![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน๑- พวกชาวบ้านเที่ยวไปตามวิหารเห็นเข้าจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเหมือนคฤหัสถ์ที่ยัง บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัต ขนเจียมดำล้วน จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ สันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ขนเจียม ในที่นี้คือขนแพะหรือขนแกะ (เอฬกโลม) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ [๕๔๘] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า สีดำ มี ๒ ชนิด คือ ดำตามธรรมชาติ หรือดำเพราะย้อม ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ พยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์ สละแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ สันถัตขนเจียม ดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อ นี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ สันถัต ขนเจียมดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำ ล้วนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่บุคคล ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า กระผม คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่านบทภาชนีย์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ [๕๕๐] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๕๑] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือปลอกหมอน ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติสุทธกาฬกสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๕-๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=12 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1776&Z=1876 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=78 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=78&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4575 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=78&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4575 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np12/en/brahmali
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]