บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๑. ทัพพสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร เรื่องพระทัพพมัลลบุตร [๔๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์ ท่านมีจีวรเก่า คราวนั้น จีวรผืนหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้นแล้วสงฆ์ได้ถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า พวกภิกษุน้อมลาภ สงฆ์ไปตามความคุ้นเคยกัน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับตำหนิในภายหลัง เล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอร่วมกับสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว กลับตำหนิในภายหลัง จริงหรือ พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว กลับตำหนิในภายหลังเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๑. ทัพพสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ [๔๘๕] ก็ ภิกษุใดร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้วกลับ ติเตียนในภายหลังว่า พวกภิกษุน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปตามความคุ้นเคย กัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสังวาสสีมา เดียวกัน ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ บรรดาจีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอ ที่จะวิกัปได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า ให้ คือ ให้เอง ที่ชื่อว่า ตามความคุ้นเคยกัน คือ ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา ที่ชื่อว่า ที่เป็นของสงฆ์ คือ ที่เขาถวาย ที่เขาบริจาคแล้วแก่สงฆ์ ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้สีฟัน หรือด้ายชายผ้า คำว่า ภายหลังกลับติเตียน ความว่า ภิกษุเมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบันที่สงฆ์ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจก ของเคี้ยว หรือแจกของเล็กๆ น้อยๆ กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๑. ทัพพสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๔๘๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้จีวรไปแล้ว กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้จีวรไปแล้วกลับ ติเตียน ไม่ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบันที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของ เล็กๆ น้อยๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กๆ น้อยๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๑. ทัพพสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๘๘] ๑. ภิกษุติเตียนสงฆ์ที่มักทำไปด้วยความลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียง เพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัวว่า ลาภที่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุนั้นไปจะมีประโยชน์อะไร ท่านได้ไปก็จะเอาไปทิ้ง ไม่ ใช้สอยในทางที่ชอบ ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๘๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๗๗-๕๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=117 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13902&Z=13965 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=723 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=723&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10117 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=723&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10117 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc81/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc81/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]