บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง [๔๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล ผ่านทางประตูหมู่บ้านแห่งหนึ่ง หญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามี ออก จากหมู่บ้านพบภิกษุนั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญจะไปไหน ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี หญิงนั้นกล่าวว่า ดิฉันขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าด้วย ภิกษุนั้นกล่าวว่า ไปเถิด น้องหญิง ครั้งนั้น สามีของหญิงนั้นออกจากบ้านแล้วถามพวกชาวบ้านว่า เจ้านาย พวกท่านเห็นหญิงรูปร่างอย่างนี้บ้างไหม พวกชาวบ้านตอบว่า นาย หญิงรูปร่างอย่างนั้นเดินทางไปกับบรรพชิต ลำดับนั้น ชายคนนั้นได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นได้ทุบตีแล้วปล่อยไป ครั้งนั้น ภิกษุนั้นนั่งบ่นอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ทีนั้น หญิงนั้นได้กล่าวกับสามีดังนี้ว่า นาย ภิกษุนั้นไม่ได้พาดิฉันไป ดิฉัน เองเป็นฝ่ายไปกับภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ตัวการ ท่านจงไปขอขมาภิกษุนั้น ครั้งนั้น ชายคนนั้นได้ไปขอขมาภิกษุนั้น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถีแล้วจึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ จึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคามเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้น โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๒๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า ภิกษุ ทราบว่า เธอชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม จริงหรือ ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๔๑๓] ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้ ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๑๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำหยาบและคำสุภาพ คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนว่า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๒๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บินตก ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ภิกษุต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๔๑๕] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวก หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดย ที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกกฏ ภิกษุชักชวน มาตุคามไม่ได้ชักชวน ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือ สัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ผู้หญิง โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๒๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๑๖] ๑. ภิกษุเดินทางโดยไม่ได้ชักชวน ๒. มาตุคามชักชวน แต่ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๓. ภิกษุไปผิดเวลานัดหมาย ๔. ภิกษุผู้เดินทางกับมาตุคามในคราวมีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติสังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๒๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๒๑-๕๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=103 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=12930&Z=12996 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=658 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=658&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9778 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=658&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9778 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc67/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc67/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]