ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
[๖๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรมอย่างนี้แล ที่เป็นธรรมอย่างนี้ การทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมอย่างไร ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผม- *ต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าคุณผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผม- *ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิ- *ญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อ- *ว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ฯ
ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
[๖๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรมอย่างไร ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ คุณ ผมต้องอาบัติ ปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณ เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... ภิกษุต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละคุณ ผมต้องอาบัติ ทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณเป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม ฯ
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา
[๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ:- ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๓๐๘-๘๔๐๒ หน้าที่ ๓๕๒-๓๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=8308&Z=8402&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=6&item=609&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=6&item=609&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=6&item=609&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=6&item=609&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=609              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_6

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :