บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก ก็สมัยนั้น ในเรือนคลังของสงฆ์มีจีวรอยู่มาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้า แจกจีวรกันได้เรื่องส่งเสียงดังขณะแจกจีวร สมัยนั้น เมื่อสงฆ์ทั้งหมดกำลังแจกจีวร ได้เกิดชุลมุนขึ้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มี คุณสมบัติ ๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักจีวรที่แจกและจีวรที่ยังมิได้แจกวิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ(ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา) ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่ แจกจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้เรื่องวิธีแจกจีวร สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า ควรแจกจีวร อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อนแล้ว พิจารณาคิดถัวกัน นับภิกษุแล้วผูกผ้าเป็นมัดตั้งส่วนจีวรไว้เรื่องวิธีให้ส่วนแบ่ง สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า พึงให้ส่วนจีวร แก่สามเณรอย่างไร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบแก่สามเณร ครึ่งส่วน๑-เรื่องให้แลกส่วนของตน สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางโดยจะรับส่วนของตนไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของตนแก่ ภิกษุผู้รีบเดินทาง @เชิงอรรถ : @๑ สามเณร ในที่นี้ หมายเอาสามเณรที่อวดตัวเองว่าเป็นใหญ่ ไม่ช่วยทำกิจที่พึงทำแก่ภิกษุเหล่าอื่นมุ่งแต่ @จะเรียนบาลีและอรรถกถา ทำวัตรปฏิบัติแก่อุปัชฌาย์อาจารย์เท่านั้น ไม่ทำแก่คนอื่น สามเณรเหล่านี้ @ควรให้ส่วนแบ่งครึ่งเดียว (วิ.อ. ๓/๓๔๓/๒๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๕. จีวรรชนกถา
เรื่องให้ส่วนพิเศษ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อ ให้สิ่งทดแทนเรื่องวิธีให้ส่วนจีวร สมัยนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า พึงให้ส่วนจีวร(ส่วนที่ ไม่พอแจก)อย่างไรหนอ คือ จะให้ตามลำดับผู้มาถึงหรือตามลำดับพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมยอมส่วนที่พร่อง แล้วจับสลากเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๐๗-๒๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=36 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=3819&Z=3859 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=146 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=146&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4763 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=146&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4763 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:9.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.8.2
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]