ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. โอวาทวรรค
หมวดว่าด้วยโอวาท
๑. โอวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุ ผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้พวกเราก็จะสั่งสอนพวกภิกษุณี บ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปหาพวกภิกษุณี แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “มาเถิด น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาจักสั่ง สอนให้บ้าง” หลังจากนั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา๑- แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้อง หญิงทั้งหลาย” @เชิงอรรถ : @ ดิรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขัดขวางทางไปสู่สวรรค์นิพพาน ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนากัน @(วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๔๔/๔๓) มี ๒๘ อย่าง (วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘, @ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕-๓๖๖, องฺ. ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, @ขุ.ม. ๒๙/๑๕๗/๓๐๖) ดู รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ ข้อ ๕๐๘ หน้า ๕๙๙ (ในเล่มนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ

ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ พวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล ดีหรือ” พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระพุทธ เจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่านไป ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ จากไป
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับ ดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก เธอจึงแสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี” ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึง ตรัสโทษความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๔๖] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแต่งตั้ง พึงสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวก ภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ

ครั้งนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ ผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวกภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้ พวกเราก็จะไปนอกสีมา แต่งตั้งกันและกันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวก ภิกษุณีบ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปนอกสีมา ได้แต่งตั้งกันและ กันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “น้องหญิง ทั้งหลาย พวกอาตมาได้รับแต่งตั้งแล้ว พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวก อาตมาจักสั่งสอนให้บ้าง” ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ ครั้น ถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิง ทั้งหลาย” ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึง แล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กับพวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล ดีหรือ” พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระ พุทธเจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่าน ไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ จากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ

ทรงประชุมสงฆ์แต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉาน กถา แล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่าง เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี คือ
คุณสมบัติของภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ๘ อย่าง
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในความผิดแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ (จำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา) สั่งสมสุตะ (สั่งสมสิ่งที่ได้ เล่าเรียนมา) เธอได้ยินได้ฟังธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม ในที่สุด อันประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบ ถ้วน บริบูรณ์มาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ ๓. เป็นผู้ชำนาญปาติโมกข์ทั้งสอง แจกแจงได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว วินิจฉัยได้ เรียบร้อยทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ๑- ๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย มีเสียงไพเราะ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “โดยสูตร” ในที่นี้หมายถึงคัมภีร์ขันธกะและบริวารแห่งพระวินัยปิฎก คำว่า “อนุพยัญชนะ” คือ @บทอักษรบริบูรณ์ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

๕. เป็นที่นิยมชมชอบของพวกภิกษุณีโดยส่วนมาก ๖. เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกภิกษุณีได้ ๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรมในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศพระ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น๑- ๘. เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๒๐ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่างนี้ เป็นผู้สั่ง สอนภิกษุณี”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแต่งตั้ง คือ สงฆ์ยังไม่ได้แต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรม ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ [๑๔๙] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ ไว้ ชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งด้วย ภิกษุณีทั้งหลายพึงไปที่นั้น แล้วไหว้ภิกษุนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ ในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ไม่เคยจับต้องกายกับภิกษุณี ไม่เคยประพฤติผิดทางประเวณีกับสิกขมานา @หรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ” ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” พึงถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อยังจำกันได้อยู่หรือ” ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า” พึงกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้วพึงมอบหมาย ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “จำกันไม่ได้ เจ้าข้า” พึงสวดครุธรรมดังนี้ว่า
ครุธรรม ๘ ข้อ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำ อัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณี พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุ สงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ศึกษา ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง ละเมิดจนตลอดชีวิต ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนธรรมอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันยังไม่พร้อมเพรียงกัน เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนครุธรรม ๘ ข้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรม อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๑๕๐] กรรม๑- ที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๕๐/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุ สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้วสั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ [๑๕๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณี สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติ ทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญ ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๕๒] ๑. ภิกษุให้อุทเทส ๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา๑- ๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่ ๔. ภิกษุถามปัญหา ๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา ๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา ๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม ๘ ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม ๘ @(วิ.อ. ๒/๑๕๒/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9268&Z=9507                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=406              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=406&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7400              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=406&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7400                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc21/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :