ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค ญาณกถา
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรมเหล่านี้เป็นไป ในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสุตมยญาณ [แต่ละอย่าง] ฯ [๒] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่อง รู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณอย่างไร ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒ ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓ ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔ ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕ ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คืออนุตตริยะ ๖ ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ อีกต่อไป] ๗ ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี บุคคลครอบงำไว้] ๘ ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙ ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือนิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐ ฯ [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย [แต่ละอย่างๆ] ควรรู้ยิ่ง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา สัมผัสสชาเวทนา การสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา รูป สัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๕] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๖] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๗] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต วิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหา- *วิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโน วิญญาณธาตุ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัส- *สินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ ด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณ ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพ ผู้รู้จบแล้ว อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๘] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุกามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๙] เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเบกขาเจโตวิมุติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๐] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธ ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๑] สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ควรละแห่งทุกขสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งรูป สภาพที่ควรละแห่งรูปสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้ง แห่งรูปนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนด รู้แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักษุ ฯลฯ สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งชรามรณะ สภาพที่ควรละแห่งชรามรณสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งชรามรณนิโรธ- *คามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๒] สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ สภาพที่แทงตลอด ด้วยการละทุกขสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกขนิโรธ สภาพ ที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการ กำหนดรู้รูป สภาพที่แทงตลอดด้วยการละรูปสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการ ทำให้แจ้งรูปนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพ ที่แทงตลอดด้วยการเจริญเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ชรามรณะ สภาพที่แทง ตลอดด้วยการละชรามรณสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งชรา- *มรณนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๑๓] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัด ออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับเหตุให้เกิดรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชรา และมรณะ ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะ โทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๑๔] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความ ยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบาย เครื่องสลัดออกแห่งรูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ ความยินดีในชราและมรณะ โทษแห่ง ชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๕] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นทุกข์ การพิจารณา เห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลาย กำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป การพิจารณาเห็นความทุกข์ในรูป การพิจารณา เห็นอนัตตาในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในรูป การพิจารณาเห็น ด้วยความคลายกำหนัดในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความดับในรูป การพิจารณา เห็นด้วยความสละคืนในรูป การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ การ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นอนัตตาในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายใน ชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในชราและมรณะ การ พิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนในชรา และมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๖] ความเกิดขึ้น ความเป็นไป เครื่องหมาย ความประมวลมา [กรรมอันปรุงแต่ปฏิสนธิ] ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มี เครื่องหมาย ความไม่มีประมวล ความไม่สืบต่อ ความไม่ไป ความไม่บังเกิด ความไม่อุบัติ ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่ป่วยไข้ ความไม่ตาย ความ ไม่เศร้าโศก ความไม่รำพัน ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๗] ความเกิดขึ้น ความไม่เกิดขึ้น ความเป็นไป ความไม่เป็นไป เครื่องหมาย ความไม่มีเครื่องหมาย ความประมวลมา ความไม่ประมวลมา ความสืบต่อ ความไม่สืบต่อ ความไป ความไม่ไป ความบังเกิด ความไม่บังเกิด ความอุบัติ ความไม่อุบัติ ความเกิด ความไม่เกิด ความแก่ ความไม่แก่ ความ ป่วยไข้ ความไม่ป่วยไข้ ความตาย ความไม่ตาย ความเศร้าโศก ความไม่ เศร้าโศก ความรำพัน ความไม่รำพัน ความคับแค้นใจ ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๑๘] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์ เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความประมวลมาเป็นทุกข์ ปฏิสนธิเป็นทุกข์ คติเป็นทุกข์ ความบังเกิดเป็นทุกข์ อุบัติเป็นทุกข์ ชาติเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็น ทุกข์ โสกะเป็นทุกข์ ปริเทวะเป็นทุกข์ อุปายาสเป็นทุกข์ ฯ [๑๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่เป็นไปเป็นสุข ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไม่ไปเป็นสุข ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความไม่อุบัติเป็นสุข ความไม่เกิด เป็นสุข ความไม่แก่เป็นสุข ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความไม่ตายเป็นสุข ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความไม่รำพันเป็นสุข ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ [๒๐] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความ เป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความไม่มีเครื่อง หมายเป็นสุข ความประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความสืบต่อ เป็นทุกข์ ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไปเป็นทุกข์ ความไม่ไปเป็นสุข ความ บังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่อุบัติเป็น สุข ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ความแก่เป็นทุกข์ ความไม่แก่ เป็นสุข ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความ รำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้น ใจเป็นสุข ฯ [๒๑] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย เครื่อง- *หมายเป็นภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไปเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ความเกิดเป็นภัย ความแก่เป็นภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความตายเป็นภัย ความเศร้าโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ฯ [๒๒] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัย ความไม่สืบต่อ ปลอดภัย ความไม่ไปปลอดภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความไม่แก่ปลอดภัย ความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความไม่ ตายปลอดภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความไม่รำพันปลอดภัย ความไม่ คับแค้นใจปลอดภัย ฯ [๒๓] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความ เป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย เครื่องหมายเป็นภัย ความไม่มี เครื่องหมายปลอดภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไปเป็นภัย ความไม่ไปปลอด ภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย ความอุบัติเป็นภัย ความไม่ อุบัติปลอดภัย ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความเศร้า- *โศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอด ภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ฯ [๒๔] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส (เครื่องล่อ) ความเป็นไปมี อามิส ความสืบต่อมีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความ อุบัติมีอามิส ความเกิดมีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความตายมีอามิส ความ เศร้าโศกมีอามิส ความรำพันมีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส ฯ [๒๕] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส (หมดเครื่องล่อ) ความไม่ เป็นไปไม่มีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความไม่อุบัติไม่มีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความไม่ ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความไม่ รำพันไม่มีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ [๒๖] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส เครื่องหมายมีอามิส ความไม่มี เครื่องหมายไม่มีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไปมีอามิส ความไม่ไปไม่มี อามิส ความบังเกิดมีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความอุบัติมีอามิส ความ ไม่อุบัติไม่มีอามิส ความเกิดมีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความแก่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความ ตายมีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความไม่เศร้าโศก ไม่มีอามิส ความรำพันมีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ [๒๗] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร เครื่องหมายเป็นสังขาร ความประมวลมาเป็นสังขาร ความสืบต่อเป็นสังขาร ความ ไปเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ความเกิดเป็น สังขาร ความแก่เป็นสังขาร ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความตายเป็นสังขาร ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ฯ [๒๘] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็น นิพพาน ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็น นิพพาน ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ [๒๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน เครื่องหมายเป็นสังขาร ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวล มาเป็นนิพพาน ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไป เป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น นิพพาน ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความ ป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็นสังขาร ความไม่ ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
จบปฐมภาณวาร ฯ
[๓๐] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งสมาธิ ไม่มีความฟุ้งซ่าน สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถ แห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพ แห่งธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพแห่ง ธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด สภาพแห่ง ธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ สภาพ แห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มี ที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพแห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่ง ธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออก สภาพ แห่งธรรมที่เป็นเหตุ สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควร รู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๑] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสสนา สภาพมิได้ล่วงกันแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท สภาพที่โคจรแห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและ ฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอัน ประเสริฐ สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๓๒] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่ง ปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๓] สภาพที่ศรัทธาพละมิได้หวั่นไหวเพราะจิตตุปบาทอันเป็นข้าศึกแก่ ศรัทธา สภาพที่วิริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติพละมิได้ หวั่นไหวเพราะความประมาท สภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหวเพราะอุธัจจะ สภาพ ที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๔] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้นแห่งธรรม วิจัยสัมโพชฌงค์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิ สัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๕] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสังกัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ประชุมแห่งสัมมากัมมันตะ สภาพที่ผ่อง แผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่ง สัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๖] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพที่ตั้งมั่นแห่ง สติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน สภาพที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท สภาพ ที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์ สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล สภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่งวิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สภาพ ที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้ สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๗] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่กำหนดรู้แห่งปริญญา สภาพ แห่งปฏิปักขธรรมที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว สภาพ ที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุ สภาพ ที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง แห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๘] สภาพที่คิด สภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง สภาพที่ออกแห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพแห่งจิตเป็นเหตุ สภาพแห่งจิตเป็นปัจจัย สภาพที่ เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจิต สภาพที่ เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่ง แห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๓๙] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้ง ... สภาพที่รู้ชัด ... สภาพที่จำได้ ... สภาพที่จิตมั่นคง ... สภาพที่เนื่อง ... สภาพที่ แล่นไป ... สภาพที่ผ่องใส ... สภาพที่ตั้งมั่น ... สภาพที่หลุดพ้น ... สภาพที่เห็น ว่านี่ละเอียด ... สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน ... สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ... สภาพ ที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ... สภาพที่อบรม ... สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี ... สภาพที่กำหนด ถือไว้ ... สภาพที่เป็นบริวาร ... สภาพที่เต็มรอบ ... สภาพที่ประชุม ... สภาพที่ อธิษฐาน ... สภาพที่เสพ ... สภาพที่เจริญ ... สภาพที่ทำให้มาก ... สภาพที่รวม ดี ... สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี ... สภาพที่ตรัสรู้ ... สภาพที่ตรัสรู้ตาม ... สภาพที่ ตรัสรู้เฉพาะ ... สภาพที่ตรัสรู้พร้อม สภาพที่ตื่น ... สภาพที่ตื่นตาม ... สภาพที่ ตื่นเฉพาะ ... สภาพที่ตื่นพร้อม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ ... สภาพ ที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะ ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม ... สภาพที่สว่าง ... สภาพที่สว่าง ขึ้น ... สภาพที่สว่างเนืองๆ ... สภาพที่สว่างเฉพาะ ... สภาพที่สว่างพร้อมใน ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๐] สภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง สภาพที่ อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน สภาพที่อริยมรรค ปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพที่อริยมรรคสงบ สภาพที่ อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพที่ดับ สภาพแห่งความประพฤติความดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติใน ความปล่อย สภาพที่พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๔๑] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นบาท แห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ สภาพที่ น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๒] สภาพแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นบาท แห่งวิริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวิริยะ สภาพที่สำเร็จแห่งวิริยะ สภาพที่น้อม ไปแห่งวิริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ สภาพที่ไม่ ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๓] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาทแห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่น้อมไปแห่งจิต สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๔] สภาพแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นบาท แห่งวิมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา สภาพที่สำเร็จแห่งวิมังสา สภาพ ที่น้อมไปแห่งวิมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวิมังสา สภาพที่ตั้งมั่นแห่ง วิมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา สภาพที่เห็นแห่งวิมังสา ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ [๔๕] สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัย ปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่ง สมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัย เกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพที่นิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่ มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๖] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่ ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพ ที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๗] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความ กำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๘] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การ พิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วย ความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความ สละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณา เห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรม ไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การ พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔๙] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผล สมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๕๐] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมไป วิริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วย ความว่าเห็น ศรัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา วิริยพละ ด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว เพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญา พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๕๑] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วย อรรถเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์ด้วย อรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วย อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุก อย่าง ฯ [๕๒] สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่าให้กุศลธรรมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วยความว่าประคองไว้ สัมมาสติ ด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๕๓] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้ง มั่นสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่า เที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและ วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น วิชชาด้วยความว่า แทงตลอด วิมุติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณ ในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วย ความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่า ประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ วิมุติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงใน อมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๕๕] ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึง กล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมา แล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณ ฯ
จบทุติยภาณวาร ฯ
[๕๖] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณอย่างไร ฯ ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๓ ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓ ธรรม ๔ ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔ ธรรม ๕ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖ ธรรม ๗ ควร กำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗ ธรรม ๘ ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘ ธรรม ๙ ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙ ธรรม ๑๐ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐ ฯ [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ แม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ [๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและ มรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ [๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะ แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้ความไม่ พยาบาทแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา เป็นอันได้อาโลก สัญญาแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความ ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้ การกำหนดธรรมแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณ แล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความ ปราโมทย์แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว อย่างนี้ ฯ [๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌาน แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตน- *สมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญา- *นาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ [๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้ อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา ... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา ... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ... อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ [๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การ พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาแล้ว ธรรม นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายาม เพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ ... อาทีนวานุปัสนา ... ปฏิสังขานุปัสนา ... วิวัฏฏนานุปัสนา ... เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอัน บุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ [๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้ โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค ... อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้น กำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนด รู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ [๖๔] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ ธรรม ๒ ควรละ คือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ ธรรม ๓ ควรละ คือ ตัณหา ๓ ธรรม ๔ ควรละ คือ โอฆะ ๔ ธรรม ๕ ควรละ คือ นิวรณ์ ๕ ธรรม ๖ ควรละ คือ หมวดตัณหา ๖ ธรรม ๗ ควรละ คือ อนุสัย ๗ ธรรม ๘ ควรละ คือ มิจฉัตตะ ความเป็นผิด ๘ ธรรม ๙ ควรละ คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ธรรม ๑๐ ควรละ คือมิจฉัตตะ ๑๐ ฯ [๖๕] ปหานะ ๒ คือ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป ฯ ปหานะ ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑ อรูปฌาน เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑ นิโรธ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขต ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ๑ บุคคลผู้ได้ เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว บุคคลผู้ได้อรูปฌานเป็นอันละและสละ รูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว ฯ ปหานะ ๔ คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วย การกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็น การแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้ แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควร ละได้ ๑ ฯ ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอัน เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และ ปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญ มรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่ง ทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรละทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ควรละทุกอย่าง ฯ เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควร ละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักษุ ... ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อ พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา] ด้วยความว่าเป็น ที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ เป็น อันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จบตติยภาณวาร ฯ
[๖๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ธรรม ๓ ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓ ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔ ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิ มีองค์ ๕ ธรรม ๖ ควรเจริญ คือ อนุสสติ ๖ ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗ ธรรม ๘ ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์อันเป็น ประธานแห่งความบริสุทธิ์ [ปาริสุทธิ] ๙ ธรรม ๑๐ ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐ ฯ [๖๘] ภาวนา ๒ คือโลกิยภาวนา ๑ โลกุตรภาวนา ๑ ภาวนา ๓ คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การ เจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] ๑ การเจริญธรรมอันเป็น รูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การ เจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็น ส่วนประณีตก็มี การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่าง เดียว ภาวนา ๔ คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่า เจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า เจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญ อยู่ ๑ ภาวนา ๔ นี้ ฯ [๖๙] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา ๑ ปฏิลาภภาวนา ๑ เอกรสาภาวนา ๑ อาเสวนาภาวนา ๑ ฯ เอสนาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ ฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา ฯ ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรม ทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา ฯ [๗๐] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถ แห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น อย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อ เจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียว กันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะ อสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละ อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์ อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจร เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น ... เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป ... เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ ... เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่า องค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วย อรรถว่าตรึก ... เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา ... เมื่อเจริญสัมมา- *กัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว ... เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วย อรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา ฯ [๗๑] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพ เป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดี ตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดี ตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาวก็ดี ตลอดฤดูร้อนก็ดี ตลอดส่วนวัยต้นก็ดี ตลอดส่วนวัยกลางก็ดี ตลอดส่วนวัยหลังก็ดี ภาวนานี้ ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ [๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ๑ ฯ [๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิด ในภาวนานั้น อย่างไร ฯ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละถีนมิทธะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละ อุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรม ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความ ปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละปีติ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละรูป สัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญ- *จายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตน สมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ อนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละราคะ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละ ฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์ แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณา มานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิมิต ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย สามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อม ไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็น แก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง ซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณ- *ทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วย ความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย สามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ โสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละกิเลสอย่าง ละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ [๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างไร เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วย สามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถ ความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ [๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ อย่างไร ฯ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถ เนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควร แก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความ ไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถ อรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควร แก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ อย่างนี้ ฯ [๗๖] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพ เป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา ... พิจารณาเห็นสัญญา ... พิจารณาเห็นสังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ ... พิจารณา เห็นจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นชราและมรณะ ... พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงใน อมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จบจตุตถภาณวาร
[๗๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ธรรม ๒ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ธรรม ๓ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓ ธรรม ๔ ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔ ธรรม ๕ ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖ ธรรม ๗ ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗ ธรรม ๘ ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘ ธรรม ๙ ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙ ธรรม ๑๐ ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม ๑๐ ฯ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำ ให้แจ้งทุกอย่าง ฯ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา ... เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร ... เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ ... เมื่อพิจารณาเห็นจักษุ ... เมื่อพิจารณาเห็นชราและ มรณะ ... เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อม ทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรม นั้นๆ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า สุตมยญาณ ฯ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับ มาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปใน ส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกาม ของพระโยคาวจร ผู้ได้ปฐมฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรม สมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา และมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่ง ความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยวิตก ของพระโยคาวจร ผู้ได้ทุติยฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้น ยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข เป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความ วิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยปีติและสุข ของพระโยคาวจร ผู้ได้ตติยฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ ตติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและ มนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน แห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วย วิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญา และมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข ของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรม สมควรแก่จตุตถฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา และมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป ในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูป ของพระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตน ฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็น ธรรมสมควรแก่อากาสานัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน แห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควร แก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญา และมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรม เหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรก กิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ [๗๙] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ สดับมาแล้วนั้นว่า รูปไม่เที่ยงเพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่า น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญา เครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ไม่เที่ยง เพราะ ความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหา แก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ชื่อว่าญาณด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญาด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่า สุตมยญาณ ฯ [๘๐] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ ในอริยสัจ ๔ ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความ พลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ ชาติในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความ ก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความ กลับได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ ฯ ชราในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความเป็นผู้มี ฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความ แก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา ฯ มรณะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน ความแตก ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า มรณะ ฯ [๘๑] โสกะในทุกขอริสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความ เป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรมตรอม ณ ภายใน ความตรอมจิต ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศก แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบ เข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งสมบัติกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรค กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งศีลกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฐิ กระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบกับความฉิบหายอื่นๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า โสกะ ฯ ปริเทวะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำครวญ ความ ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วยวาจา ความเพ้อด้วยวาจา ความพูดพร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความเป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคลผู้ถูกความ ฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่าน กล่าวว่า ปริเทวะ ฯ ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี ทางกาย ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข์ ฯ โทมนัสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี ทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วเกิดแต่สัมผัสทางใจ กิริยา อันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้ท่านกล่าวว่า โทมนัส ฯ อุปายาสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง ความ เป็นผู้แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า ก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า อุปายาส ฯ [๘๒] ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน ทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย ไม่หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ในทุกขอริย- *สัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร พวกพ้อง ญาติ หรือสาโลหิตเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบาย หวังความ ปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่าน กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่ามี ชาติเป็นธรรมดา และชาติอย่ามาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเรา ทั้งหลายอย่าพึงมีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ คับแค้นใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความ ทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้นี้ก็เป็นทุกข์ ฯ โดยย่ออุปาทาขันท์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทาน- *ขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ ฯ [๘๓] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิด ในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลก จักษุ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้นเมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ จักษุนั้น หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลาย เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์ ... จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร เป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ [๘๔] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความที่ตัณหานั้น นั่นแลดับด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้นเมื่อดับ ย่อมดับได้ที่จักษุนั้น หู ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้ เมื่อละย่อมละได้ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ [๘๕] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้ท่าน กล่าวว่า สัมมาทิฐิ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในความ ออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียน นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่อง งดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนา เป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่อง งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่อง งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรม วินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาอาชีวะ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละอกุศลธรรมอัน ลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะให้ เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวายามะ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสติ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่ สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะ ปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่า ญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณอย่างนี้ ฯ [๘๖] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณอย่างไร ฯ ศีล ๕ ประเภท คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ๑ อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ๑ ปริปุณณปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ ๑ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์อัน ทิฐิไม่จับต้อง ๑ ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ ๑ ในศีล ๕ ประเภทนี้ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริยันตปาริสุทธินี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด ฯ อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอุปสัมบัน ผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด ฯ ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของกัลยาณ ปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระ อเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้สละชีวิตแล้ว ฯ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ ๗ จำพวก ฯ ปฏิปัสสัทธิปริสุทธิศีลเป็นไฉน ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ของพระ- *ขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ [๘๗] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้นศีลมีที่สุดนั้น เป็นไฉน ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติ ก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์ แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล ฯ ศีลมีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุ แห่งยศ ... ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล ฯ ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ เหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล ฯ ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ เหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล ฯ ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วง สิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะ การณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลขาด เป็นศีล ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิจับต้อง แล้ว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ ปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ไม่เป็น ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็น ปริยันตศีล ฯ [๘๘] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มี ที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิด ก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ ฯ ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ เหตุแห่งยศ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ ฯ ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ เหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ ฯ ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ ฯ ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความ คิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่จับต้อง เป็นไป เพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็น ที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่ง สมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล ฯ [๘๙] อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็น ที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ฯ อะไรเป็นศีล คือ เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็น ศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล ฯ ศีลมีเท่าไร คือ ศีล ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล ฯ ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร คือ ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร เป็น ที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนา อันเกิดในความเป็น อย่างนั้น ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ... ความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ... ถีนมิทธิด้วยอาโลก สัญญา ... อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ... วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม ... อวิชชาด้วยญาณ ... อรติด้วยความปราโมทย์ ... นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตก วิจารด้วยทุติยฌาน ... ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูป สัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา สัญญายตนสมาบัติ ... นิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา ... สุขสัญญาด้วย ทุกขานุปัสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา ... นันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา ... ราคะด้วยวิราคานุปัสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา ... อาทานะด้วยปฏินิส สัคคานุปัสนา ... ฆนสัญญาด้วยวยานุปัสนา ... ธุวสัญญาด้วย วิปริณามานุปัสนา นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา ... ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา ... อภินิเวสด้วย สุญญตานุปัสนา ... สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ... สัมโมหา- *ภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา ... อัปปฏิ- *สังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา ... สังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา ... กิเลสที่ ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ [๙๐] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล เวรมณี การงดเว้นเป็นศีล เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล การไม่ล่วงเป็นศีล ศีลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เพื่อความปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อ เป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นบริขาร เพื่อเป็นบริวาร เพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็น ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ฯ บรรดาศีลเห็นปานนี้ สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม เป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต พระโยคาวจร ย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม เป็นอธิ ศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้ง เป็นอธิปัญญา สิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร ไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควร เจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง ฯ [๙๑] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การ ละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละ วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความ ปราโมทย์ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละ ปีติด้วยตติยฌาน การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละ อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตน- *สัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญา นาสัญญายตนสมาบัติ การละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุข สัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิ ด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วย นิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา การละฆนสัญญาด้วย ขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละ อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีน- *วานุปัสนา การละอัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วย วิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละ กิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล ... เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ เป็นสีลมยญาณ ฯ [๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ อย่างไร สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑ สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่ วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑ สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑ สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑ สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑ สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ สมาธิ ๗ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความ เป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑ สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต มิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ สมาธิ ๙ คือ รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑ สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วย สามารถอัทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททก สัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑ โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ ฯ [๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑ เพราะอรรถว่า อินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑ เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๑ เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เพราะ อรรถว่าไม่แส่ไป ๑ เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑ เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑ เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่น ในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑ เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑ เพราะ อรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะแสวงหาความ สงบแล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะ อรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความ สงบ ๑ เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึก แก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่ สงบ ๑ เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว ๑ เพราะ อรรถว่าเพ่งความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑ เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑ สภาพใน ความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕ ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็น สมาธิภาวนามยญาณ ฯ [๙๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ปัญญา ในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเหตุ เครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยไปแห่งสังขาร ด้วยอาการ ๙ ประการ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วยอาการ ๙ ประการ ประการนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัย เป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป แห่งนามรูป ... นามรูปเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ ... สฬายตนะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ ... ผัสสะ เป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งเวทนา ... เวทนาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งตัณหา ... ตัณหาเป็นเหตุเกิด ... และ เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปาทาน ... อุปาทานเป็นเหตุเกิด ... และ เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ ... ภพเป็นเหตุเกิด ... และเหตุอาศัยเป็นไปแห่ง ชาติ ... ชาติเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ ... ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุ เกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบ ไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป แห่งชราและมรณะ ด้วยอาการ ๙ ประการนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะ เกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ [๙๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุ เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นแต่เหตุ ... วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นแต่เหตุ ... นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะ เกิดขึ้นแต่เหตุ ... สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ผัสสะเป็น เหตุ เวทนาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ตัณหา เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นแต่เหตุ ... อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ [๙๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขาร อาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรม ฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย สังขารเกิดขึ้น วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นามรูป อาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิด ขึ้น เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและ มรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็น ธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ อาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ [๙๗] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้น เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้น เพราะปัจจัย ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ [๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้ ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ- *การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ- *โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ [๙๙] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้ว กำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การ กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสน- *ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯ [๑๐๐] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อมแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ฯ [๑๐๑] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรม ๓ เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสนญาณ ฯ [๑๐๒] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา และมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาใน การย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญา ในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชา ไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีต- *กาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชา ไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ ฯ [๑๐๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่ เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ฯ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็น ลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ เวทนาเกิดแล้ว สัญญาเกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งภพที่ เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ [๑๐๔] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง เบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร ฯ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ ฯ [๑๐๕] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง วิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณา เห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง เวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ ฯ [๑๐๖] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด เพราะ กรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ แห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ [๑๐๗] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์โดยความดับ แห่งปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับรูปจึงดับ เพราะ กรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่ง ความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ เมื่อพิจารณา เห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๑๐ ประการนี้ ฯ [๑๐๘] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความ เกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึง เกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด แม้เมื่อ พิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ [๑๐๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ โดยความ ดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็น ลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเวทนา ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ ฯ [๑๑๐] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งสัญญาขันธ์ แห่ง สังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความ เกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดวิญญาณ จึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะนามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด แม้ เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ [๑๑๑] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ โดย ความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ เพราะตัณหาดับวิญญาณ จึงดับ เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ แม้ เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป แห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ เมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ นี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม นั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็น อุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิด ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดเพราะผัสสะเกิด วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด ฯ [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ ความถือมั่นได้ ฯ [๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็น อารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระ โยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ [๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ- *โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่ หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ ปรากฏ ๓ ประการ ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ [๑๑๕] ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอาทีนวญาณอย่างไร ฯ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความ เป็นไปเป็นภัย สังขารนิมิตเป็นภัย ฯลฯ กรรมประมวลมาเป็นภัย ปฏิสนธิ เป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ชาติเป็นภัย ชรา เป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่าง ฯ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ปัญญาในความปรากฏ โดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็น อาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความ ไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ [๑๑๖] ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้น เป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ [๑๑๗] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณในสันติบทว่าความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ [๑๑๘] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็น สังขาร ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณ ในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความ ไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ [๑๑๙] ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเป็นไป สังขารนิมิต กรรมเครื่องประมวลมาและปฏิสนธิว่า เป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนวญาณ ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความไม่ เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มี กรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิว่า เป็นสุขนี้เป็น ญาณในสันติบท อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ ๕ ญาณ ในสันติบทย่อมเกิดในฐานะ ๕ พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดญาณ- ๑๐ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะเป็นผู้ฉลาดใน ญาณทั้ง ๒ ฉะนี้แล ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัย เป็น อาทีนวญาณ ฯ [๑๒๐] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก สังขารนิมิต ฯลฯ จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความ บังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก จากความรำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ [๑๒๑] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์ ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ปัญญา เครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความ เกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็น สังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ [๑๒๒] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความ คับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ ความ คับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ [๑๒๓] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็น สังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติ เป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ [๑๒๔] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘ ฯ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิต ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ การ น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ การน้อมจิต ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ ฯ [๑๒๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๒ เป็นไฉน ฯ ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ การ น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้ ฯ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ เป็นไฉน ฯ พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อม มีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๓ เป็นไฉน ฯ ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณาแล้วเข้าผล- *สมาบัติ ๑ วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปใน สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ [๑๒๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น อย่างเดียวกันอย่างไร ฯ ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย แห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้ ฯ [๑๒๗] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การน้อมจิต ไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็น อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้ ฯ [๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของ พระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ อัพยากฤตอย่างนี้ ฯ [๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ ดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจาก ราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ [๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้ พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจาก ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปใน สังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกัน โดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ [๑๓๑] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ ได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง ได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่าน ผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ กิเลสไม่ได้อย่างนี้ ฯ [๑๓๒] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้ ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหาร- *สมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปใน สังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ ฯ [๑๓๓] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา เท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตน- *สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขา ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วย อำนาจสมถะ ฯ [๑๓๔] สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อ ต้องการได้อนาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อนาคามิผล สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ วิปัสสนา ฯ [๑๓๕] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต เท่าไร สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิ- จิต ๘ เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒ เป็นโคจรภูมิของพระ- *เสขะ ๓ เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓ เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘ เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐ สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ [๑๓๖] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตร- *ภูญาณอย่างไร ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้น ครอบงำความ เป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวลมา ครอบงำปฏิสนธิ ครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ ครอบงำชาติ ครอบงำชรา ครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำความเศร้าโศก ครอบงำความรำพัน ครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะ อรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอัน เป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่ นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน ไม่มีความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน เป็นที่ดับ ฯ [๑๓๗] ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไป ... ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความ เกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่น ไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้น หลีกออกจากความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มี ความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจาก ความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจาก สังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ฯ [๑๓๘] โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตร- *ภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โคตรภูธรรม ๘ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ [๑๓๙] โคตรภูธรรม ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำนิวรณ์เพื่อได้ปฐมฌาน ๑ ครอบงำ วิตกและวิจารเพื่อได้ทุติยฌาน ๑ ครอบงำปีติเพื่อได้ตติยฌาน ๑ ครอบงำสุข และทุกข์เพื่อได้จตุตถฌาน ๑ ครอบงำ รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญาเพื่อได้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญาเพื่อได้อากิญจัญญายตน- *สมาบัติ ๑ ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญาเพื่อได้เนวสัญญานาสัญญายตน- *สมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๘ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ [๑๔๐] โคตรภูธรรม ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้โสดาปัตติมรรค ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรม เครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่อโสดาปัตติผลสมาบัติ ๑ ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิ- *มรรค ๑ เพื่อสกทาคามิผลสมาบัติ ๑ เพื่อได้อนาคามิมรรค ๑ เพื่ออนาคามิผล- *สมาบัติ ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อรหัตมรรค ๑ ครอบงำ ความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่ออรหัตผล- *สมาบัติ ๑ เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ ๑ และเพื่อสมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๑๐ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ [๑๔๑] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต เท่าไร โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ [๑๔๒] โคตรภูญาณ ๘ คือ โคตรภูญาณที่มีอามิส ๑ ไม่มี อามิส ๑ มีที่ตั้ง ๑ ไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นสุญญตะ ๑ เป็น วุฏฐิตะ ๑ เป็นอวุฏฐิตะ ๑ เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ โคตรภู- ญาณ ๑๐ เป็นโคจรแห่งวิปัสสนาญาณ โคตรภูธรรม ๑๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ โคตรภูธรรมมีอาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด ในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องหลีกไปและในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องออกไป ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากสังขารนิมิต ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ฯ [๑๔๓] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ฯ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย (คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฐินั้นเป็น สมุฏฐานและวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต) และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา- *กัมมันตะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ อรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ จากเหล่ากิเลส ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ [๑๔๔] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค- *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลส ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ [๑๔๕] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค- *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อม ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพ- *นิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจาก กิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ [๑๔๖] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจาก เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต ภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ [๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย โลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระ โยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็ พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วใน ขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออก จากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาด ในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์ เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรรคญาณ ฯ [๑๔๘] ปัญญาในการระงับประโยค เป็นผลญาณอย่างไร ฯ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฐิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติ ระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ญาณชื่อว่า สัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ ... ชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ... ชื่อว่าสัมมา- *กัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ ... ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ ... ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ... ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตาม มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้น เป็นผลของมรรค ฯ [๑๔๙] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถ ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค- *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมออก จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ฯ [๑๕๐] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค- *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออก จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ [๑๕๑] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ อวิชชา ภวราคานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจาก สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยค ที่ออกไปนั้น การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการระงับประโยคที่ออกนั้น เป็นผลญาณ ฯ [๑๕๒] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณอย่างไร ฯ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้น จากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสีย แล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ [๑๕๓] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสอันสกทาคามิมรรคตัดขาด ดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็น อันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถ ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ [๑๕๔] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอันอนาคามิมรรคตัดขาด ดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลส นั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ [๑๕๕] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็นกิเลสอันอรหัตมรรค ตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ อรรถว่าผู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ [๑๕๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณอย่างไร ฯ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่า กำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ อรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าปีติ- *สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า สงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบกขา- *สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่ หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะ ความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่า ไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์เพราะอรรถ ว่าหลุดพ้น ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าปล่อย ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่า มนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะอรรถว่าเป็นที่รวม ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะ อรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ [๑๕๗] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ ว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็น แก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ [๑๕๘] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ ในขณะ แห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพาน อันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกัน ในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้ เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ [๑๕๙] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็น มูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่า นี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่มาประชุมกันใน ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ฯ [๑๖๐] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ อย่างไร ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน ฯ [๑๖๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร ฯ ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้วเข้ามาประชุมแล้ว ว่าจักษุไม่มี (จักษุเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจัก ไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่าจักษุ ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักษุไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุง แต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลาย ไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดย ความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อม เบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้ เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อม ละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความ สำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็น ตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะ ได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างนี้ ฯ [๑๖๒] พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า หูเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า จมูก เกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ลิ้นเกิด เพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า กาย เกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ใจเกิด เพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัย มหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามาประชุมกันแล้ว ใจไม่มี (ใจเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือน เมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อม กำหนดใจโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ใจไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ใจไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดาคลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็น ธรรมดา กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็น อนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนด โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนด โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น อนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่าง นี้ ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุ นานัตตญาณ ฯ [๑๖๓] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ อย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอย่างไร ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นภายนอก ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า รูปเกิด เพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูต- *รูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามาประชุมแล้วรูปไม่มี (รูปเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดรูป โดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา รูปไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อม กำหนดรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนด โดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่ กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่ กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดย ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดย ความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละ ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุ ให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็น ภายนอกอย่างนี้ ฯ [๑๖๔] พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภายนอกอย่างไร ย่อม กำหนดว่า เสียงเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภาย นอกอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า รสเกิด เพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอก อย่างนี้ ฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร เกิดแล้ว เข้าประชุมพร้อมแล้วธรรมารมณ์ไม่มี (ธรรมารมณ์เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือน เมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อม กำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ธรรมารมณ์ไม่ยั่งยืน ไม่ เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไป เป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดย ความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ ให้เกิด ย่อมสละคืนไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ ความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญ ว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตน ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจร นานัตตญาณ ฯ [๑๖๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณอย่างไร จริยา ในบทว่า จริยา มี ๓ คือ วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ฯ วิญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดูรูปทั้งหลายเป็น อพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา จักขุวิญญาณอันเป็นแต่เพียงเห็นรูป เป็นวิญญาณ จริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือ ความนึกเพื่อต้องการฟังเสียงเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา โสตวิญญาณ อันเป็นแต่เพียงฟังเสียง เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนธาตุ อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว มโน- *วิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดมกลิ่น เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ฆานวิญญาณอันเป็นแต่เพียงดมกลิ่น เป็น วิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็น วิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณ- *จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการลิ้มรสเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ชิวหาวิญญาณอันเป็นแต่เพียงลิ้มรส เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการ ถูกต้อง โผฏฐัพพะเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา กายวิญญาณอันเป็นแต่ เพียงถูกต้องโผฏฐัพพะ เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการ รู้แจ้งธรรมารมณ์เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา มโนวิญญาณอันเป็นแต่เพียง รู้แจ้งธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนธาตุ อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว มโน วิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา ฯ [๑๖๖] คำว่า วิญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ อรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติไม่มีราคะประพฤติไม่มี โทสะ ประพฤติไม่มีโมหะ ประพฤติไม่มีมานะ ประพฤติไม่มีทิฐิ ประพฤติไม่ มีอุทธัจจะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบ ด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติไม่ประกอบ ด้วยอุทธัจจะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ประ- *พฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ประ- *พฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็น กำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วย กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีความประพฤติ เห็นปานนี้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะอรรถ ว่าไม่มีกิเลส เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณจริยานี้ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯ [๑๖๗] อัญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง ราคะในรูปอันเป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง ราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะ ในรูปอัน ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็น อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็ง ด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ แล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง มานะที่ผูกพันธ์ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฐิที่ยึดถือ อันเป็น อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิ เป็นอัญญาณจริยา กิริยา คือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็น วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความ นึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียง ฯลฯ ในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะในธรรมารมณ์ เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็น อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ไม่เป็น ที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็น อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่ง เล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ แล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง ทิฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิ เป็น อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณ- *จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็น อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็น อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา ฯ [๑๖๘] คำว่า อัญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ อรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติมีราคะ ประพฤติมีโทสะ ประพฤติมีโมหะ ประพฤติมีมานะ ประพฤติมีทิฐิ ประพฤติมีอุทธัจจะ ประ พฤติมีวิจิกิจฉา ประพฤติมีอนุสัย ประพฤติประกอบด้วยราคะ ประพฤติประกอบ ด้วยโทสะ ประพฤติประกอบด้วยโมหะ ประพฤติประกอบด้วยมานะ ประพฤติ ประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติ ประกอบด้วยอกุศลธรรม ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบ ด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วย กรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วย กรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติ ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยาเห็น ปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯ [๑๖๙] ญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความทุกข์ อันเป็น อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นญาณจริยา กิริยาคือ ความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นอนัตตา อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นอนัตตา เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณา เห็นความเบื่อหน่าย ฯลฯ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เพื่อ ต้องการพิจารณาเห็นความดับ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสละคืน เพื่อต้องการ พิจารณาเห็นความสิ้นไป เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเสื่อมไป เพื่อต้องการ พิจารณาเห็นความแปรปรวน เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต เพื่อต้องการ พิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสูญ เพื่อต้องการ พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อต้องการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อต้องการพิจารณาหาทาง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาหาทาง เป็นญาณจริยา การพิจารณาเห็นความ คลายออก (นิพพาน) เป็นญาณจริยา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยา ฯ [๑๗๐] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่า กระไร ฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติไม่โทสะ ฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบ ด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฐิ ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่ ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบด้วยกุศลธรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรม ดำ ประกอบด้วยกรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วย กรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยาเห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณ- *จริยา ญาณจริยา ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยา นานัตตญาณ ฯ [๑๗๑] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ [๑๗๒] กามาวจรภูมิเป็นไฉน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตลอด ไปจนถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวดีเป็นที่สุด นี้เป็นกามาวจรภูมิ ฯ [๑๗๓] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลก ขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ ฯ [๑๗๔] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากา- *สานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ ฯ [๑๗๕] โลกุตรภูมิเป็นไฉน มรรค ผล และนิพพานธาตุอันปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ ๔ เหล่านี้ ฯ [๑๗๖] ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔ ภูมิ ๔ เหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ ฯ [๑๗๗] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณอย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร ย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็น ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่าย กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยา กฤต ย่อมกำหนดโลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ฯ [๑๗๘] พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย อกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอกุศลธรรมบถ ๑๐ เป็นฝ่ายอกุศล ย่อมกำหนดรูป วิบากและกิริยา เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย อกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ [๑๗๙] พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย อัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่าย กุศล ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ [๑๘๐] พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็น ฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ใน โลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดใน พรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่าย กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ [๑๘๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย อัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอริยมรรค ๕ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนด สามัญญผล ๔ และนิพพาน เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนด โลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ [๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาว- *จรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อม เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความ เป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความ กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความ เป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความ ไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ [๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ [๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่ง สัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่ง สัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความ ต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหา อาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัย ความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ [๑๘๕] ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร ปัญญาเครื่องกำหนด รู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็น เอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้นๆ แล้ว กำหนด รู้ธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้นๆ แล้ว ละธรรมใดๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้นๆ แล้ว เจริญธรรมใดๆ แล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็น อันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกำหนด รู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญเครื่องเจริญเป็น เอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ [๑๘๖] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา ในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณอย่างไร ฯ สัทธินทรีย์เป็นธรรม วิริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็นธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็น ธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรม ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๘๗] สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถ สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึง กล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๘๘] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะ นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน ความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๘๙] ญาณในธรรม ๕ ในอรรถ ๕ ญาณในนิรุติ ๑๐ ญาณในธรรม เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๐] สัทธาพละเป็นธรรม วิริยพละเป็นธรรม สติพละเป็นธรรม สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยพละ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๑] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะ ความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพ อันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็น ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็น อรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึง กล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๒] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน รู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๓] ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณ ในนิรุติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณ ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๔] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สติสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรม อย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน ความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมทาญาณ ฯ [๑๙๕] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคองไว้ สภาพ ที่แผ่ซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่พิจารณาหาทาง สภาพ ที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ [แต่ละอย่าง] สภาพที่ตั้งมั่น ... สภาพที่พิจารณาหาทาง เป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน รู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๖] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การ ระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน รู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๗] ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณ ในนิรุติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน รู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๘] สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ เป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรม ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๑๙๙] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพที่เป็น สมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถแต่ละอย่างๆ สภาพที่เห็น ... สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ [๒๐๐] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุ พยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติ เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๕-๒๒๒๓ หน้าที่ ๕-๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=95&Z=2223&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=1&items=293              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=1&items=293&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=1&items=293              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=1&items=293              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :