อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็น้อยคือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่ นาน. เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา ... เพราะ เทียบชีวิตของเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตายตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควร ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถาประ- *พันธ์ต่อไปอีกว่า อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะภาวะความ ตาย จะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำ น้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น.
ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มีความว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ผู้มีปัญญาทรงจำ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาทรงจำ ผู้ติเตียนบาป. ปัญญาเรียกว่าธี ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็น ผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็น เครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญา เป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น ธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา [ที่เรียกว่า ธี] นั้น จึงชื่อว่า ธีรา [นักปราชญ์]. อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้มีปัญญาในขันธ์ มีปัญญาในธาตุ มีปัญญาในอายตนะ มี ปัญญาในปฏิจจสมุปบาท มีปัญญาในสติปัฏฐาน มีปัญญาในสัมมัปปธาน มีปัญญาในอิทธิบาท มีปัญญาในอินทรีย์ มีปัญญาในพละ มีปัญญาในโพชฌงค์ มีปัญญาในมรรค มีปัญญาในผล มีปัญญาในนิพพาน ชื่อว่า ธีรา. ผู้มีปัญญาทั้งหลายนั้นได้กล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า ชีวิตมนุษย์น้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไป ตลอดกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ตลอดกาลไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่นาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นักปราชญ์ ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ พึงรู้กรรม อันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึง ประพฤติกรรม อันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นัก- ปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย. [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.
สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อม- *เห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วย ความดิ้นรนเพราะความประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว ด้วยมานะเป็นเครื่อง ผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วย อนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ ด้วยความเสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา ด้วยสุข ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิดในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์ มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความคลอดจาก ครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ด้วยทุกข์ อันเกิดแต่ทุกขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วย ทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางตา โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรค ทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุด ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธ สันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด ขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย ด้วยความปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์ เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ด้วยทุกข์เพราะความตาย แห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ด้วย ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะ ความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก. [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า คำว่าหมู่สัตว์ เป็น ชื่อของสัตว์. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา. คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่ ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว คำว่า ในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหมู่สัตว์นี้ผู้ไปใน ตัณหาในภพทั้งหลาย. [๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลาย ที่เลว คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม- *สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว. คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็น ผู้ถึงมัจจุ ประจวบกับมัจจุ เข้าถึงมัจจุ ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบ กับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมัจจุ ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลาย หลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.
ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่
[๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ มีความว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา. คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ภพน้อยและภพใหญ่ คือ กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิด ในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่า ยังไม่ ปราศจากตัณหา คือยังไม่ปราศจากตัณหา มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหายังไม่สละแล้ว มีตัณหา ยังไม่สำรอกแล้ว มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่. เพราะฉะนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไร ใกล้ปากมัจจุ. [๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้ นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ.
ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง
[๕๖] คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของ เรา ด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑. ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหา มีประมาณเท่าใด ย่อมยึด ถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น ว่าสิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของๆ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว คลังเป็นของๆ เรา ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราแม้ซึ่ง แผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเรา ด้วยตัณหา. ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รถเลี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยน หนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถี ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริงอันใด เห็นปานนี้ และ ทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า หมู่สัตว์แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน เมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไป แห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้น แปรปรวนไปแล้วบ้าง ท่านทั้งหลายจงเห็น จงแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา. [๕๗] คำว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป มีความว่า ฝูง ปลาที่ถูกฝูงกา เหยี่ยว หรือนกยาง จิกฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อมดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรน ทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาในที่มีน้ำน้อย มีน้ำนิดหน่อย มีน้ำแห้ง ไป ฉันใด หมู่สัตว์แม้ผู้ที่มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน เมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความ แปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ใน น้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป. [๕๘] คำว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความ ว่า เห็นแล้ว คือประสบ เทียบเคียง พิจารณา ตรวจตรา ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษนั้น ใน เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึด ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ นรชนพึงละความยึดถือว่า ของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ยึดถือว่าของเรา ซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐสุตมุตวิญญาตัพพธรรม พึงประพฤติไป คือ พึงอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ. [๕๙] คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย มีความว่าในภพทั้งหลาย คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาเรียกว่าเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย คือ ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือ ไม่ทำซึ่งความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ความ ชอบใจ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะในภพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้ มีพระภาคจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่า ของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษ แม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ ยึดถือว่าของเราประพฤติ. [๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐา รมณ์และสุตารมณ์. [๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง มีความว่า ที่สุด คือ ผัสสะเป็นที่ สุดอัน ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. อดีตเป็นที่สุดอัน ๑ อนาคตเป็นที่สุดอัน ๒. สุขเวทนา เป็นที่สุดอัน ๑ ทุกขเวทนาเป็นที่สุดอัน ๒. นามเป็นที่สุดอัน ๑ รูปเป็นที่สุดอัน ๒. อายตนะ ภายใน ๖ เป็นที่สุดอัน ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอัน ๒. สักกายะเป็นที่สุดอัน ๑ สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลินคือความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุด ทั้งสอง คือพึงกำจัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุดทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดความพอใจ ในที่สุดทั้งสอง.
ว่าด้วยผัสสะต่างๆ
[๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่ จักขุ สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส (สัมผัส ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะ เป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้อง พร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง ผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ
ญาตปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส นี้ โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆ สัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็น อัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา. ตีรณปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือ ย่อม พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุง แต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่าน ทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา. คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ. บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบัน- *กาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ. [๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น มีความว่า กรรมใด คือ ธีรชน ย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ. ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างไร? ธีรชนย่อมติเตียน ตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำ มโนสุจริต. เราทำปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน ไม่ทำความ งดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุส วาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ. เราทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมา- *ทิฏฐิ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อม ติเตียนตนว่า เราไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติ ปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. ไม่ทำกรรมที่ ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น. [๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ มีความว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง ผู้ดำเนิน ด้วยปัญญา (บัณฑิต) ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย กิเลส. ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้า ไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่ เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดใน ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์. [๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อม ไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า. [๖๖] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่าสัญญา ได้แก่ กาม- *สัญญา พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา สัญญาใดเห็น ปานนี้ คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่า สัญญา. คำว่า กำหนดรู้สัญญา แล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ญาตปริญญาเป็นไฉน? มุนีย่อมรู้สัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้กามสัญญา นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า ญาตปริญญา. ตีรณปริญญาเป็นไฉน? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของอื่น (เป็นของไม่มีอำนาจ) เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็น อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะ ในสัญญาใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ อันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา ด้วยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหาน- *ปริญญา. คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า พึงข้าม โอฆะได้ คือพึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้. [๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้เรียกว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า มุนี มีความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคล ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ. โมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็น มุนี) มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑. โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ วาจาปริญญา มรรคอันสหรคด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ ฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้ เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง. บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็น มุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็น มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว. ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี. อาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่า ใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่า อาคารมุนี. อนาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอนาคารมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี. พระอรหันต์ ทั้งหลายชื่อว่าอเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี. พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใด เป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียก ว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น และบุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้น เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรม ของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็น เครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย ดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดาและ มนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. มุนีละความติดด้วย ตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติด พัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความยึดถือทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ ทั้งหลาย. [๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ มีความว่า ลูกศร ได้แก่ลูกศร ๗ อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือความสงสัย. ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหม อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลง ฉันทะ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึง อนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ เราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้ปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่ยัง ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญาโดย อุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความไม่พอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความ เป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้ กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ใน กุศลธรรมนั้นว่า เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึง เจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่. [๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ คือ อัตภาพของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ อัตภาพในปรโลก. ไม่หวังโลกนี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณของผู้อื่น. ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คือ อายตนะ ภายนอก ๖. ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือ เทวโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้าคืออรูปธาตุ. ไม่หวัง ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่พอใจ ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่หวัง โลกนี้และโลกหน้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อมไม่ หวังโลกนี้ และโลกหน้า ดังนี้.
จบ คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒.
-----------------------------------------------------
ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓
ว่าด้วยเดียรถีย์กับมุนี
[๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่า จริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะ เหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหนๆ. [๗๑] คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ มีความว่า เดียรถีย์เหล่านั้น มีหัวใจชั่ว คือ มีใจอันโทษประทุษร้าย มีใจผิด มีใจผิดเฉพาะ มีใจอันโทสะมากระทบ มีใจ อันโทสะมากระทบเฉพาะ มีใจอาฆาต มีใจอาฆาตเฉพาะแล้ว ย่อมติเตียน คือ เข้าไปติเตียน พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้. [๗๒] คำว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม มีความว่า ชนเหล่าใด เชื่อถือ กำหนดอยู่ น้อมใจเชื่อต่อเดียรถีย์เหล่านั้น เข้าใจว่าจริง มีความสำคัญว่าจริง เข้าใจ ว่าแท้ มีความสำคัญว่าแท้ เข้าใจว่าแน่ มีความสำคัญว่าแน่ เข้าใจว่าเป็นจริง มีความสำคัญ ว่าเป็นจริง เข้าใจว่าไม่วิปริต มีความสำคัญว่าไม่วิปริต ชนเหล่านั้นก็ติเตียน คือเข้าไปติเตียน พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ด้วยคำไม่จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่า จริง ก็ติเตียนตาม. [๗๓] คำว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว มีความว่า วาทะนั้นเป็น วาทะเกิดแล้ว เป็นวาทะเกิดพร้อม เกิดแล้ว เกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว คือ เสียงประกาศแต่บุคคลอื่น คำด่า คำเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ ด้วยคำอัน ไม่จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว. คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีย่อมไม่เข้าถึง มีความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น ธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือผู้ถึงญาณที่ชื่อว่าโมนะ ฯลฯ บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วง ธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย ดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. บุคคลใดจะเข้าถึงวาทะติเตียน บุคคลนั้น ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เป็นผู้กระทำ ย่อมเข้าถึงวาทะ ติเตียนด้วยความเป็นผู้กระทำ (ผู้กล่าวหา) ๑ เป็นผู้ถูกเขาว่า เขาติเตียน ย่อมโกรธ ขัดเคือง โต้ตอบ ทำความโกรธ ความเคือง ความชัง ให้ปรากฏว่า เราไม่เป็นผู้กระทำ ๑. บุคคลใดจะเข้าถึงวาทะติเตียน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงวาทะ ติเตียนด้วยเหตุ ๒ ประการนี้. มุนีไม่เข้าถึงวาทะติเตียนด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เป็นผู้ไม่ กระทำ ย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนด้วยความเป็นผู้ไม่กระทำ ๑ เป็นผู้ถูกเขาว่า เขาติเตียน ย่อม ไม่โกรธ ไม่เคือง ไม่ได้ตอบ ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความชังให้ปรากฏว่า เราไม่เป็น ผู้กระทำ ๑. มุนีย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นวาทะติเตียนด้วยเหตุ ๒ ประการนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว.
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิต ๓
[๗๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิตจึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหนๆ มีความว่า คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะเหตุนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ความเป็นผู้มีจิตอันโทสะมากระทบก็ดี ความเป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิต เกิดขึ้นก็ดี ย่อมไม่มีแก่มุนี. กิเลสเครื่องตรึงจิต ๕ อย่างก็ดี กิเลสเครื่องตรึงจิต ๓ อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ดี ย่อมไม่มี คือย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ กิเลสนั้นๆ เป็นกิเลสอันมุนีละเสียแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่ ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุกๆ แห่งในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ ฉะนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหนๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่า จริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะ เหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหนๆ. [๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ พึงล่วงทิฏฐิของ ตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็ พึงกล่าวอย่างนั้น.
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๗๖] คำว่า พึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า มีความว่า เดียรถีย์เหล่าใด มีทิฏฐิ อย่างนี้ มีความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์อย่างนี้ว่า พวกเราฆ่านาง ปริพาชิกาชื่อสุนทรีเสียแล้ว ประกาศโทษของพวกสมณศากยบุตรแล้ว จักนำคืนมาซึ่งลาภยศ สักการะสัมมานะนั้นโดยอุบายอย่างนี้ เดียรถีย์เหล่านั้น ไม่อาจล่วงทิฏฐิ ความพอใจ ความ ชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้. โดยที่แท้ ความเสื่อมยศนั่นแหละ ก็กลับ ย้อนมาถึงพวกเดียรถีย์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า บุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่างไร. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้น อันบุคคลนั้นสมาทาน ถือเอา ยึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการอย่างนี้. บุคคลใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ... ชีพเป็นอื่นสรีระ ก็เป็นอื่น ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า บุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตน ได้อย่างไร. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นอันบุคคลนั้นสมาทาน ถือเอา ยึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิ ของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการอย่างนี้. [๗๗] คำว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ มีความว่า ผู้ไป ตามความพอใจ คือบุคคลนั้น ย่อมไป ออกไป ลอยไป เคลื่อนไป ตามทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิของตน เหมือนบุคคล ย่อมไป ออกไป เลื่อนไป เคลื่อนไป ด้วยยานช้าง ยานรถ ยานม้า ยานโค ยานแพะ ยานแกะ ยานอูฐ ยานลา ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไปตามความพอใจ. คำว่า น้อมใจไป ในทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ. [๗๘] คำว่า บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง มีความว่า บุคคลกระทำให้เต็ม ให้ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร คือยังทิฏฐินั้นให้ เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะด้วยตนเองว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทานี้อันพระ ศาสดาทรงบัญญัติดีแล้ว มรรคนี้เป็นเครื่องนำออก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อกระทำให้ เต็มด้วยตนเอง. [๗๙] คำว่า รู้อย่างใดก็พึงกล่าวอย่างนั้น มีความว่า บุคคลรู้อย่างใดก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น. คือรู้อย่างใดว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น. รู้อย่างใดว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้อย่างใดก็พึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ พึงล่วงทิฏฐิ ของตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น. [๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตนแก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาด ทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม. [๘๑] คำว่า ชนใด ... ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความว่า คำว่า ใด คือเช่นใด ประกอบอย่างใด ชนิดอย่างใด มีประการอย่างใดถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์. คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
ว่าด้วยศีลและวัตร
เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณ น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ใน สิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร. เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน? ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) ๘ คือ อารัญญิ- *กังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือพระมหาสัตว์ทรงประคองตั้ง พระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียรจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์ (ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานความเพียร เห็นปานนี้ ก็ เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า เมื่อลูกศรคือตัณหาอันเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออก จากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้ง จิตว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เพียงใด เราจักไม่ลุก ขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น ... จักไม่ลงจากที่จงกรม ... จักไม่ออกจากวิหาร ... จักไม่ออกจากเรือน มีหลังคาแถบเดียว ... จักไม่ออกจากปราสาท ... จักไม่ออกจากเรือนโล้น ... จักไม่ออกจากถ้ำ ... จักไม่ออกจากถ้ำภูเขา ... จักไม่ออกจากกุฏิ ... จักไม่ออกจากเรือนยอด ... จักไม่ออกจากป้อม ... จักไม่ออกจากโรงกลม ... จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ... จักไม่ออกจากศาลาที่บำรุง ...จัก ไม่ออกจากมณฑป ... จักไม่ออกจากโคนต้นไม้ เพียงนั้น ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็น ปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเช้าวันนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็น ปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเที่ยงวันนี้แหละ ... ในเย็นนี้ แหละ ... ในกาลก่อนภัตนี้แหละ ... ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ... ในยามต้นนี้แหละ ... ใน ยามกลางนี้แหละ ... ในยามหลังนี้แหละ ... ในข้างแรมนี้แหละ ... ในข้างขึ้นนี้แหละ ... ใน ฤดูฝนนี้แหละ ... ในฤดูหนาวนี้แหละ ... ในฤดูร้อนนี้แหละ ... ในตอนวัยต้นนี้แหละ ... ใน ตอนวัยกลางนี้แหละ ... ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้ แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. คำว่า ชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใด ... ย่อมบอกศีลและวัตรของตน. [๘๒] คำว่า ไม่มีใครถาม ย่อมบอก ... แก่ชนเหล่าอื่น มีความว่า ชนเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่าไม่มีใครถาม คือ อันใครๆ ไม่ถาม ไม่ไต่ถาม ไม่ขอร้อง ไม่เชิญ ไม่เชื้อเชิญ. คำว่า ย่อมบอก คือ ย่อม อวดอ้างศีลบ้าง วัตรบ้าง ศีลและวัตรบ้างของตน. (อธิบายว่า) ย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและ วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปร่างงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการเชื้อเชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะ บ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง บ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต บ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระ สูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็น ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญ- *จัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่มี ใครถาม ย่อมบอก ... แก่ชนเหล่าอื่น. [๘๓] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม มีความว่าฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาด ในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ ฉลาดเหล่านั้นกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอนารยชน ธรรมนั้น ไม่ใช่ของพวกอริยชน ธรรมนั้นของพวกคนพาล ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกบัณฑิต ธรรมนั้นของ พวกอสัตบุรุษ ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้น ว่าไม่มีอริยธรรม. [๘๔] คำว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง มีความว่า อัตตาเรียกว่าตน. คำว่า ย่อมบอกเอง คือ ย่อมอวดอ้างซึ่งตนเอง คือ ย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูป งามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการเชื้อเชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษา บ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภค สมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรง ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา- *สัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตนแก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาด ทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม. [๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้วไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็น ดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุ ฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่ไหนๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าว ภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม.
ผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ
[๘๖] คำว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว มีความว่า ชื่อว่าผู้สงบ เพราะ เป็นผู้สงบ คือระงับ เข้าไประงับ เผา ดับ ปราศจาก ความสงบระงับ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคือ อกุศลธรรมทั้งปวง จึงชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไป สงบ ดับ สงบระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้สงบ. คำว่า ภิกษุ มีความว่า เพราะเป็นผู้ ทำลายธรรม ๗ ประการ จึงชื่อว่าภิกษุ คือ ทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะและมานะ. ภิกษุนั้นทำลายแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นปัจจัยแห่ง ความมัวหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสภิยะ ผู้ใดควรแก่การชมเชยเหล่านี้ว่าถึงปรินิพพานแล้ว ด้วย ธรรมเป็นหนทางอันตนให้เจริญ ข้ามความสงสัยเสียแล้ว ละแล้วซึ่ง ความเสื่อมและความเจริญ อยู่จบแล้วและเป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้ นั้นชื่อว่าภิกษุ. อนึ่ง ผู้สงบ ชื่อว่าภิกษุ. คำว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว มีความว่า เพราะเป็นผู้ดับความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบแล้ว ดับกิเลสในตนแล้ว. [๘๗] คำว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้ มีความว่า ศัพท์ว่า อิติหํ (เรา เป็นดังนี้) นั้น เป็นศัพท์ต่อบท เกี่ยวข้องแห่งบท บริบูรณ์แห่งบท เป็นที่ประชุมอักษร เป็น ความสละสลวยแห่งพยัญชนะ ศัพท์ว่า อิติหํ นั้น เป็นไปตามลำดับบท. คำว่าไม่อวดในศีล ทั้งหลาย มีความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด คือย่อมอวด ย่อม โอ้อวดว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตร บ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง. ภิกษุนี้ ย่อมไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนั้น คือ เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้.
ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม
[๘๘] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม มีความว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมกล่าว คือกล่าวบอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอารยชน ธรรมนั้น มิใช่ของพวกอนารยชน ธรรมนั้นของบัณฑิต ธรรมนั้นมิใช่ของคนพาล ธรรมนั้นของพวก สัตบุรุษ ธรรมนั้นมิใช่ของพวกอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้น ว่ามีอริยธรรม. [๘๙] คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่ไหนๆ ในโลก มีความว่า ภิกษุใด คือ พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นไปแล้ว. คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น คือ กิเลสเป็น เหตุฟูขึ้น ๗ ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม. กิเลสเป็น เหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มี คือไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละ เสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า ไปที่ไหนๆ คือ ในที่ไหนๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุกๆ แห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้ง ภายในทั้งภายนอก. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่ไหนๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็น ดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่า มีอริยธรรม อนึ่ง กิเลสเป็น เหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่ไหนๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าว ภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม.
ว่าด้วยทิฏฐิธรรม
[๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้น กำหนด แล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่งกระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่และ บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ที่เห็นอยู่ ในตนและอาศัยสันติที่กำเริบที่ อาศัยกันเกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น. [๙๑] คำว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้น กำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วย ตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ กำหนดด้วยทิฏฐิ. คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ปรุงแต่งวิเศษแล้ว ปรุง แต่งเฉพาะแล้ว ให้ตั้งลงพร้อมแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ที่ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เป็นธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้น ไป มีความเสื่อมไป มีความสำรอก มีความดับเป็นธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่ปัจจัย ปรุงแต่ง. คำว่า ใด คือ แห่งเจ้าทิฏฐิ ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า ทิฏฐิธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุง แต่ง. [๙๒] คำว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ มีความว่า คำว่า กระทำ ไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่การกระทำไว้ในเบื้องหน้าสองอย่างคือ การกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา ๑ การกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า การกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้น ไม่ละการกระทำไว้ใน เบื้องหน้าด้วยตัณหา ไม่สละคืนการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละการกระทำ ไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา เพราะเป็นผู้ไม่สละคืนการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ บุคคล นั้นชื่อว่า เที่ยวทำตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้าง ไว้ในเบื้องหน้า คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีตัณหาเป็นธงชัย มีตัณหาเป็นธงยอด มีตัณหาเป็นใหญ่ มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็นใหญ่ เป็นผู้อันตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้างแวดล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า. คำว่า มีอยู่ คือย่อมมี ย่อมปรากฏ ย่อมเข้าไปได้. คำว่า ไม่ขาวสะอาด คือไม่ขาวสะอาด ไม่ผ่องแผ้ว ไม่บริสุทธิ์ คือเศร้าหมอง มัวหมอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่. [๙๓] คำว่า อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน มีความว่า ศัพท์ว่า ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น ยํ อตฺตนิ. ทิฏฐิเรียกว่า ตน. บุคคลนั้น ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑. อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้เป็นไฉน? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด พวกสาวกเป็น ผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ศาสดา ผู้มีทิฏฐิ อย่างนั้น และย่อมได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่มีศาสดานั้น เป็นเหตุ นี้ชื่อว่า อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้. อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้าเป็นไฉน? บุคคลนั้นย่อมหวังผลในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็น พระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมดจดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ดังนี้ นี้ชื่อว่า อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้า. บุคคลนั้นย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งอานิสงส์แห่ง ทิฏฐิของตน ๒ ประการนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อานิสงส์ ที่เห็นอยู่ในตน.
ว่าด้วยสันติ ๓
[๙๔] คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์และอาศัยสันติ ที่กำเริบ ที่อาศัยกันเกิดขึ้น มีความว่า สันติมี ๓ ประการ คือ สันติโดยส่วนเดียว ๑ สันติโดยองค์นั้นๆ ๑ สันติโดย สมมติ ๑. สันติโดยส่วนเดียวเป็นไฉน? อมตนิพพาน คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหา เรียกว่า สันติโดยส่วนเดียว นี้ชื่อว่า สันติโดยส่วนเดียว. สันติโดยองค์นั้นๆ เป็นไฉน? บุคคลผู้บรรลุปฐมฌาน มีนิวรณ์สงบไป. ผู้บรรลุ ทุติยฌานมีวิตกและวิจารณ์สงบไป. ผู้บรรลุตติยฌานมีปีติสงบไป. ผู้บรรลุจตุตถฌานมีสุขและ ทุกข์สงบไป. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา สงบไป. ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีอากาสานัญจายตนสัญญาสงบไป. ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีวิญญาณัญจายตนสัญญาสงบไป. ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีอากิญจัญญายตนสัญญา สงบไป. นี้ชื่อว่า สันติโดยองค์นั้นๆ . สันติโดยสมมติเป็นไฉน? ทิฏฐิ ๖๒ เป็นทิฏฐิสงบไป เรียกว่า สันติโดยสมมติ. อนึ่ง สันติโดยสมมติ พระผู้มีพระภาคประสงค์เอาว่า สันติ ในคาถานี้. คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์และอาศัยสันติที่กำเริบ ที่อาศัยกันเกิดขึ้น มีความว่า คำว่า อาศัย คือพัวพัน ติดพัน ติดใจ น้อมใจถึง (อานิสงส์นั้น) และถึงสันติ อันกำเริบได้ คือกำเริบทั่ว เอนไป เอียงไป หวั่นไหว กระทบกระทั่ง อันตนกำหนดแล้ว อันตนกำหนดทั่วแล้ว ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป สำรอกไป ดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ และอาศัย สันติอันกำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง กระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ และบุคคล นั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน และอาศัยสันติที่กำเริบ อันอาศัย กันเกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.
ว่าด้วยการถือมั่น
[๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย การถึง ความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือ ธรรมบ้าง. [๙๖] คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย มีความว่า คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ คือ ความถือมั่น ยึดถือมั่นว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือความยึดมั่น ถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยงสิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ... ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่ง อื่นเปล่า ดังนี้ ชื่อว่าความถือมั่นด้วยทิฏฐิ. คำว่า ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย คือ ย่อม เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยยาก ข้ามโดยยาก ก้าวล่วงโดยยาก ประพฤติล่วงโดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย. [๙๗] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น มีความว่า คำว่า ในธรรม ทั้งหลาย คือในทิฏฐิ ๖๒. คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เห็นแจ้งแล้ว จึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อ ว่าสิ่งนี้จริง แท้ แน่ เป็นสภาพจริง เป็นตามจริง มิได้วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. [๙๘] คำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน ... มีความว่า คำว่า เพราะ ฉะนั้น คือ เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น. คำว่า นรชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในความถือมั่นเหล่านั้น คือ ในความถือมั่นด้วยทิฏฐิทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน.
ว่าด้วยการสละ ๒ อย่าง
[๙๙] คำว่า ย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง มีความว่า คำว่า ย่อมสละ คือ ย่อมสละด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ สละด้วยความตัดสินของผู้อื่น ๑ ไม่สำเร็จประโยชน์เองจึง สละ ๑. นรชนย่อมสละด้วยความตัดสินของผู้อื่นอย่างไร? ผู้อื่นย่อมตัดสินว่า ศาสดานั้นไม่ ใช่สัพพัญญู ธรรมแห่งศาสดานั้นไม่เป็นธรรมอันศาสดากล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคไม่เป็นทางนำ ออกจากทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีในลัทธินี้ ประชาชน ไม่หมดจดไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบเพราะลัทธินั้น ลัทธินั้นเลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. ผู้อื่นย่อมตัดสินอย่างนี้ เมื่อถูกผู้อื่นตัดสินให้อย่างนี้ ย่อมสละศาสดา สละธรรมที่ศาสดานั้นบอก สละหมู่คณะ สละทิฏฐิ สละปฏิปทา สละมรรค. นรชน ย่อมสละด้วยความตัดสินของผู้อื่น อย่างนี้. นรชนไม่สำเร็จประโยชน์เองจึงสละอย่างไร? นรชนไม่ยังศีลให้สำเร็จประโยชน์ ย่อม สละศีล ไม่ยังวัตรให้สำเร็จประโยชน์ ย่อมสละวัตรไม่ยังศีลและวัตรให้สำเร็จประโยชน์ ย่อม สละศีล และวัตร. นรชนไม่สำเร็จประโยชน์เองจึงสละอย่างนี้. คำว่า ย่อมยึดถือธรรมบ้าง คือ นรชนย่อมถือ ย่อมยึดมั่น ย่อมถือมั่นซึ่งศาสดา ธรรมที่ศาสดานั้นบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมสละธรรม บ้าง. ยึดถือธรรมบ้าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย การถึงความ ตกลงในธรรม ทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในการถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือ ธรรมบ้าง. [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มี ปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.
ว่าด้วยผู้มีปัญญา
[๑๐๑] คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหนๆ ในโลก มีความว่า ปัญญา เรียกว่าโธนา ได้แก่ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดความดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้า ไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญา เครื่องจำแนก ปัญญาเครื่องคิด ปัญญาเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญา เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเครื่องเจาะแทง ปัญญาเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัดล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน ทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงเรียกว่า โธนา. อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้างชำระ ซักฟอกมิจฉาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ... ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจา ... ซึ่งมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะ ... ซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ... ซึ่งมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะ ... ซึ่งมิจฉาวายามะ สัมมาสติ ... ซึ่งมิจฉาสติ สัมมาสมาธิ ... ซึ่งมิจฉาสมาธิ สัมมาญาณะ ... ซึ่งมิจฉาญาณะ สัมมาวิมุตติเป็นเครื่องกำจัด ล้างชำระ ซักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ กำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรม ทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบ แล้วด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำจัดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา. พระอรหันต์นั้น กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุกๆ แห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้ง ภายในทั้งภายนอก. คำว่าในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก. คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. คำว่า ในภพน้อยและในภพใหญ่ ได้แก่ในภาพน้อยและภาพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความ เกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้น แห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่าทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหนๆ ในโลก คือ ทิฏฐิที่กำหนด กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง ตั้งมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ทั้งหลาย ย่อมไม่มี มิได้มีไม่ปรากฏไม่เข้าไปได้ แก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก คือ ย่อมเป็นทิฏฐิ อันบุคคลผู้มีปัญญานั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก.
ว่าด้วยมารยาและมานะ
[๑๐๒] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว มีความว่าความประพฤติลวง เรียกว่ามารยา. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือย่อม ปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา (ว่าเราประพฤติทุจริต) ดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ย่อมกล่าว วาจาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใครๆ อย่ารู้เรา. ความลวง ความเป็น ผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปิด ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนเร้น ความปิด ความปกปิด ความไม่ทำให้ตื้น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี ความกระทำชั่วเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง. คำว่า มานะ ได้แก่ความถือตัวอย่าง ๑ คือความที่จิตใฝ่สูง. ความถือตัว ๒ อย่างคือ ความยกตน ๑ ความข่มผู้อื่น ๑. ความถือตัว ๓ อย่าง คือความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑. ความถือตัว ๔ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวให้ เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความ สุข ๑. ความถือตัว ๕ อย่างคือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ยังความ ถือตัวให้เกิด ว่าเราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ยังความ ถือตัวให้เกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. ความ ถือตัว ๖ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดด้วยความถึงพร้อมแห่งจักษุ ... ความถึงพร้อมแห่ง หู ... ความถึงพร้อมแห่งจมูก ... ความถึงพร้อมแห่งลิ้น ... ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อม แห่งใจ. ความถือตัว ๗ อย่างคือ ความถือตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวและความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวเลว ๑ ความถือตัวยิ่ง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑ ความถือตัว ๘ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิด เพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ยัง ความถือตัวให้เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ยังความถือตัวให้ เกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะนินทา ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะสุข ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะทุกข์ ๑ ความถือตัว ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ เสมอกับคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนเลว ๑. ความถือตัว ๑๐ อย่าง คือ บุคคล บางคนในโลกนี้ยังความถือตัวให้เกิดเพราะชาติ ๑ เพราะโคตร ๑ เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑ เพราะความเป็นผู้มีรูปงาม ๑ เพราะทรัพย์ ๑ เพราะการเชื้อเชิญ ๑ เพราะหน้าที่การงาน ๑ เพราะ หลักแหล่งศิลปศาสตร์ ๑ เพราะวิทยฐานะ ๑ เพราะการศึกษา ๑ เพราะปฏิภาณ ๑ เพราะวัตถุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ (เกิดเป็น ๑๒) ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใคร่สูงดุจธง นี้เรียกว่า ความถือตัว. คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือบุคคลผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา ทำให้หมด ทำให้ไม่มีซึ่งมารยาและมานะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ ได้แล้ว.
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง
[๑๐๓] คำว่า (บุคคลผู้มีปัญญานั้น) เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลส อะไรเล่า มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง ได้แก่กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลส เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่อง เข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงชื่อ ว่า ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง. บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึงความ ฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันผู้มีปัญญานั้นละ แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว จะพึงไปสู่คติทั้งหลายด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็น สัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์ มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญาหรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่. บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะอันเป็นเครื่องไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า
ทิฏฐิ ที่กำหนด เพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อม ไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญา ละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงจะพึงไปด้วย กิเลสอะไรเล่า. [๑๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคล ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้ว ซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ. [๑๐๕] คำว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง ได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อ ว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลนั้นไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ไม่สละคืนกิเลสเครื่อง เข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ไม่สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึง ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันบุคคล นั้นไม่ละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่ละกิเลสเครื่องปรุงแต่ง จึงย่อมเข้าถึง คือเข้าไปถึง รับ ถือมั่น ยึด มั่นวาทะติเตียนโดยคติว่า เป็นสัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็น มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้า ถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย. [๑๐๖] คำว่า ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเครื่องเข้าถึง คือตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ. บุคคลนั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนซึ่งกิเลสเครื่องเข้าถึง คือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งอันบุคคลเหล่านั้นละแล้ว เพราะเป็น ผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว ใครๆ จะพึงกล่าวคติของบุคคลนั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิด ในนรก ฯลฯ หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะเครื่องกล่าว บอก พูด แสดง แถลงได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า.
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๑๐๗] คำว่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลส เครื่องเข้าถึงนั้น มีความว่า ทิฏฐิถือว่ามีตน ได้แก่สัสสตทิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่ามีตน คือสิ่งที่ถือย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน คือสิ่งที่พึงปล่อยย่อม ไม่มี. ผู้ใดมีสิ่งที่ถือ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้นั้นชื่อว่ามีสิ่งที่ถือ พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและความปล่อย ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมเสียแล้ว. พระอรหันต์นั้นอยู่จบพรหมจรรย์เป็นเครื่องอยู่ ประพฤติธรรมเป็นเครื่องประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มี กิเลสเครื่องเข้าถึง. [๑๐๘] คำว่า เพราะบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้ว ซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้วทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดแล้ว คือกำจัด กำจัดดี กำจัดออก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิ ทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย ใครๆ พึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคล ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัด เสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ ดังนี้.
จบทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓.
-----------------------------------------------------
สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๔
[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดี ย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความหมดจด
[๑๑๐] คำว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง มีความว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด คือเราย่อมเห็น ย่อมแลดู เพ่งดู ตรวจดู พิจารณาเห็นนรชน ผู้หมดจด. คำว่า ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง คือ ถึงความเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ถึงธรรมอันเกษม ถึงธรรมเป็นที่ต้านทาน ถึงธรรมเป็นที่เว้น ถึงธรรมเป็นสรณะ ถึงธรรมเป็นที่ไปข้างหน้า ถึงธรรมไม่มีภัย ถึงธรรมไม่เคลื่อน ถึงธรรมไม่ตาย ถึงนิพพาน เป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง. [๑๑๑] คำว่า ความหมดจดดี ย่อมมีแก่นรชน เพราะความเห็น มีความว่า ความ หมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ความพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือ นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ เพราะความ เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น. [๑๑๒] คำว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ มีความว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะ คือ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดอยู่อย่างนี้ รู้แล้ว คือทราบแล้ว สอบสวนแล้ว พิจารณาแล้ว ตรวจตราแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความเห็นนี้ เป็นเยี่ยม คือ เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน เป็นสูงสุด เป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้. [๑๑๓] คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณา เห็นความหมดจด มีความว่า บุคคลใดย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณา เห็นความหมดจด. คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้น เป็นญาณ มีความว่า บุคคลนั้นย่อมเชื่อ ความเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ ว่าเป็นญาณ เป็นทาง เป็นคลอง เป็นเครื่องนำออก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดี ย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด. [๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้น ย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.
ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น
[๑๑๕] คำว่า หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น มีความว่า หากว่า ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือ นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยความเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น. [๑๑๖] คำว่า หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ มีความว่า หากว่านรชน ย่อมละชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ได้ด้วยความเห็นรูป ด้วยจักษุวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้. [๑๑๗] คำว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น มีความว่า นรชน ย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบด้วยมรรคอื่น คือ มรรค อันไม่หมดจด ปฏิปทาผิด ทางอันไม่นำออก นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘. คำว่า ผู้ยังมีอุปธิ คือ ยังมีราคะ โทสะ โมหะ มานะ ตัณหา ทิฏฐิ กิเลส อุปาทาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ ด้วยมรรคอื่น. [๑๑๘] คำว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น มีความว่า ทิฏฐิ นั้นแหละย่อมบอกบุคคลนั้นว่า บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต. แม้เพราะเหตุนี้ คำว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น คือ เป็นผู้พูด บอก กล่าว แสดง แถลงอยู่อย่างนั้น คือ เป็นผู้พูด บอก กล่าว แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระ ก็อันนั้น ... ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้ แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น หรือว่า นรชนนั้น ย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น. [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น ในอารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดใน บุญและบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้. [๑๒๐] คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีล และวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น มีความว่า ศัพท์ว่า น เป็นปฏิเสธ คำว่า พราหมณ์ มีความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ คือ เป็นผู้ลอย สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ. และบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ นั้นลอยเสียแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง ให้เกิดใน ภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสภิยะ บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น ด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วง สงสารได้แล้ว อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์.
ว่าด้วยการเชื่อถือว่าเป็นมงคล ไม่เป็นมงคล
คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น มีความว่า พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดพิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ โดยมรรคอื่น คือ โดยมรรคอันไม่หมดจด ปฏิปทาผิด ทางอันไม่นำออกนอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น. คำว่า ในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ มีความว่า สมณพราหมณ์ บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเชื่อถือการเห็นรูป บางอย่างว่า เป็นมงคล ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปบางอย่างว่า ไม่เป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเหล่าไหนว่าเป็นมงคล? สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมเห็นรูปทั้งหลายที่ถึงเหตุเป็นมงคลยิ่งคือ เห็นนกแอ่นลม เห็นผล มะตูมอ่อนที่เกิดขึ้นโดยปุสสฤกษ์ เห็นหญิงมีครรภ์ เห็นคนที่ให้เด็กหญิงขึ้นคอเดินไป เห็น หม้อน้ำเต็ม เห็นปลาตะเพียน เห็นม้าอาชาไนย เห็นรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย เห็นโคตัวผู้ เห็นนางโคด่าง ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่าเป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือว่าความเห็นรูปเหล่าไหนว่าไม่เป็นมงคล? สมณ- *พราหมณ์เหล่านั้น เห็นกองฟาง เห็นหม้อเปรียง เห็นหม้อเปล่า เห็นนักฟ้อน เห็นสมณะ เปลือย เห็นลา เห็นยานที่เทียมด้วยลา เห็นยานที่เทียมด้วยพาหนะตัวเดียว เห็นคนตาบอด เห็นคนง่อย เป็นคนกระจอก เป็นคนเปลี้ย เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บ เห็นคนตาย ย่อมเชื่อ ถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่าไม่เป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรารถนาความหมดจดด้วย การเห็นรูป ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นรูป. มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยการได้ยินเสียง สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่าเป็นมงคล ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่าง ว่าไม่เป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่าเป็นมงคล? สมณ- *พราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมได้ยินเสียงทั้งหลายที่ถึงเหตุเป็นมงคลยิ่ง คือ ย่อมได้ยิน เสียงว่าเจริญ เสียงว่าเจริญอยู่ เสียงว่าเต็มแล้ว เสียงว่าขาว เสียงไม่เศร้าโศก เสียงว่ามีใจดี เสียงว่าฤกษ์ดี เสียงว่ามงคลดี เสียงว่ามีศิริ หรือเสียงว่าเจริญด้วยศิริ ย่อมเชื่อถือการได้ยิน เสียงเห็นปานนี้ว่าเป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่าไม่เป็นมงคล? สมณ- *พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้ยินเสียงว่าคนบอด เสียงว่าคนง่อย เสียงว่าคนกระจอก เสียงว่า คนเปลี้ย เสียงว่าคนแก่ เสียงว่าคนเจ็บ เสียงว่าคนตาย เสียงว่าถูกตัด เสียงว่าถูกทำลาย เสียงว่าไฟไหม้ เสียงว่าของหาย หรือเสียงว่าของไม่มี ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเห็นปานนี้ ว่าไม่เป็นมงคล. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมปรารถนาความหมดจดด้วยการได้ยินเสียง ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการได้ยินเสียง.
ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีลและวัตร
มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อม เชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ พ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ ละเมิดศีล. ปริพาชกผู้เป็นบุตรนางปริพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรช่างไม้ เรา ย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรช่างไม้ ปุริสบุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย ๑ ย่อมไม่ กล่าววาจาอันลามก ๑ ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก ๑ ย่อมไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ ๑ ดูกรช่างไม้ เราย่อมบัญญัติ ปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึง พร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ ไม่ได้. สมณพราหมณ์บางพวกปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อ ถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น รอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิด ศีล อย่างนี้เทียว. มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็น ผู้ประพฤติหัตถีวัตร (ประพฤติอย่างกิริยาช้าง) บ้าง ประพฤติอัสสวัตรบ้าง ประพฤติโควัตรบ้าง ประพฤติกุกกุรวัตรบ้าง ประพฤติกากวัตรบ้าง ประพฤติวาสุเทววัตรบ้าง ประพฤติพลเทววัตรบ้าง ประพฤติปุณณภัททวัตรบ้าง ประพฤติมณีภัททวัตรบ้าง ประพฤติอัคคิวัตรบ้าง ประพฤตินาควัตรบ้าง ประพฤติสุปัณณวัตรบ้าง ประพฤติยักขวัตรบ้าง ประพฤติอสุรวัตรบ้าง ประพฤติคันธัพพวัตรบ้าง ประพฤติมหาราชวัตรบ้าง ประพฤติจันทวัตรบ้าง ประพฤติสุริยวัตรบ้าง ประพฤติอินทวัตรบ้าง ประพฤติพรหมวัตรบ้าง ประพฤติเทววัตรบ้าง ประพฤติทิสวัตรบ้าง. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบด้วยวัตร. มีสมณพราหมณ์บางพวกปรารถนาความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ. สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว ย่อมจับต้องแผ่นดิน จับต้องของสดเขียว จับต้องโคมัย จับต้องเต่า เหยียบข่าย จับต้องเกวียนบรรทุกงา เคี้ยวกินงาสีขาว ทาน้ำมันงาสีขาว เคี้ยวไม้สีฟันขาว อาบน้ำด้วยดินสอพอง นุ่งขาว โพกผ้าโพกสีขาว. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรารถนาความหมดจด ด้วยอารมณ์ที่ทราบ ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยอารมณ์ที่ทราบ. คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น คือ พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ความหมดจดโดยความหมดจดด้วยการเห็นรูปบ้าง โดยความหมดจดด้วยการได้ยินเสียงบ้าง โดย ความหมดจดด้วยศีลบ้าง โดยความหมดจดด้วยวัตรบ้าง โดยความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบโดยมรรคอื่น.
ว่าด้วยการละบุญบาป
[๑๒๑] คำว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป มีความว่า กุศลาภิสังขารอัน ให้ปฏิสนธิในไตรธาตุ (กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ) อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าบุญ. อกุศล ทั้งหมดเรียกว่าบาปไม่ใช่บุญ. ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพ อันพราหมณ์ละเสียแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ทำให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา ในกาลใด ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ชื่อว่าย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไป สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศ จากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและ บาป.
ว่าด้วยการละตน
[๑๒๒] คำว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้ มีความว่า ละเสียซึ่งตน คือ ละทิฏฐิที่ถือว่าเป็นตน หรือละความถือมั่น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละเสียซึ่งตน ได้แก่ ความถือ ยึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิ ความถือเป็นต้นนั้นทั้งปวง เป็นธรรมชาติอันพราหมณ์นั้นสละแล้ว สำรอก ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว. คำว่า ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้ คือ ไม่ทำเพิ่มเติม ปุญญาภิสังขาร อปุญญา- *ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญ และบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้. [๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.
ว่าด้วยการจับๆ วางๆ พ้นกิเลสไม่ได้
[๑๒๔] คำว่า ละต้น อาศัยหลัง มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละศาสดาต้น อาศัยศาสดาหลัง ละธรรมที่ศาสดาต้นบอก อาศัยธรรมที่ศาสดาหลัง ละหมู่คณะต้น อาศัยหมู่ คณะหลัง ละทิฏฐิต้น อาศัยทิฏฐิหลัง ละปฏิปทาต้น อาศัยปฏิปทาหลัง ละมรรคต้น อาศัย อิงอาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงมรรคหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละต้น อาศัยหลัง. [๑๒๕] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไปตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่อง เกี่ยวข้องได้ มีความว่า ตัณหา เรียกว่าความแสวงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไปตามความแสวงหา คือ ไปตาม ไปตามแล้ว แล่นไปตาม ถึงแล้ว ตกไปตามความแสวงหา อันความแสวงหาครอบงำแล้ว มีจิตอันความ แสวงหาครอบงำแล้ว. คำว่า ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ คือ ย่อมไม่ข้าม ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่ล่วงเลยซึ่งกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้. [๑๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ มีความว่า สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมถือศาสดา ละศาสดานั้นแล้ว ย่อมถือศาสดาอื่น ย่อมถือธรรมที่ศาสดาบอก ละธรรม ที่ศาสดาบอกนั้นแล้ว ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ย่อมถือหมู่คณะ ละหมู่คณะนั้นแล้วถือ หมู่คณะอื่น ย่อมถือทิฏฐิ ละทิฏฐินั้นแล้วถือทิฏฐิอื่น ย่อมถือปฏิปทา ละปฏิปทานั้นแล้วถือ ปฏิปทาอื่น ย่อมถือมรรค ละมรรคนั้นแล้วถือมรรคอื่น ย่อมถือและปล่อย คือ ย่อมยึดถือและ ย่อมละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ. [๑๒๗] คำว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น มีความว่า สมณพราหมณ์ เป็นอันมาก ย่อมจับถือและปล่อย คือ ย่อมยึดถือ และสละทิฏฐิเป็นอันมาก เหมือนลิงเที่ยว ไปในป่าใหญ่ย่อมจับกิ่งไม้ ละกิ่งไม้นั้นแล้วจับกิ่งอื่น ละกิ่งอื่นนั้นแล้วจับกิ่งอื่น ฉะนั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. [๑๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆ ถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญา กว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ.
ว่าด้วยการดำเนินผิดๆ ถูกๆ
[๑๒๙] คำว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง มีความว่า สมาทานเอง คือ สมาทาน เอาเอง. คำว่า วัตรทั้งหลาย คือ ชันตุชนถือเอา สมาทานถือเอาแล้ว ถือเอาโดยเอื้อเฟื้อ สมาทานแล้ว รับเอาแล้ว ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถิวัตร อัสสวัตร โควัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุเทววัตร พลเทววัตร ปุณณภัททวัตร มณีภัททวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร ยักขวัตร อสุรวัตร ฯลฯ ทิสวัตร. คำว่า ชันตุชน คือ สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน สมาทานวัตรทั้งหลายเอง. [๑๓๐] คำว่า เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆ ถูกๆ มีความว่า จากศาสดาต้น ถึงศาสดาหลัง จากธรรมที่ศาสดาต้นบอกถึงธรรมที่ศาสดาหลังบอก จากหมู่คณะต้นถึงหมู่คณะ หลัง จากทิฏฐิต้นถึงทิฏฐิหลัง จากปฏิปทาต้นถึงปฏิปทาหลัง จากมรรคต้นถึงมรรคหลัง. คำว่า เป็นผู้ข้องในสัญญา คือ เป็นผู้ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ใน กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ ที่ตะปูอันตอกติดฝาหรือที่ไม้ขอ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆ ถูกๆ.
ผู้รู้ธรรม ๗ ประการ
[๑๓๑] คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย มีความว่า มีความรู้ ได้แก่มีความรู้ คือ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นเครื่อง ทำลายกิเลส. คำว่า ด้วยความรู้ทั้งหลาย มีความว่า ญาณในมรรคทั้ง ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาวิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่าความรู้. บุคคลผู้มีความรู้นั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงที่สุดรอบ บรรลุที่สุดรอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่ลับ บรรลุที่ลับ ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน แห่งชาติชราและมรณะ ด้วยความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่า เวทคู เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้งหลายบ้าง. เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดด้วยความรู้ ทั้งหลายบ้าง และชื่อว่าเวทคู. เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ. และเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามก ทั้งหลาย อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสภิยะ บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้นของพวกพราหมณ์ที่มีอยู่ เป็นผู้ ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็นเวทคู. คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย มีความว่า คือรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชราและมรณะ เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะ ดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทาน ดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ. และรู้ รู้เฉพาะซึ่ง ธรรมว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหล่านี้ อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ. ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย. [๑๓๒] คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ มีความว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมไม่จากศาสดาต้น ถึงศาสดาหลัง ไม่จากธรรมที่ศาสดาต้นบอก ถึงธรรมที่ศาสดาหลังบอก ไม่จากหมู่คณะต้น ถึงหมู่คณะหลัง ไม่จากทิฏฐิต้น ถึงทิฏฐิหลัง ไม่จากปฏิปทาต้น ถึงปฏิปทาหลัง ไม่จากมรรคต้น ถึงมรรคหลัง. คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน คือมีปัญญาใหญ่ มีปัญญามาก มีปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง มีปัญญาไว มีปัญญาคมกล้า มีปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส. แผ่นดินตรัสว่า ภูริ. บุคคล ประกอบด้วยปัญญากว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญา กว้างดังแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนิน ผิดๆ ถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มี ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ. [๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรม ทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใด อย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผยด้วยกิเลสอะไรเล่า.
ว่าด้วยมารเสนา
[๑๓๔] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความว่า มารเสนาเรียกว่า เสนา กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขารคือ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน ความหิวกระหาย เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน ตัณหา เรากล่าวเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน ความง่วงเพราะหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน ความลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน ความลบหลู่และความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศที่ได้โดยทางผิด เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน ความยกตนและข่มผู้อื่น เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๑๐ ของท่าน ดูกรพระยามาร เสนาของท่านเหล่านี้ เป็นผู้มี ปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้ ส่วนคนกล้า ย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้สุข ดังนี้. เมื่อใด มารเสนาทั้งหมดและกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคลผู้มีปัญญา กว้างขวางดังแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วย อริยมรรค ๔ เมื่อนั้นบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา. บุคคลนั้นเป็นผู้กำจัดเสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูป ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง. [๑๓๕] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย มีความว่า ซึ่งบุคคล นั้นนั่นแหละ ผู้เห็นธรรมอันหมดจด เห็นธรรมอันหมดจดวิเศษ เห็นธรรมอันหมดจดรอบ เห็นธรรมอันขาว เห็นธรรมอันขาวรอบ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นอันหมดจด มีความเห็น อันหมดจดวิเศษ มีความเห็นอันหมดจดรอบ มีความเห็นอันขาว มีความเห็นอันขาวรอบ. คำว่า เปิดเผย มีความว่าเครื่องปิดบัง คือ ตัณหา กิเลส อวิชชา. เครื่องปิดบังเหล่านั้น อันบุคคลนั้น เปิดเผยแล้ว กำจัดเลิกขึ้น เปิดขึ้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้ว ด้วยไฟ คือญาณ. คำว่าผู้ประพฤติ คือ ผู้ประพฤติ ผู้เที่ยวไป เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย. [๑๓๖] คำว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด ... ด้วยกิเลสอะไรเล่า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความ กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึง ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นอันบุคคล นั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคล นั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็น สัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็น เครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดแห่งใครๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึง กำหนด ... ด้วยกิเลสอะไรเล่า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยกิเลสอะไรเล่า. [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้อง หน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำ ความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.
ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ
[๑๓๘] คำว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้อง หน้า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละ ความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว สัตบุรุษเหล่านั้น จึงไม่กำหนดซึ่ง ความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กำหนด คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้น ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว จึงไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้าด้วย เที่ยวไป คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มี ทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่แวดล้อม เที่ยวไป เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้า. [๑๓๙] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว มีความ ว่า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความไม่หมดจด ส่วนเดียว ความหมดจดจากสงสาร ความหมดจดโดยอกิริยาทิฏฐิวาทะว่า สัตว์สังขารเที่ยง ว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่าเป็นความ หมดจดส่วนเดียว. [๑๔๐] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้น ละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพันร้อยรัดแล้ว มี ความว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน ได้แก่กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง คือ กิเลสเป็นเครื่อง ผูกพันทางกาย คือ อภิชฌา พยาบาท ลีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. ความกำ หนัด ความเพ่งเล็งด้วยทิฏฐิของตน เป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย. ความอาฆาต ความไม่ ยินดี ความพยาบาท ในถ้อยคำของชนอื่น. สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดถือศีล หรือวัตร หรือทั้งศีลและวัตรของตน. ความเห็น ความยึดถือว่าสิ่งนี้จริงของตน เป็นกิเลสเครื่องผูกพัน ทางกาย. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าเป็นกิเลสเครื่องถือมั่น ผูกพัน เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถือ เข้าไป ถือ จับ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยกิเลสเป็นเครื่องผูกพันเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า เป็นกิเลสเครื่องถือ มั่น ผูกพัน. คำว่า ละคือสลัด ละกิเลสเป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้น แก้ละ กิเลสทั้งหลายที่ผูกพัน ร้อยรัด รัดรึง พัน ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน พันอยู่ เหมือนชนทั้งหลายทำความปลดปล่อย ไม่กำหนด วอ รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ ฉะนั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้น ละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว. [๑๔๑] คำว่า ย่อมไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก มีความว่า ตัณหา เรียกว่า ความหวัง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ย่อมไม่ ทำความหวัง คือ ย่อมไม่ทำความหวัง ไม่ให้ความหวังเกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้ บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุกๆ แห่ง ในภายใน ภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น. จึงชื่อ ว่า ย่อมไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ ตัณหาและทิฏฐิไว้ใน เบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้น ละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก. [๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระอรหันต์นั้นล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้มีความ ยึดถือ มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดใน สมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม.
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๑๔๓] คำว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้มี ความยึดถือ มีความว่า แดน ได้แก่ แดน ๔ อย่าง คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรา- *มาส อนุสัย คือทิฏฐิ อนุสัยคือวิจิกิจฉา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ ๑. สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ ส่วนหยาบๆ และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ ๒. สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ ส่วนละเอียด และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็น แดนที่ ๓ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ ๔. เมื่อใด พระอรหันต์นั้น เป็นผู้ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยแดน ๔ อย่างเหล่านี้ด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น พระ อรหันต์นั้น จึงเรียกว่าเป็นผู้ล่วงแดนแล้ว. คำว่า ผู้ลอยบาปแล้ว คือ ชื่อว่าผู้ลอยบาป เพราะเป็น ผู้ลอยแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ชื่อว่า เป็นพราหมณ์. คำว่านั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ขีณาสพ. คำว่า รู้แล้ว คือรู้แล้วด้วยปรจิตญาณ หรือด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คำว่า เห็นแล้ว คือเห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้แล้ว และเห็นแล้ว มิได้มี (ความยึดถือ). คำว่า ความยึดถือ คือ พระอรหันต์นั้น (มิได้มี) ความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร. คำว่า ไม่มี คือ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้. ความยึดถือนั้น อันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ. [๑๔๔] คำว่า มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็น ที่คลายกำหนัด มีความว่า ชนเหล่าใด กำหนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในกามคุณ ๕ ชนเหล่านั้น เรียกว่ากำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด. ชนเหล่าใด กำ หนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ หลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในรูปาวจรสมาบัติ และ อรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้น เรียกว่ากำหนัดแล้วในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด. คำว่า มิได้มี ความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด คือ เมื่อใด กามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ เป็นกิเลสอันพระอรหันต์นั้นละ ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำไม่ให้ มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ทำให้ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น พระอรหันต์นั้น ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด โดย เหตุเท่านั้น. [๑๔๕] คำว่า มิได้มีความยึดถือว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม มีความว่า คำว่านั้น คือ พระ อรหันต์ผู้ขีณาสพ. พระอรหันต์นั้นมิได้มี ความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่ง นี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร. คำว่า ไม่มี คือย่อมไม่มี ไม่ ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ความยึดถือนั้น อันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิได้มีความยึดถือว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระอรหันต์นั้น ผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้ และเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำ หนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ดังนี้.
จบ สุทธัฏฐกสุตตนิเทสที่ ๔.
-----------------------------------------------------
ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕
[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชันตุชนยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่ง ในโลก ชันตุชนนั้น กล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า เลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.
ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ
[๑๔๗] คำว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม มีความว่า มีสมณพราหมณ์ บางพวกเป็นเจ้าทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น รับเอา ถือเอา ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ ๖๒ อย่างใด อย่างหนึ่งว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่รอบด้วยทิฏฐิของตนๆ เหมือนพวกผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย อยู่ในเรือน หรือ พวกบรรพชิตผู้มีอาบัติอยู่ในกองอาบัติ หรือพวกผู้มีกิเลสอยู่ในกองกิเลส ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม. [๑๔๘] คำว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก มีความว่า ศัพท์ว่า ยทํ แปลว่าใด. คำว่า ย่อมทำให้ยิ่ง มีความว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่ง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็น ใหญ่ สูงสุด บวร คือ ย่อมให้บังเกิด บังเกิดเฉพาะว่า พระศาสดานี้ เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทานี้พระศาสดา บัญญัติดีแล้ว มรรคนี้ให้พ้นทุกข์ได้. คำว่า ชันตุชน ได้แก่สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์ คำว่า ในโลก คือ อบายโลก ฯลฯ อายตนโลก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใด ให้ยิ่งในโลก. [๑๔๙] คำว่า ชันตุชนนั้น กล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า เลว มีความว่า ชันตุชน ย่อมคัดค้าน โต้แย้ง ปฏิเสธ ซึ่งลัทธิอื่นทั้งปวงเว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน คือกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ ใช่สัพพัญญู ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดากล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิไม่ เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคไม่เป็นเครื่องนำออกจาก ทุกข์ได้ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือ ความพ้นรอบ มิได้มีในลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้น ย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจด รอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบในลัทธินั้น พวกลัทธินั้นย่อมเป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชนนั้น กล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่ง นั้นว่า นี้เลว. [๑๕๐] คำว่า เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย มีความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ชันตุชนนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลย ไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวล่วงพร้อม ซึ่งความทะเลาะ บาดหมาง แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยซึ่ง วิวาททั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า. ชันตุชนยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ย่อมทำสิ่งใดให้ ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า เลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย. [๑๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชน ย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ใน อารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้น ถือมั่นซึ่งทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวง โดยความเป็นของเลว.
ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ
[๑๕๒] คำว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี มีความว่า ศัพท์ว่า ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น ยํ อตฺตนิ. ทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิของตน นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการในทิฏฐิ ของตน คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑. อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้เป็นไฉน? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด พวกสาวกก็เป็นผู้ มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ซึ่งศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่มีการสักการะเป็นต้นนั้น เป็นเหตุ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้. อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาติหน้าเป็นไฉน? นรชนนั้นย่อมหวังผลในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควร เพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้เหมาะสมเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบคอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบด้วยทิฏฐิ นี้ ดังนี้ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาติหน้า. นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ในทิฏฐิของตน ๒ ประการนี้. นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่เห็นคือ อานิสงส์ มีในชาตินี้ ๑ มีในชาติหน้า ๑ ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ ได้ยิน ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยศีล ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ คืออานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑. อานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีในชาตินี้เป็นไฉน? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิ อย่างใด พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ฯลฯ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ ทราบมีในชาตินี้. อานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบมีในชาติหน้าเป็นไฉน? นรชนนั้น ย่อมหวังผลในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค ฯลฯ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในความหมดจด ด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีในชาติหน้านรชนย่อมเห็น คือ แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น อานิสงส์ ๒ ประการเหล่านี้ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่านรชน ย่อมเห็นอานิสงส์ใด ในทิฏฐิของตนก็ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและ วัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี. [๑๕๓] คำว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของตนนั้น มีความว่า คำว่า ตเทว แปลว่า ซึ่งทิฏฐินั้น. คำว่า ตตฺถ แปลว่า ในทิฏฐิของตน คือ ในความควร ในความชอบใจ ในลัทธิของตน. คำว่า ถือมั่น คือถือ ถือเอา รับเอา ยึดมั่น ถือมั่นว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของตนนั้น. [๑๕๔] คำว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว มีความว่า นรชนนั้นย่อม เห็น คือแลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า นรชน ย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนถือ มั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดย ความเป็นของเลว. [๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวทัสนะที่ตนอาศัยแม้นั้นว่าเป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัสนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ศีลและวัตร.
ว่าด้วยทัศนะของผู้ฉลาด
[๑๕๖] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวทัสนะแม้นั้น ว่าเป็นเครื่องร้อยรัด มีความว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ผู้ฉลาดเหล่าใด คือ ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมกล่าวอย่างนี้ คือ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า ทัสนะนั้นเป็นกิเลส เครื่องร้อยรัด เป็นกิเลสเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นกิเลสเครื่องผูกพัน เป็นกิเลสเครื่องพัวพัน เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัสนะแม้นั้นว่าเป็นเครื่องร้อยรัด. [๑๕๗] คำว่า ทัสนะที่ตนอาศัยแล้ว ย่อมเห็นทัสนะอื่นว่าเลว มีความว่า ทัสนะที่ตน อาศัยแล้ว คือ ภิกษุอาศัย อิงอาศัย ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงทัสนะใด คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด. คำว่า ย่อมเห็นทัสนะอื่นว่าเลว คือ ย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งทัสนะอื่น คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทัสนะที่ตนอาศัยแล้วย่อมเห็นทัสนะอื่นว่าเลว. [๑๕๘] คำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ ที่ทราบ ศีลและวัตร มีความว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ภิกษุไม่พึงอาศัย ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูปที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง อารมณ์ที่ ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตรบ้าง ความหมดจดเพราะวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ศีลและวัตร. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวทัสนะที่ตนอาศัยแม้นั้น ว่าเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมเห็นทัสนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ศีลและวัตร. [๑๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.
ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ
[๑๖๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและวัตร มีความว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดซึ่งทิฏฐิ คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดพร้อม ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณในอภิญญา ๕ ด้วยมิจฉาญาณ ด้วยศีล ด้วยวัตร หรือด้วยศีลและวัตร. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ในทิฏฐิในโลก ด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและวัตร. [๑๖๑] คำว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา มีความว่า ไม่พึงนำไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เสมอเขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยการปกครอง ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์ ด้วยวิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณหรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา. [๑๖๒] คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา มีความว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล หรือด้วยวัตถุอื่นๆ และไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วยโคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่พึงสำคัญ ตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา. [๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนนั้น ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ เมื่อชน ทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิ อะไร. [๑๖๔] คำว่า ละตนไม่ถือมั่น มีความว่า ละความเห็นว่าเป็นตน ละความถือ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละตน คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้น ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ความติดใจ ความน้อมใจไป ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ. ละตนไม่ถือมั่น คือไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ด้วยอุปาทาน ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละตนไม่ถือมั่น. [๑๖๕] คำว่า นรชนนั้นไม่ทำซึ่งนิสัยแม้ในเพราะญาณ มีความว่า นรชนนั้นไม่ทำ ตัณหานิสัยหรือทิฏฐินิสัย คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ ในเพราะญาณในสมบัติ ๘ หรือในเพราะญาณในอภิญญา ๕ หรือในเพราะมิจฉาญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนนั้นไม่ทำซึ่งนิสัยแม้ในเพราะญาณ. [๑๖๖] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกันแล้ว นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายแยกกัน แตกกัน ถึงความเป็นสองฝ่าย เกิดเป็นสองก๊ก มีทิฏฐิต่างกัน มีความ ควรต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ นรชนนั้น ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย และไม่ไป ดำเนินไป เลื่อนลอยไป แล่นไปเพราะธรรมทั้งหลาย อันทำความเป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกันแล้ว นรชนนั้นไม่แล่นไปกับพวก. [๑๖๗] คำว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ทิฏฐิอะไรๆ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันนรชนนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ นรชนนั้นไม่ถึงเฉพาะ ไม่มาถึง เฉพาะซึ่งทิฏฐิอะไรๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไรๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนนั้นละตนแล้วไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ เมื่อชน ทั้งหลายแตกกันแล้ว นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่ง ทิฏฐิอะไรๆ. [๑๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มี เครื่องอยู่อะไรๆ ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว ถือมั่น.
ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์
[๑๖๙] คำว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ เพื่อภพน้อย ภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า มีความว่า ใด ได้แก่พระอรหันตขีณาสพใด. คำว่า ส่วนสุด คือ ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ ผัสสสมุทัยเป็นส่วนที่ ๒. อดีตเป็นส่วนสุดที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒. สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒. นามเป็นส่วนสุดที่ ๑ รูปเป็น ส่วนสุดที่ ๒. อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒. กายของตนเป็นส่วนสุดที่ ๑ สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ ๒. ตัณหาเรียกว่าความตั้งไว้ ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อกรรมวัฏเป็น เครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อความเกิดบ่อยๆ เพื่อความไปบ่อยๆ เพื่อความเข้าถึง บ่อยๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อยๆ เพื่อบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่า โลกนี้ คือ อัตภาพของตน. คำว่า โลกหน้า คืออัตภาพของผู้อื่น. คำว่า โลกนี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตน. คำว่า โลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของผู้อื่น. คำว่า โลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖. คำว่า โลกหน้า คือ อายตนะภายนอก ๖. คำว่า โลกนี้ คือ มนุษยโลก. คำว่า โลกหน้า คือ เทวโลก. คำว่า โลกนี้ คือ กามธาตุ. คำว่า โลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ. คำว่า โลกนี้ คือ กามธาตุ. รูปธาตุ. คำว่า โลกหน้า คือ อรูปธาตุ. คำว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า คือ ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันต์ใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า คือความตั้งไว้นั้น ย่อมเป็นกิริยา อันพระอรหันต์ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับเสียแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า. [๑๗๐] คำว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ มีความว่า เครื่องอยู่ ได้แก่ เครื่องอยู่ ๒ อย่าง คือ เครื่องอยู่คือตัณหา ๑ เครื่องอยู่คือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่คือ ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่คือทิฏฐิ. คำว่า นั้น ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น. คำว่า พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่ คือ เครื่องอยู่นั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ย่อมไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ. [๑๗๑] คำว่า ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น มีความว่า ในธรรมทั้งหลาย คือในทิฏฐิ ๖๒. คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นคว้า แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เป็นแจ้งแล้ว จึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่ เป็นตามสภาพ เป็นตามจริง มิได้วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่มีการถึงความ ตกลงในธรรมทั้งหลายทั้งหลายแล้วถือมั่น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อ ภพน้อยใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มีเครื่อง อยู่อะไรๆ ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. [๑๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทิฏฐิสัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่อรหันต์นั้น ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด ซึ่งพระอรหันต์นั้น เป็นผู้พราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ ด้วยกิเลสอะไรเล่า.
ว่าด้วยพระอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์
[๑๗๓] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนดแล้วในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น มีความว่า ทิฏฐิอัน สัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่งตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธาน มีสัญญา เป็นใหญ่ และความถือต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ใน เสียงที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบบ้าง ในความหมดจด เพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น คือทิฏฐิ นั้น อันพระขีณาสพ ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนดแล้ว ในรูป ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น. [๑๗๔] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ มีความว่า พราหมณ์ ได้แก่พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้ว ซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ผู้อัน ตัณหา ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึด ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึด มั่น ซึ่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ [๑๗๕] คำว่า ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนด ... ด้วยกิเลสอะไรเล่า มีความว่า กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อ ว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนดด้วย ตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความด้วยกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึงความ ฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันบุคคลนั้นละ แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้น กิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็น เทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะอันเป็นเครื่อง กำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนด. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนด ... ด้วยกิเลส อะไรเล่า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึด ถือทิฏฐิด้วยกิเลสอะไรเล่า. [๑๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำ ไปได้ด้วยศีลและพรต ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่.
พระอรหันต์ได้ชื่อต่างๆ
[๑๗๗] คำว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและ ทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนด ด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑. ความกำหนดด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็น แผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือ เอาว่าของเราซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้นว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของๆ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสีและ ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของเรา ย่อมยึดถือว่าเป็นของของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วย สามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยตัณหา. ความกำหนดด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันต- *คาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความ ยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเห็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งไม่จริง อันใดเห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคือความกำหนดด้วย ทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว พระ- อรหันต์เหล่านั้น จึงไม่กำหนดความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดแล้วเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่กำหนด. คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า ทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้อง หน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้อง หน้าด้วยทิฏฐิ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายนั้น ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืน ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละ คืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว จึงไม่กระทำตัณหาหรือทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป คือเป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่แวดล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้า. [๑๗๘] คำว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะ แล้ว มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า ธรรม. คำว่า เหล่านั้น คือพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น. คำว่า ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว คือไม่ปรารถนาเฉพาะว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ไม่ปรารถนาเฉพาะว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว. [๑๗๙] คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต มีความว่า ศัพท์ว่า น เป็นปฏิเสธ. คำว่า พราหมณ์ คือ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ เรียก ว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต คือ พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ ย่อมไม่ไป ไม่ออกไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยศีล หรือด้วยพรต หรือด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อัน ใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต. [๑๘๐] คำว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ มีความว่า อมตนิพพาน เรียก ว่าฝั่ง ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา ความ สำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด. ผู้ใดไปถึงฝั่ง บรรลุฝั่งแล้ว ไปถึง ส่วนสุด บรรลุส่วนสุดแล้ว ไปถึงที่สุด บรรลุที่สุดแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มีแก่ผู้นั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง. คำว่า ย่อมไม่กลับ คือ กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละแล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลส เหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริยบุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับ มาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอนาคามิมรรค อริยบุคคลนั้น ย่อม ไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอรหัต- *มรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา. คำว่า ผู้คงที่ คือพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะ อรรถว่าข้ามแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ. พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร? พระอรหันต์เป็น ผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์. หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้แขนข้างหนึ่งแห่งพระอรหันต์ด้วย เครื่องหอม พึงถากแขนข้างหนึ่งด้วยมีด พระอรหันต์ย่อมไม่มีความยินดีในการลูบไล้ด้วยเครื่อง หอมโน้น และไม่มีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น เป็นผู้ละการยินดียินร้ายเสียแล้ว เป็นผู้ล่วง เลยการดีใจและการเสียใจแล้ว เป็นผู้ก้าวล่วงความยินดีความยินร้ายเสียแล้ว พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้. พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างไร? พระอรหันต์สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว ซึ่งความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความ ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างนี้. พระอรหันต์ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างไร? พระอรหันต์ข้ามแล้ว ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี เป็นไปล่วงซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และ คลองแห่งสงสารทั้งปวง พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มี แก่พระอรหันต์นั้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างนี้. พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างไร? พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างนี้. พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างไร? พระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดง ออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีความ เพียร ในเมื่อความเพียรมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น ในเมื่อสมาธิมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดง ออกว่า เป็นผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่. พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายอันพระอรหันตขีณาสพเหล่า นั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ ดังนี้.
จบปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕.
-----------------------------------------------------
ชราสุตตนิทเทสที่ ๖
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อม เป็นอยู่เกินไป มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล.
ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อย
[๑๘๒] คำว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มีความว่า ศัพท์ว่า ชีวิต ได้แก่อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเป็นไป ความหมุนไป ความเลี้ยง ความเป็น อยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตน้อย คือชีวิตนิดเดียวโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะ ตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็น อยู่ จักไม่เป็นอยู่. ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว. ชีวิต ย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่. สมจริงดังพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วย จิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด หมื่นสี่พันกัป แม้เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลกนี้ดับ แล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกัน ดับไปแล้ว มิได้สืบ เนื่องกัน ขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่ดับ ไปในปัจจุบันกับขันธ์เหล่านั้น มิได้มีในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคต ขันธ์ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่ง จิตนี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสายเพราะ อายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือน เมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่ง ธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้เจือปนกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อม ตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ. ชื่อว่า ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้. ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก เนื่องด้วยลมหายใจ เข้า เนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เนื่องด้วยมหาภูตรูป เนื่องด้วยไออุ่น เนื่องด้วย กวฬิงการาหาร เนื่องด้วยวิญญาณ กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ อันเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจออกและ ลมหายใจเข้าก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิด ร่วมกันก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกันก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดี ก็มีกำลังทราม. ธรรมเหล่านี้มีกำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและ กัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะความต้านทานมิได้มีแก่กัน และกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมใด ให้ธรรมเหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่งมิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง. ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการ ทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้ อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด แม้เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน. ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็น กันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น. ชีวิตจึงชื่อว่า เป็นของน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างนี้. อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ชีวิตของมนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดา ชั้นยามา ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้น นิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... เพราะเทียบชีวิตของพวก เทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตของมนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อยจำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้อง ประสบความตายตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้ว จะไม่ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดอยู่นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะ ไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ. [๑๘๓] คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี มีความว่า มนุษย์ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไป ในกาลที่เป็นกลละบ้าง. ในกาลที่เป็นน้ำล้างเนื้อบ้าง ในกาลที่เป็นชิ้นเนื้อบ้าง ในกาล ที่เป็นก้อนเนื้อบ้าง ในกาลที่เป็นสาขา ๕ แห่ง (มือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑) บ้าง แม้พอเกิดก็ ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปก็มี ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปในเรือนที่คลอดก็มี ย่อม เคลื่อน ตาย หาย สลายไป ชีวิตครึ่งเดือนก็มี เดือนหนึ่งก็มี ๒ เดือนก็มี ๓ เดือนก็มี ๔ เดือนก็มี ๕ เดือนก็มี ๖ เดือนก็มี ๗ เดือนก็มี ๘ เดือนก็มี ๙ เดือนก็มี ๑๐ เดือนก็มี ๑ ปีก็มี ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๖ ปีก็มี ๗ ปีก็มี ๘ ปีก็มี ๙ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๖๐ ปีก็มี ๗๐ ปีก็มี ๘๐ ปีก็มี ๙๐ ปีก็มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มนุษย์ ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี. [๑๘๔] คำว่า แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป มีความว่า มนุษย์ใดเป็นอยู่เกิน ๑๐๐ ปีไป มนุษย์นั้นเป็นอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป. [๑๘๕] คำว่า มนุษย์นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล มีความว่า เมื่อใดมนุษย์เป็น ผู้แก่ คือ เจริญวัย เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด ล่วงกาลผ่านวัย มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน หนังย่น ตัวตกกระ คด ค่อม ถือไม้เท้าเดินหน้า เมื่อนั้น มนุษย์นั้น ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปเพราะชรา การพ้นจากความตายไม่มี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้ที่สุกแล้ว มีภัย โดยการหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่และฉลาด ทั้งหมด ย่อมไปสู่อำนาจมัจจุ มีมัจจุสกัดอยู่ข้างหน้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้น ถูกมัจจุสกัดข้างหน้าแล้ว ถูกมัจจุครอบงำ บิดาก็ต้านทานไว้ไม่ได้ หรือพวกญาติก็ต้านทานไว้ไม่ได้ เมื่อพวกญาติกำลังแลดูกันอยู่นั่นแหละ กำลังรำพันกันอยู่เป็นอันมากว่า ท่านจงดู ตนคนเดียวเท่านั้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันมรณะนำไปได้ เหมือนโคถูกนำไปฆ่า ฉะนั้น สัตว์โลกย่อมเป็นผู้อันมัจจุและชราครอบงำ อยู่อย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มนุษย์นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อม เป็นอยู่เกินไป มนุษย์นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล. [๑๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก ในเพราะวัตถุที่ถือว่าของเรา ความยึดถือ ทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย การยึดถือนี้ มีความพลัดพรากเป็นที่สุด ทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน.
ว่าด้วยคนเศร้าโศกเพราะการยึดถือ
[๑๘๗] คำว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก ในเพราะวัตถุที่ถือว่าของเรา มีความว่า ชนทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า ยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่า ของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ ที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อม เศร้าโศก ลำบาก คร่ำครวญ ทุบอกร่ำไร ถึงความหลงใหล เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุ ที่ถือว่าของเรา. [๑๘๘] คำว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. ความยึดถือด้วยตัณหา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ ความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา. ความยึดถือด้วยทิฏฐิ อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย ความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ ความแปรปรวน ไปเป็นธรรมดา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมเห็นหรือว่า ความยึดถือที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอ ด้วยของเที่ยง. ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่มีเลย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นถูกละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่ตามเห็นว่า ความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่ปรวนแปรไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยของเที่ยง. ความยึดถือเป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคงไม่มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่มี คือไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย. [๑๘๙] คำว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว มีความว่า เมื่อความ เป็นต่าง ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น มีอยู่ ปรากฏอยู่ เข้าไปได้อยู่. สมจริงดังที่พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อย่าเลย เธออย่าโศกเศร้ารำพันไปเลย ดูกรอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกไว้ก่อนมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์และ สังขารอันเป็นที่รักใคร่พอใจทั้งหมดย่อมมีอยู่ ข้อนั้นจะพึงได้แต่ที่ไหน สิ่งใดที่เกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความสลายไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าสลายไปเลย ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อนๆ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ หลังๆ ก็ย่อมเป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว. [๑๙๐] คำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน มีความว่า ศัพท์ว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสรรค เป็นบทบริบูรณ์ เป็นศัพท์เป็นที่ประชุมอักษร เป็นศัพท์ที่มี พยัญชนะสละสลวย ศัพท์ว่า อิตินี้ เป็นลำดับแห่งบท. กุลบุตรเห็นแล้ว พบแล้ว เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งในวัตถุที่ถือว่าของเราทั้งหลาย ดังนี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นแล้วดังนี้. คำว่า ไม่ควรอยู่ครองเรือน คือ กุลบุตรตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวล ในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในมิตรและพวกพ้อง ตัดกังวลในความสั่งสม ทั้งหมด ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ ไม่มีห่วงใย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป คืออยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของเราความยึดถือ ทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย การยึดถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด ทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน. [๑๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้น อันบุรุษนั้น ย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษ แม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา.
ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์
[๑๙๒] คำว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย มีความว่า ความตาย คือความจุติ ความเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้นๆ ความทำลาย ความหายไป มัจจุ มรณะ กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความทอดทิ้งร่างกาย ความ เข้าไปตัดขาดแห่งชีวิตินทรีย์. คำว่า เบญจขันธ์นั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า ย่อมละ คือ เบญจขันธ์อันบุรุษนั้นย่อมละ สละ ทิ้ง หายไป สลายไป. สมจริงดังภาษิตว่า โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละทิ้งโภค สมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูกรโจรราชผู้ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภค สมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคต แล้ว ย่อมจากไป ดูกรศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย เรารู้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาโศก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เบญจขันธ์นั้น อันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย. [๑๙๓] คำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า เบญจขันธ์ใด คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า บุรุษ ได้แก่ ความนับ ความหมายรู้ บัญญัติ โวหาร ของโลก นาม การตั้งนาม ความทรงนาม ความพูดถึง การแสดงความหมาย ความพูดถึง. คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มีความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยตัณหา ด้วยความ สำคัญด้วยทิฏฐิ ด้วยความสำคัญด้วยมานะ ด้วยความสำคัญด้วยกิเลส ด้วยความสำคัญด้วยทุจริต ด้วยความสำคัญด้วยประโยค ด้วยความสำคัญด้วยวิบาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุรุษย่อมสำคัญ เบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา. [๑๙๔] คำว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว มีความว่า ทราบ รู้ เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งโทษนั้น ในวัตถุที่ยึดถือว่า ของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้โทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า บัณฑิต คือ ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็น เครื่องทรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้โทษแม้นั้นแล้ว. [๑๙๕] คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความ- *ยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑. คำว่า พุทธมามกะ คือ ผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือ บุคคลผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคย่อมทรงกำหนดบุคคลนั้น. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ไม่นับถือ เรา เป็นผู้ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา ไม่ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ได้ตั้งมั่น ชนเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยอันพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูด พล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงาม ในธรรมวินัยอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว. คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่า ของเรา มีความว่า พุทธมามกะละ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ไม่พึงน้อมโน้มไปเพื่อ ความยึดถือว่าของเรา คือ ไม่พึงเป็นผู้น้อมไป เอนไป โอนไป โน้มน้อมไป ในความยึดถือ ว่าของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าของเรานั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธมามกะ ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น ย่อมละแม้เพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต รู้โทษแม้นี้แล้ว ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา. [๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด ใครๆ ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว แม้ฉันนั้น.
ว่าด้วยเปรียบสิ่งที่ได้เหมือนความฝัน
[๑๙๗] คำว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด มีความว่า สิ่งที่มาประจวบ คือ สิ่งที่มาปรากฏ มาตั้งอยู่ ประชุมแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด. [๑๙๘] คำว่า บุรุษตื่นแล้วย่อมไม่เห็น มีความว่า บุรุษผู้ฝันเห็นดวงจันทร์ เห็นดวง อาทิตย์ เห็นมหาสมุทร เห็นขุนเขาสิเนรุ เห็นช้าง เห็นม้า เห็นรถ เห็นคนเดินเท้า เห็น ขบวนเสนา เห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ เห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ เห็นสระน้ำที่ น่ารื่นรมย์ ครั้นตื่นแล้วย่อมไม่แลเห็นสิ่งอะไรๆ ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็น. [๑๙๙] คำว่า ... ชนที่รัก ... แม้ฉันนั้น มีความว่า ศัพท์ว่า ฉันนั้น เป็นอุปไมยยัง อุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า ชนที่รักคือชนที่รัก ที่ถือว่าของเรา ซึ่งได้แก่มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง หรือญาติสาโลหิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ... ชนที่รัก ... แม้ฉันนั้น. [๒๐๐] คำว่า ย่อมไม่เห็น ... ผู้ตายจากไปแล้ว มีความว่า ชนผู้ตาย ทำกาละแล้ว เรียกว่าผู้จากไปแล้ว ย่อมไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่เห็น ... ผู้ตายจากไปแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด ใครๆ ก็ไม่เห็นชนที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว แม้ฉันนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑-๒๘๐๑ หน้าที่ ๑-๑๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=1&Z=2801&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=1&items=987              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=1&items=987&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=1&items=987              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=29&item=1&items=987              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :