บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ ว่าด้วยอาพาธ ๕ ชนิด เรื่องอันตรายิกธรรม [๘๘] สมัยนั้น ในแคว้นมคธเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ (๑) โรคเรื้อน (๒) โรคฝี (๓) โรคกลาก (๔) โรคมองคร่อ๒- (๕) โรคลมบ้าหมู พวกมนุษย์ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน พากันไปหาหมอชีวกโกมารภัจ กล่าวว่า ขอโอกาส คุณหมอ ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้ มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งพวก ข้าพเจ้ายอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาส ขอความกรุณารักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๕) @๒ โรคมองคร่อ คือโรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่ @เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๔๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
หมอชีวกโกมารภัจตอบว่า ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษา (พวกท่าน) ได้ ขณะนั้น มนุษย์เหล่านั้นมีความคิดดังนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร เหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้ากระไรพวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลาย จักพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา ต่อมา จึงเข้าไปขอบรรพชา ภิกษุ ทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษาพวกเขา ครั้นต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาลภิกษุไข้เป็นอันมาก เป็นผู้มากด้วยการขอ มากด้วยการออกปากขอว่า จงให้อาหารสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ จงให้อาหารสำหรับ ภิกษุพยาบาลไข้ จงให้ยาสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ แม้หมอชีวกโกมารภัจมัวรักษาภิกษุไข้เป็นอันมาก ก็ปฏิบัติราชการบางอย่าง บกพร่อง [๘๙] ฝ่ายบุรุษคนหนึ่งถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน ก็เข้าไปหาหมอชีวก โกมารภัจเรียนว่า ขอโอกาส คุณหมอช่วยรักษากระผมด้วยเถิด หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า แน่ะนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระ เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผม ก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้ คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งกระผมยอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาส โปรดรักษากระผมด้วยเถิด แนะพนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถ รักษาได้ ขณะนั้น บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้ากระไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๔๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
พวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา เราหายโรคก็จะสึก จึงเข้าไปขอการบรรพชา ภิกษุ ทั้งหลายได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษา เขาหายโรคแล้วก็สึก หมอชีวกโกมารภัจเห็นบุรุษนั้นสึกจึงถามว่า ท่านได้บรรพชาในหมู่ภิกษุมิใช่หรือ บุรุษนั้นตอบว่า ใช่ ขอรับ ท่านได้ทำเช่นนั้นเพื่ออะไร บุรุษนั้นได้บอกเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจทราบ หมอชีวกโกมารภัจจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า ทั้งหลาย จึงให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชาเล่า แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึง ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยาก รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี กถาแล้ว ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณจากไปทรงห้ามคนเป็นโรคติดต่อบรรพชา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๔๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๔๒-๑๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=31 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=2876&Z=2932 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=101 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=101&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1233 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=101&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1233 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic39 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:39.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.38.12
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]