![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์]
๑. ปริมัญฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๖. เสขิยกัณฑ์ แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ๑. ปริมัณฑลวรรค หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย สิกขาบทที่ ๑ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ [๑๒๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ครอง อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีทั้งหลายจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง หลังบ้างเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้างเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณี เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ครอง อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๕}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์]
๑. ปริมัญฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อยเรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุณีพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือนุ่งปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า ภิกษุณีใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าหรือข้างหลัง ต้องอาบัติ ทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุณีไม่จงใจ ๒. ภิกษุณีไม่มีสติ ๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุณีวิกลจริต ๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๙๕-๓๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=127 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=7084&Z=7115 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=495 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=495&items=3 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=495&items=3 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.495 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-sk1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-sk1/en/horner
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]