ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑๐. ปริณตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๑๐. ปริณตสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคม๑- หนึ่งในกรุงสาวัตถีเตรียม ภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉันแล้วให้ ครองจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมา” สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน จึงอยู่ที่นี่ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่พวกอาตมา คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่พวก อาตมา พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมาเถิด” ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดอาหารและจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่ไม่ทราบว่า “พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวก ท่านจงถวายจีวรแก่สงฆ์” @เชิงอรรถ : @ ปูคสฺสาติ สมูหสฺส, ธมฺมคณสฺส หมู่ชน คือคณะผู้ปฏิบัติธรรม หมายถึงสมาคม (วิ.อ. ๒/๖๕๗/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑๐. ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า” ครั้น ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๕๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑๐. ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอกเธอ ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้วแก่สงฆ์ ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ” ภิกษุน้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม เป็นนิสสัคคีย์เพราะ ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้เขาน้อมไว้ เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑๐. ปริณตสิกขาบท บทภาชนีย์

เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผม สละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ลาภของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ ลาภนี้เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนลาภนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๖๐] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้องอาบัติ ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์อื่น หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑๐. ปริณตสิกขาบท อนาปัตติวาร

ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะหรือ เพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะ หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๖๑] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่ ได้นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปริณตสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

บทสรุป

รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค คือ
ปัตตวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย ๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร ๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง ๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=4428&Z=4566                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=169              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=169&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5897              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=169&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5897                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np30/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :