ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
อธิคัยหมนสิการกถา
[๑๖๕๗] สกวาที มนสิการรวบยอดได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ ได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ? @๑. ม. ม. ข้อ ๑๗๖ หน้า ๑๘๐ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น ฯลฯ ด้วยเวทนานั้น ฯลฯ ด้วยสัญญา นั้น ฯลฯ ด้วยเจตนานั้น ฯลฯ ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ด้วยวิจารนั้น ฯลฯ ด้วยปีตินั้น ฯลฯ ด้วยสติ ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้น ด้วยปัญญานั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่าอนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่าอนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบันว่าปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบันว่าปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่าอนาคต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่าอนาคต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่าอดีต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่าอดีต ดัง นี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดัง นี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๕๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า มนสิการรวบยอดได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ก็มนสิการรวบยอดได้น่ะสิ
อธิคัยหมนสิการกถา จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๗๑๔๐-๑๗๒๔๔ หน้าที่ ๗๑๓-๗๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=17140&Z=17244&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1657&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1657&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1657&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=1657&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1657              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :