ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการส่งเสริมภิกษุณีให้รับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๗๐๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทามีรูปงาม น่าดู น่าชม คนทั้งหลายเห็นภิกษุณีสุนทรีนันทานั้นที่โรงฉัน ต่างก็กำหนัด จึงถวาย อาหารที่ดีๆ แก่ภิกษุณีสุนทรีนันทา แต่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความยำเกรง ไม่ยอม รับประเคน ภิกษุณีผู้นั่งถัดกันได้กล่าวกับภิกษุณีสุนทรีนันทานั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า เหตุไรท่านจึงไม่รับประเคน” นางตอบว่า “แม่เจ้า เพราะพวกเขาเป็นผู้กำหนัด” ภิกษุณีนั้นถามว่า “ก็ท่านกำหนัดด้วยหรือ” นางตอบว่า “แม่เจ้า ดิฉันไม่กำหนัด” ภิกษุณีนั้นพูดว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามก็ทำ อะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใด จะ เป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตนเองแล้ว เคี้ยวฉันเถิด” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์

ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิดแม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใด จะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจง รับประเคนของนั้นด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้ จริงหรือ” พวก ภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่ กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่มีความกำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใด จะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้น ด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๐๕] ก็ภิกษุณีใดกล่าวอย่างนี้ว่า “ชายผู้นั้นจะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นี้ จะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วย มือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ แม้ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๐๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้ จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ บทภาชนีย์

แม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคน ของนั้นด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุกๆ คำกลืน ฉันเสร็จแล้ว ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง สวดสมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน” ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๗๐๗] ฝ่ายหนึ่งกำหนัด ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงเคี้ยวของเคี้ยว หรือจงฉันของฉันจากมือของยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานที่มีกาย เป็นมนุษย์” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน เมื่อฉันเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงรับประเคนน้ำและไม้สีฟัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ ทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๕๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๐๘] ๑. ภิกษุณีรู้อยู่ว่า “ชายไม่กำหนัด” จึงส่งเสริม ๒. ภิกษุณีรู้อยู่ว่า “นางโกรธ จึงไม่รับประเคน” จึงส่งเสริม ๓. ภิกษุณีรู้อยู่ว่า “นางจะไม่รับประเคนเพราะความเอ็นดูตระกูล” จึงส่งเสริม ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔๘-๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=820&Z=894                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=57              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=57&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11074              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=57&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11074                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.057 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss6/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss6/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :