บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสก ให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้ เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสอนอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ เล่า พวกอุบาสก จึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุเหล่านั้น ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอสอนอุบาสกให้ กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะ สมในภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงสอน อุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ เล่า พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ [๔๕] ก็ ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน ที่ชื่อว่า เป็นบทๆ ได้แก่ กล่าวเป็นบท กล่าวเป็นอนุบท กล่าวเป็นอนุอักขระ กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นบท คือ ภิกษุกับอนุปสัมบันเริ่มสวดพร้อมกัน จบลง พร้อมกัน ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุบท คือ เริ่มสวดแยกกัน แต่จบลงพร้อมกัน ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุอักขระ คือ เมื่อภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ แต่ อนุปสัมบันสวดพร้อมกันว่า๑- รู แล้วหยุด ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนให้ว่า รูปํ อนิจฺจํ แต่ อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับพร้อมกัน๑- ว่า เวทนา อนิจฺจา บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ ทั้งหมดนี้ชื่อว่าธรรมเป็นบทๆ ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต ที่ ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม @เชิงอรรถ : @๑ คือเปล่งเสียงรับพร้อมกันกับภิกษุผู้สอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า สอนให้กล่าว คือ สอนให้กล่าวเป็นบทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท สอนให้กล่าวเป็นอักษรๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักษรบทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๔๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้อง อาบัติทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๘] ๑. ภิกษุผู้เรียนพระพุทธพจนะที่อาจารย์สอนให้ว่าพระพุทธวจนะพร้อมกัน กับอนุปสัมบัน ๒. ภิกษุผู้สาธยายพร้อมกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุผู้ช่วยอนุปสัมบันผู้สวดคัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก๑- สวด(ส่วนที่ ไม่คล่อง)พร้อมกันกับตน ๔. ภิกษุผู้ให้อนุปสัมบันที่สวดคลาดเคลื่อนไปสวดใหม่พร้อมกันกับตน ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔ จบ @เชิงอรรถ : @๑ เยภุยฺเยน ปคุณํ คนฺถํ คัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก หมายถึงว่า ถ้าคาถา ๑ คาถา จำไม่ได้เสีย ๑ บาท @ส่วนบาทที่เหลือจำได้ (สเจ เอกคาถาย เอโก ปาโท นาคจฺฉติ, อวเสสา อาคจฺฉนฺติ, อยํ เยภุยฺเยน @ปคุณคนฺโถ นาม - กงฺขา. ฏีกา ๓๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=40 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=7108&Z=7165 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=284 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=284&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6112 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=284&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6112 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc4/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]