![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ [๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างรับนิมนต์ฉันในตระกูล พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์มายืนบงการเพื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า พวกท่านจงถวายแกง ที่นี้จงถวายข้าวสุกที่นี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นไม่ได้ ฉันตามที่คิดไว้ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามพวกภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่ห้ามภิกษุณี ผู้คอยบงการ จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่ห้าม ภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๕๕๘] ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าภิกษุณีมายืนบงการในที่นั้นว่า พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวายข้าวสุกที่นี้ ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นออก ไปด้วยกล่าวว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าวเพื่อจะไล่ภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีก ไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า ท่าน ทั้งหลาย พวกกระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็น สัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้นเรื่องพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๕๕๙] คำว่า ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ความว่า ที่ชื่อว่าตระกูล หมาย ถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร คำว่า รับนิมนต์ฉัน คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ที่ชื่อว่า บงการ คือ ภิกษุณีคอยบงการว่า พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวาย ข้าวสุกที่นี้ ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็น ผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา นี้ชื่อว่าผู้บงการ คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กำลังฉัน คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้บงการ ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นไปด้วยกล่าวว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบ เท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ ๋ ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าว ภิกษุรับมาด้วยคิดว่า จะเคี้ยว จะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืนบทภาชนีย์ ติกปาฏิเทสนียะ [๕๖๐] มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอ ผู้บงการ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ห้ามเธอผู้บงการ ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอผู้บงการ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกกฏ มาตุคามผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวบงการ ภิกษุไม่ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๖๑] ๑. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายของของตน แต่ไม่ ได้ถวายด้วยตนเอง ๒. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีถวายของของผู้อื่น ไม่ได้ใช้ให้ถวาย ๓. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้ถวาย ๔. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารในที่ที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้ถวาย ๕. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายเท่าๆ กันทุกรูป ๖. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สิกขมานาบงการ ๗. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สามเณรีบงการ ๘. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารทุกอย่างยกเว้นโภชนะ ๕ ไม่ต้องอาบัติ ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๓๒-๖๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=131 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=14865&Z=14926 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=784 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=784&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10317 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=784&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10317 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd2/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd2/en/horner
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]