ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๖. ตูโลนัทธสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. รตนวรรค
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำเตียง หุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง๑- คนทั้งหลายไปเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็น จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ที่บริโภคกามเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้างหุ้มนุ่นจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ เตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” @เชิงอรรถ : @ ตูโลนทฺธํ, ตูลํ ปกฺขิปิตฺวา อุปริ จิมิลิกาย โอนทฺธํ ที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น คือใส่นุ่นแล้วหุ้มด้านบนด้วยผ้ารองพื้น @(วิ.อ. ๒/๕๒๖/๔๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๑๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๖. ตูโลนัทธสิกขาบท บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๕๒๗] ก็ ภิกษุใดทำเตียง หรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่าอุททาลนกะ๑-
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่ ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่ง ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมี แม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่ ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่ นุ่น ๓ ชนิด คือ (๑) นุ่นจากต้นไม้ (๒) นุ่นจากเถาวัลย์ (๓) นุ่นจากหญ้าเลา คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องรื้อเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๙] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อุททาลนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการรื้อออก คือ ต้องรื้อออก @เสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๖. ตูโลนัทธสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๓๐] ๑. ภิกษุทำสายรัดเข่าหุ้มนุ่น ๒. ภิกษุทำประคดเอวหุ้มนุ่น ๓. ภิกษุทำสายโยกบาตรหุ้มนุ่น ๔. ภิกษุทำถุงบาตรหุ้มนุ่น ๕. ภิกษุทำผ้ากรองน้ำหุ้มนุ่น ๖. ภิกษุทำหมอนหุ้มนุ่น ๗. ภิกษุได้เตียงตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้ ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๑๑-๖๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=124              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=14523&Z=14570                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=759              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=759&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10245              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=759&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10245                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc88/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc88/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :