บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๔๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยัง คบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุชื่ออริฏฐะผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยัง มิได้ทำธรรมอันสมควร๑- ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น๒- บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ยังคบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุชื่ออริฏฐะ ผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้นเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ก็ยังคบหา บ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำ ธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร หมายถึงพระอริฏฐถูกสงฆ์ลงโทษโดยการยกออกจากหมู่ @จากชุมนุมสงฆ์ ที่เรียกว่า ลงอุกเขปนียกรรม สงฆ์ยังไม่ได้ยกเลิกโทษนั้น (วิ.อ. ๒/๔๒๔-๔๒๕/๔๒๐) @๒ พระอริฏฐะกล่าวตู่พระธรรมวินัยในสิกขาบทที่ ๘ สัปปาณกวรรค ข้อ ๔๑๗ หน้า ๕๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ไฉนพวกเธอรู้อยู่ก็ยังคบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าว ตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้นเล่า โมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๔๒๔] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ก็ยังคบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วมกับภิกษุผู้กล่าวตู่ อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๒๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุรูปที่กล่าวตู่ นั้นบอก คำว่า ผู้กล่าวตู่อย่างนั้น คือ ภิกษุผู้กล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรม ก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ ที่ชื่อว่า ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร คือ ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้เรียกเข้าหมู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กับ...ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น คือ ร่วมกับผู้ที่ยังไม่ยอมสละความเห็นนั้น คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา ๒ อย่างคือ (๑) คบหาทางอามิส (๒) คบหาทางธรรม ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นอักษร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ อักษร คำว่า อยู่ร่วม ความว่า ภิกษุทำอุโบสถ ปวารณา หรือสังฆกรรมร่วมกับ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า นอนร่วมกับ อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน ภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอน ทั้ง ๒ รูป ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์บทภาชนีย์ [๔๒๖] ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๒๗] ๑. ภิกษุรู้ว่า ภิกษุนั้นไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ๒. ภิกษุรู้ว่า ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม แต่สงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ๓. ภิกษุรู้ว่า ภิกษุนั้น ยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติอุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๓๒-๕๓๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=105 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13118&Z=13180 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=669 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=669&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9826 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=669&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9826 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc69/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc69/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]