![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๘๕. จตุมหาปเทสกถา ว่าด้วยมหาปเทส ๔ [๓๐๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเกิดความยำเกรงอยู่ในข้อบัญญัติบางอย่างว่า สิ่งใดหนอพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดหนอไม่ทรงอนุญาตไว้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคได้ประทานมหาปเทสไว้ ๔ ข้อ คือ ๑. ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าสิ่งนั้น อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร๑- @เชิงอรรถ : @๑ ตัวอย่างเช่น ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวเหนียว @ข้าวฟ่าง (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘) เป็นสิ่งที่ทรงห้ามฉันในเวลาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้นวันใหม่ ส่วนมหาผล @๙ อย่าง คือ ตาล มะพร้าว ผลขนุน ขนุนสำปะลอ บวบ ฟักเขียว แตงกวา แตงโม ฟักทอง @รวมทั้งอปรัณณชาติทั้งหมด เช่น ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังภัตตาหาร แม้จะไม่ได้ทรงห้ามไว้ @แต่อนุโลมเข้ากับธัญชาติ ๗ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงทรงห้ามฉันในเวลาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้นวัน @ใหม่เช่นกัน เข้ากับหลักมหาปเทสข้อ ๑ และข้อ ๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๘๕. จตุมหาปเทสกถา
๒. ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าสิ่งนั้น อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร๑- ๓. ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร ถ้าสิ่งนั้น อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร ๔. ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร ถ้าสิ่งนั้น อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรเรื่องทรงอนุญาตกาลิกระคนกัน ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันดังนี้ว่า ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิก ระคนกับยามกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกควรหรือไม่ ควรหนอ๒- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับ ประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในเวลาวิกาล @เชิงอรรถ : @๑ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตน้ำอัฏฐบาน (น้ำดื่ม ๘ ชนิด) ส่วนน้ำดื่มที่นับเนื่องในน้ำอัฏฐบาน ๘ ชนิดนั้น @เช่น น้ำหวาย น้ำผลมะงั่ว น้ำต้นเล็บเหยี่ยว และน้ำผลไม้เล็กเป็นต้น แม้จะไม่ได้ทรงอนุญาตไว้แต่อนุโลม @เข้ากับน้ำอัฏฐบาน เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันอนุญาตด้วย (วิ.อ. ๓/๓๐๕/๑๘๘-๑๘๙) @๒ กาลิก แปลว่า เนื่องด้วยกาล ขึ้นกับกาล เป็นชื่อของสิ่งที่จะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติ @ให้ภิกษุรับประเคนเก็บไว้ และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด แบ่งเป็น ๔ อย่าง คือ @๑. ยาวกาลิก ของรับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ @ขนมต่างๆ @๒. ยามกาลิก ของรับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ปานะ (น้ำดื่ม) ๘ ชนิด หรือ @น้ำอัฏฐบาน ได้แก่ (๑) น้ำมะม่วง (๒) น้ำหว้า (๓) น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) น้ำมะซาง @(๖) น้ำลูกจันทน์ (หรือองุ่น) (๗) น้ำเหง้าอุบล (๘) น้ำมะปราง (หรือลิ้นจี่) @๓. สัตตาหกาลิก ของรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน คือ เภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ (๑) เนยใส @(๒) เนยข้น (๓) น้ำมัน (๔) น้ำผึ้ง (๕) น้ำอ้อย @๔. ยาวชีวิก ของรับประเคนแล้วฉันได้ตลอด ไม่จำกัดเวลา คือ สิ่งของที่เป็นยารักษาโรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๘๖. รวมเรื่องที่มีในเภสัชชขันธกะ
ภิกษุทั้งหลาย สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรใน กาล ไม่ควรในเวลาวิกาล ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในเวลาวิกาล ภิกษุทั้งหลาย สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรใน กาล ไม่ควรในเวลาวิกาล ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควร ตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควรเภสัชชขันธกะที่ ๖ จบ ในขันธกะนี้มี ๑๐๖ เรื่อง เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=26 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2572&Z=2603 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=92 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=92&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4219 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=92&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4219 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:40.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.39.1
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]