บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ ว่าด้วยนางวิสาขากราบทูลขอพร เรื่องฝนตกพร้อมกัน ๔ ทวีป [๓๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสีตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุง สาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๑๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตาเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตาผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉัน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นผ่านราตรีนั้น เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ตกลงมาอย่างหนัก๑- ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ฝนตกใน เชตวันฉันใด ตกในทวีปทั้ง ๔ ก็ฉันนั้น พวกเธอจงสรงสนานกายด้วยน้ำฝนเถิด นี้เป็นเมฆฝนใหญ่ครั้งสุดท้ายที่ตั้งเค้าขึ้นตก (พร้อมกัน) ในทวีปทั้ง ๔ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พากันเอาจีวรวางไว้ สรงสนาน กายด้วยน้ำฝน ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตาสั่งให้คนเตรียมของเคี้ยวของฉันอัน ประณีตแล้วสั่งสาวใช้ว่า ไปเถิดแม่สาวใช้ เธอไปสู่อารามแล้วบอกภัตกาลว่า ถึงเวลา แล้ว ท่านเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว @เชิงอรรถ : @๑ ทวีปทั้ง ๔ ได้แก่ @๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป @๓. อุตตรกุรุทวีป ๔. ปุพพวิเทหทวีป (องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๑/๓๐๖-๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๑๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
นางทาสีรับคำแล้วไปสู่อาราม เห็นพวกภิกษุเอาจีวรวางไว้ สรงสนานกายด้วย น้ำฝนอยู่คิดว่า ไม่มีภิกษุอยู่ในอาราม มีแต่พวกอาชีวกกำลังสนานกายด้วยน้ำ ฝน๑- จึงกลับไปหานางวิสาขามิคารมาตา ได้กล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ไม่มีภิกษุอยู่ ในอาราม มีแต่พวกอาชีวกกำลังสนานกายด้วยน้ำฝน ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาผู้เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ได้มี ความคิดดังนี้ว่า พวกพระคุณเจ้าคงเอาจีวรวางไว้สรงสนานกายด้วยน้ำฝนเป็นแน่ นางทาสีคนนี้เป็นคนเขลา จึงเข้าใจว่า ไม่มีภิกษุอยู่ในอาราม มีแต่พวกอาชีวกกำลัง สนานกายด้วยน้ำฝน จึงสั่งสาวใช้ว่า ไปเถิดแม่สาวใช้ เธอไปที่อารามแล้วบอก เวลาว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นชำระร่างกายจนหนาวแล้วนุ่งผ้าเรียบร้อย ต่างถือจีวร เข้าไปสู่ที่อยู่ตามเดิม นางทาสีนั้นไปสู่อารามไม่พบพวกภิกษุเข้าใจว่า ไม่มีภิกษุใน อาราม อารามว่างเปล่า จึงกลับไปหานางวิสาขามิคารมาตา ได้กล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่างเปล่า ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ผู้เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ได้ มีความคิดดังนี้ว่า พวกพระคุณเจ้าคงจะชำระร่างกายจนหนาวแล้วนุ่งผ้าเรียบร้อย ต่างถือจีวรเข้าไปสู่ที่อยู่ตามเดิม นางทาสีคนนี้เป็นคนเขลาจึงเข้าใจว่า ไม่มีภิกษุใน อาราม อารามว่างเปล่า จึงสั่งสาวใช้อีกว่า ไปเถิดแม่สาวใช้ เธอไปที่อารามแล้ว บอกภัตกาลว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว [๓๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า พวก เธอจงเตรียมบาตรและจีวร ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ หายไปในพระเชตวัน มาปรากฏที่ซุ้มประตูบ้านนางวิสาขามิคารมาตา เปรียบเหมือน @เชิงอรรถ : @๑ อาชีวก เป็นชื่อเรียกพวกนักบวชเปลือย (วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
คนมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่เขา ปูไว้พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตารื่นเริงบันเทิงใจว่า น่าอัศจรรย์จริง ผู้เจริญ ทั้งหลาย ไม่เคยปรากฏ ผู้เจริญทั้งหลาย พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมี อานุภาพมาก เมื่อห้วงน้ำไหลนองไปแค่เข่าบ้าง เมื่อห้วงน้ำไหลนองไปแค่สะเอว บ้าง เท้าหรือจีวรของภิกษุสักรูปเดียวก็ไม่เปียกน้ำเลย จึงได้ประเคนภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือตนเอง กระทั่ง พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงละพระหัตถ์จากบาตร นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร กราบทูลว่า หม่อมฉันกราบทูลขอพร ๘ ประการ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว วิสาขา นางวิสาขากราบทูลว่า หม่อมฉันทูลขอพรที่เหมาะสมและไม่มีโทษ พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงพูดมาเถิด วิสาขาเรื่องนางวิสาขาขอพรเพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นต้น นางวิสาขามิคารมาตากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันประสงค์ จะถวายผ้าวัสสิกสาฎก ถวายอาคันตุกภัต ถวายคมิกภัต ถวายคิลานภัต ถวาย คิลานุปัฏฐากภัต ถวายคิลานเภสัช ถวายธุวยาคู๑- แก่พระสงฆ์ และถวายผ้า อาบน้ำแก่ภิกษุณีสงฆ์จนตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @๑ ผ้าวัสสิกสาฎก คือ ผ้าอาบน้ำฝน @อาคันตุกภัต คือ อาหารสำหรับภิกษุที่มาขอพักอาศัย ไม่ใช่อยู่ประจำ @คมิกภัต คือ อาหารสำหรับภิกษุที่เตรียมจะเดินทางไป @คิลานภัต คือ อาหารสำหรับภิกษุไข้ @คิลานุปัฏฐากภัต คือ อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ @คิลานเภสัช คือ เภสัชสำหรับภิกษุไข้ @ธุวยาคู คือ ข้าวต้มที่ถวายเป็นประจำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงขอพร ๘ ประการกับตถาคต นางวิสาขามิคารมาตากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า วันนี้หม่อมฉันสั่งสาวใช้ ไปว่า ไปเถิดแม่สาวใช้ เธอไปสู่อารามแล้วบอกเวลาว่า ได้เวลาแล้ว ท่านเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นนางไปสู่อารามได้เห็นภิกษุเอาจีวรวางไว้ สรงสนานกาย ด้วยน้ำฝนอยู่จึงเข้าใจว่า ไม่มีภิกษุอยู่ในอาราม มีแต่พวกอาชีวกกำลังสนานกาย ด้วยน้ำฝน จึงกลับเข้ามาหาหม่อมฉันบอกดังนี้ว่า แม่เจ้า ไม่มีภิกษุอยู่ในอาราม มีแต่พวกอาชีวกกำลังสนานกายด้วยน้ำฝน ๑. การเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจ ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายผ้าวัสสิกสาฎกแก่พระสงฆ์จน ตลอดชีวิต ๒. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง ไม่รู้จักที่โคจร บิณฑบาตลำบาก ภิกษุอาคันตุกะนั้นฉันอาคันตุกภัตของหม่อมฉัน แล้ว พอชำนาญทาง รู้จักที่โคจร จะเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายอาคันตุกภัตแก่ พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ๓. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง มัวแสวงหาภัตตาหาร เพื่อตนอยู่ จะพลาดจากหมู่เกวียน หรือถึงที่ที่ตนจะไปอยู่เมื่อ พลบค่ำ จะเดินทางลำบาก ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางนั้นฉัน คมิกภัตของหม่อมฉันแล้วจะไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือไม่ถึงที่ที่ ตนจะไปอยู่ทันเวลา จะได้เดินทางไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจ ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายคมิกภัตแก่พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ๔. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุไข้ไม่ได้โภชนาหารที่เป็นสัปปายะ อาพาธ จะกำเริบหรือจะถึงมรณภาพได้ ภิกษุไข้นั้นฉันคิลานภัตของหม่อม ฉันแล้ว อาพาธจะทุเลาหรือไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็น อำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายคิลานภัตแก่พระสงฆ์จน ตลอดชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
๕. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้มัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อ ตนเอง จะนำภัตตาหารไปถวายภิกษุไข้ในเมื่อเวลาสาย ตนเองจะ อดอาหาร ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้นั้นได้ฉันคิลานุปัฏฐากภัตของ หม่อมฉันแล้ว จะนำภัตตาหารไปถวายภิกษุไข้ได้ทันเวลา ตนเองก็ ไม่อดอาหาร หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวาย คิลานุปัฏฐากภัตแก่พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ๖. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุไข้ไม่ได้เภสัชที่เป็นสัปปายะ อาพาธจะ กำเริบ หรือถึงมรณภาพได้ ภิกษุไข้นั้นฉันคิลานเภสัชของหม่อมฉัน แล้ว อาพาธจะทุเลาหรือไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจ ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ๗. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอานิสงส์ ๑๐ ประการ จึงได้ทรงอนุญาตข้าวต้มไว้ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็น อำนาจอานิสงส์เหล่านั้น จึงปรารถนาถวายข้าวต้มเป็นประจำแก่ พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ๘. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เปลือยกายอาบน้ำ ในแม่น้ำอจิรวดีท่าเดียวกับหญิงแพศยา พวกหญิงแพศยาทั้งหลาย เย้ยภิกษุณีเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านยังเป็นสาว จะประพฤติพรหมจรรย์ไปทำไมกัน ธรรมดามนุษย์ควรบริโภคกาม มิใช่หรือ ต่อเมื่อชรา พวกท่านจึงค่อยประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าได้หยิบฉวยเอาประโยชน์ทั้ง ๒ แล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันต่างเก้อเขิน พระ พุทธเจ้าข้า มาตุคาม๑- เปลือยกายย่อมไม่งดงาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาถวายผ้าอาบน้ำแก่ ภิกษุณีสงฆ์จนตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @๑ มาตุคาม คือผู้หญิง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๙. วิสาขาวัตถุ
[๓๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์อะไรจึงขอพร ๘ ประการกับตถาคต นางวิสาขามิคารมาตากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระ ธรรมวินัยนี้จำพรรษาในทิศต่างๆ แล้วจะเดินทางมากรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มี พระภาค ภิกษุเหล่านั้นจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ชื่อนี้มรณภาพแล้ว เธอมีคติอย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระผู้มีพระภาค จะทรงพยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล หม่อมฉันจะเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วถามว่า พระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถี ไหมเจ้าข้า ถ้าภิกษุเหล่านั้นตอบหม่อมฉันว่า ภิกษุนั้นเคยมากรุงสาวัตถี ใน เรื่องนี้หม่อมฉันจะสันนิษฐานได้ว่า พระคุณเจ้านั้นคงใช้ผ้าวัสสิกสาฎก คงฉัน อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช หรือธุวยาคูของ หม่อมฉันเป็นแน่ เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงบุญกุศลนั้นก็จะเกิดความปลื้มใจ เมื่อ หม่อมฉันปลื้มใจก็จะเกิดอิ่มใจ เมื่ออิ่มใจ กายจะสงบ หม่อมฉันมีกายสงบ จะมีความสุข จิตของผู้มีความสุขจะตั้งมั่น หม่อมฉันจะได้อบรมอินทรีย์ พละ และ โพชฌงค์ หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้จึงกราบทูลขอพร ๘ ประการกับพระตถาคต พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ วิสาขา เป็นการดีแล้วที่เธอเห็นอานิสงส์ นี้จึงขอพร ๘ ประการกับตถาคต วิสาขา เราอนุญาตพร ๘ ประการแก่เธอคาถาอนุโมทนา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนานางวิสาขามิคารมาตาด้วยพระคาถา เหล่านี้ว่า สตรีใดเมื่อให้ข้าวและน้ำก็เบิกบานใจ มีศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๒๐. นิสีทนาทิอนุชานนา
ครอบงำความตระหนี่ ให้ทานซึ่งเป็นหนทางสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำสุขมาให้ สตรีนั้นอาศัยหนทางที่ไม่มีธุลี ไม่มีกิเลสยวนใจ ย่อมได้กำลังและอายุทิพย์ เธอผู้ประสงค์บุญ มีความสุข มีพลานามัย ย่อมปลื้มใจในชาวสวรรค์ตลอดกาลนาน [๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาต่อนางวิสาขามิคารมาตาด้วย พระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฎก อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช ธุวยาคู และผ้าอาบน้ำ สำหรับภิกษุณีสงฆ์วิสาขาภาณวาร จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๑๘-๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=39 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4005&Z=4131 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=153 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=153&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4912 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=153&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4912 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:15.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.15
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]