ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกา
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
[๑]
๑. กุสลติกะ
กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
วิปากา ธมฺมา ธรรมเป็นวิบาก วิปากธมฺมธมฺมา ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก
๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ
อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ เข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ
สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
๖. วิตักกติกะ
สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิตกมีวิจาร อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
๗. ปีติติกะ
ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
๘. ทัสสนติกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ธมฺมา ไม่ประหาณ
๙. ทัสสนเหตุกติกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและ ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
๑๐. อาจยคามิติกะ
อาจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ อปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพาน
๑๑. เสกขติกะ
เสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของเสกขบุคคล อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของ อเสกขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
ปริตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นปริตตะ มหคฺคตา ธมฺมา ธรรมเป็นมหัคคตะ อปฺปมาณา ธมฺมา ธรรมเป็นอัปปมาณะ
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ
๑๔. หีนติกะ
หีนา ธมฺมา ธรรมทราม มชฺฌิมา ธมฺมา ธรรมปานกลาง ปณีตา ธมฺมา ธรรมประณีต
๑๕. มิจฉัตตติกะ
มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
มคฺคารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ มคฺคเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุคือมรรค มคฺคาธิปติโน ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี
๑๗. อุปปันนติกะ
อุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเกิดขึ้นแล้ว อนุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาทิโน ธมฺมา ธรรมจักเกิดขึ้น
๑๘. อตีตติกะ
อตีตา ธมฺมา ธรรมเป็นอดีต อนาคตา ธมฺมา ธรรมเป็นอนาคต ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปัจจุบัน
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
อตีตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
๒๐. อัชฌัตตติกะ
อชฺฌตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน พหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก
๒๒. สนิทัสสนติกะ
สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑-๑๐๓ หน้าที่ ๑-๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=1&Z=103&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=34&item=1&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=34&item=1&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=1&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=34&item=1&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :