ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑

๗. เสขิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลายเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. ปริมัณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้า บ้าง ข้างหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑

เธอครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้อง อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒

สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง อุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ฯลฯ๑-
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย คือ ทำชายจีวรทั้งสองให้เสมอกัน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้าง ต้อง อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ข้อความที่ย่อไว้มีความเต็มเหมือนปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๕๗๖ เปลี่ยนแต่เนื้อความเฉพาะ @ของแต่ละสิกขาบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓

สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกาย ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔

สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกาย ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕

สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคะนอง มือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗

สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่ นั้นๆ ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทอดจักษุลง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทอดจักษุลง มองดูชั่วแอก ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูที่นั้นๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘

สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งมองดูที่ นั้นๆ ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงสำเหนียกว่า เราจักมีจักษุทอดลง นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงมีจักษุทอดลง มองดูชั่วแอก นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้นๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙

สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๑. ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเวิกผ้าใน ละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๔๙-๖๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15168&Z=15317                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=800              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=800&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10376              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=800&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10376                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk1 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk2 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk3 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk4 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk5 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk6 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk7 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk8 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk9 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk10



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :