บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๒๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันท ศากยบุตรนิมนต์ท่านฉันภัตตาหาร แม้ภิกษุเหล่าอื่นตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระ อุปนันทศากยบุตรก็ได้นิมนต์ฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น ก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหาร ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูลทั้งหลาย ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า อุปนันทศากยบุตรจะมาเถิด แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า อุปนันทศากยบุตรจะมา พอครั้งที่ ๓ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด ก่อนที่เวลาจะล่วงเลยไปเสีย พวกทายกตอบว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย พวกโยมจัดภัตตาหารเพราะเหตุแห่ง พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตร นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า อุปนันทศากยบุตรจะมาเถิด ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลา ฉันภัตตาหารแล้วกลับใกล้เวลาฉัน ภิกษุทั้งหลายจึงฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๓๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท พระบัญญัติ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารแล้ว จึงยังเที่ยวสัญจรไปใน ตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหารเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระ อุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อุปนันทะ ทราบว่า เธอรับนิมนต์ไว้แล้ว มี ภัตตาหารแล้ว ยังเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหาร จริง หรือ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารแล้ว ยัง เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหารเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ ก็ ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว๑- เที่ยวสัญจรไปในตระกูล ทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ [๒๙๕] สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตรส่งของ เคี้ยวไปถวายสงฆ์ด้วยสั่งว่า ขอมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรเป็นผู้ถวาย สงฆ์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน พอดีพวก ชาวบ้านไปถึงอารามถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้า อุปนันทศากยบุตรไปไหน @เชิงอรรถ : @๑ คือที่ทายกจัดเตรียมไว้ถวาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๓๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า อุบาสกทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทะไปบิณฑบาตใน หมู่บ้าน พวกชาวบ้านเรียนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย ของเคี้ยวนี้มอบให้พระคุณเจ้า อุปนันทะเป็นผู้ถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้จนกว่าอุปนันทะ จะกลับมา ฝ่ายท่านพระอุปนันทศากยบุตรคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการเที่ยว สัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร จึงเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูล ทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหาร กลับออกมาเวลาบ่าย ของฉันถูกส่งคืน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรจึงเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาภัตตาหาร เล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อุปนันทะ ทราบว่า เธอเที่ยวสัญจรไปใน ตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหาร จริงหรือ ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหารเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๓๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระอนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ ทรงอนุญาตให้เข้าตระกูลได้ในสมัยที่ถวายจีวร [๒๙๖] สมัยนั้น พวกภิกษุมีความยำเกรงอยู่จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ในสมัยที่ถวายจีวรจึงได้จีวรเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่อง นี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปหา ตระกูลทั้งหลายได้ในสมัยที่ถวายจีวร แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ทรงอนุญาตให้เข้าตระกูลได้ในสมัยที่ทำจีวร [๒๙๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตัดเย็บจีวรอยู่ต้องการเข็มบ้าง ด้ายบ้าง มีดบ้าง แต่มีความยำเกรงอยู่จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้เข้าไปหาตระกูลทั้งหลายได้ในสมัยที่ทำจีวร แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็น สมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าตระกูล [๒๙๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ต้องการเภสัช แต่มีความยำเกรงอยู่ จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้ เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลา ภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปในตระกูลทั้งหลายได้ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉัน ภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์ [๓๐๐] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รับนิมนต์ไว้แล้ว คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า มีภัตตาหารอยู่แล้ว คือ ภิกษุมีอาหารที่รับนิมนต์ไว้ ที่ชื่อว่า ภิกษุมีอยู่ คือ ภิกษุที่อาจบอกลาก่อนเข้าบ้านได้ ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่มีอยู่ คือ ภิกษุที่ไม่อาจบอกลาก่อนเข้าบ้านได้ ที่ชื่อว่า ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร คือ ภิกษุยังไม่ได้ฉันภัตตาหารที่รับนิมนต์ไว้ ที่ชื่อว่า หลังเวลาฉันภัตตาหาร คือ ภิกษุฉันภัตตาหารที่รับนิมนต์ไว้ โดย ที่สุดฉันด้วยใช้ปลายหญ้าคาแตะ ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึง ตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ และตระกูลศูทร คำว่า เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลาย ความว่า ภิกษุก้าวเข้าอุปจารเรือน ของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้า ที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า สมัยที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน กำหนดเอาเดือนท้าย แห่งฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว มีกำหนดเวลา ๕ เดือน ที่ชื่อว่า สมัยที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๓๐๑] รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์ไว้แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่ มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉัน ภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูล ทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยว สัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอก สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกทุกกฏ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์ไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๐๒] ๑. ภิกษุฉันในสมัย ๒. ภิกษุบอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วจึงเข้าไป ๓. ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มีอยู่เข้าไป ๔. ภิกษุเดินไปตามทางที่ผ่านเรือนผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๖. จาริตตสิกขาบท อนาปัตติวาร
๕. ภิกษุเดินไปตามทางที่ผ่านใกล้เรือน ๖. ภิกษุไปอารามอื่น ๗. ภิกษุไปสำนักภิกษุณี ๘. ภิกษุไปสำนักเดียรถีย์ ๙. ภิกษุไปโรงฉัน ๑๐. ภิกษุไปเรือนที่เขานิมนต์ ๑๑. ภิกษุไปในคราวมีเหตุขัดข้อง ๑๒. ภิกษุวิกลจริต ๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติจาริตตสิกขาบทที่ ๖ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๓๗-๔๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=82 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=11483&Z=11621 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=547 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=547&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9429 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=547&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9429 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc46/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]