ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน
[๕๐๖] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่อง ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน ๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วย อาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่โจทด้วย คำเท็จ ฯ
ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
[๕๐๗] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้อง เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้อง เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วย เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการ ทั้ง ๕ นี้ ฯ
ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน
[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่าน ต้องเดือดร้อน ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่าน ต้องเดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้อง เดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่อง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้อง เดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล ฯ
ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ
[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง มนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:- ๑. ความการุญ ๒. ความหวังประโยชน์ ๓. ความเอ็นดู ๔. ความออกจากอาบัติ ๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่าง นี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ
[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุ่นเคือง ๑ ฯ
ปาติโมกขฐปนขันธกะ ที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำขันธกะ
[๕๑๒] เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูก พระโมคคัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ในศาสนาของพระชินะเจ้า ทรงเปรียบเทียบ มหาสมุทร คือ อนุปุพพสิกขา เปรียบด้วยมหาสมุทรอันลุ่มลึกโดยลำดับ พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทรตั้งอยู่ตามปกติไม่ล้นฝั่ง สงฆ์ ย่อมขับไล่บุคคลทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง วรรณะ ๔ เหล่า บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ละนามและโคตรเดิม ดุจแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ มหาสมุทรแล้ว ละนามและโคตรเดิม ภิกษุเป็นอันมากปรินิพพาน เปรียบด้วย น้ำไหลไปเต็มมหาสมุทร พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสรสเดียว เปรียบด้วยมหา- *สมุทรมีรสเค็มรสเดียว พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ แล้วยังคุณในพระศาสนา ให้ดำรงอยู่ เรื่องงดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ เรื่องพระฉัพพัคคีย์คิดว่า ใครๆ ไม่รู้เรา เรื่องภิกษุยกโทษก่อน เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เรื่องงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ ศีล อาจาระ ทิฐิ และอาชีวะ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๕ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๖ มีวิธีอย่างนี้ คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิวิบัติ ที่ภิกษุมิได้ทำและทำ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต เรื่องงดปาติโมกข์ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิ และอาชีววิบัติ ที่ภิกษุ มิได้ทำและทำ รวม ๘ อย่าง เรื่องงดปาติโมกข์มี ๙ วิธี คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิ ที่ภิกษุมิได้ทำ และทั้งทำและไม่ทำ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามเป็นจริงอย่างนี้ จงทราบการงดปาติโมกข์ ๑๐ อย่าง คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ๑ กถา ปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปราชิกยังค้างอยู่ ๑ ภิกษุบอกลาสิกขา ๑ กถาปรารภภิกษุ ผู้บอกลาสิกขายังค้างอยู่ ๑ ภิกษุร่วมสามัคคี ๑ กถาค้านสามัคคี ๑ ค้านสามัคคี ที่ค้าง ๑ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๑ ด้วยอาจารวิบัติ ๑ ด้วยทิฐิวิบัติ ๑ เรื่องภิกษุเห็นภิกษุเอง ภิกษุอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก นั้น บอกความจริงแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นงดปาติโมกข์ เรื่องบริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระ ราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต พรหมจรรย์ จงทราบการงดปาติโมกข์ที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรมตามแนวทาง เรื่องโจทโดยกาลอันควร โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยเรื่องเป็นประโยชน์ จักได้ฝักฝ่าย จักมีความทะเลาะเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย วาจา บริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต รู้ปาติโมกข์ทั้งสอง เรื่องภิกษุโจทโดยกาลอันควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำสุภาพ ด้วยเรื่อง เป็นประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต เรื่องภิกษุเดือดร้อน โดยอธรรม พึงบรรเทาเหมือนอย่างนั้น เรื่องภิกษุผู้โจทก์และถูกโจทเป็นธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน เรื่อง พระสัมพุทธทรงประกาศข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้โจทก์ไว้ ๕ อย่าง คือ ความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความออกจากอาบัติ ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า เรื่องตั้งอยู่ในความสัตย์และความไม่ขุ่นเคือง นี้เป็นธรรมดาของ จำเลยแล ฯ
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๙๗๘-๖๑๑๗ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=5978&Z=6117&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=7&item=506&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=7&item=506&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=506&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=7&item=506&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=506              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :